svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"PRIMETIME กับ เทพชัย" : เบื้องหลัง! ม.44 เชือด "สุขุมพันธ์ุ-หมอเปรม"

25 สิงหาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ถือเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 2 ที่ถูกปลดในขณะยังดำรงตำแหน่งอยู่ และสาเหตุที่หัวหน้า คสช.ถึงกับต้องใช้ มาตรา 44 สั่งพักงานผู้ว่า กทม. เพราะได้รับรายงานจาก ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วว่า ผลการตรวจสอบโครงการประดับไฟตกแต่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ กทม. บริเวณลานคนเมืองวงเงิน 39.5 ล้านบาทนั้น พบว่ามีมูลความผิดและส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินคดีตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 แล้ว

"PRIMETIME กับ เทพชัย" : เบื้องหลัง! ม.44 เชือด "สุขุมพันธ์ุ-หมอเปรม"


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งตามมาตรา 44 โดยสั่งให้ ม.ร.ว สุขุมพันธุ์ บริพัตร ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร เป็นการชั่วคราว โดยยังไม่พ้นจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ระงับการปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราว โดยยังไม่พ้นจากตําแหน่ง เช่นกัน
คำสั่งนี้ได้ระเหตุผลในการพักงานของทั้งคู่คือ มีพฤติกรรมซึ่งเข้าข่ายผิดตามกฏหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงขณะนี้ จะยังไม่สามารถสรุปความผิดได้ แต่ถือเป็นกรณีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
สำหรับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะหมดวาระในตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ในวันที่ 27 มี.ค.2560 ซึ่งในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2556
"PRIME TIME" ได้รับข้อมูลจาก แหล่งข่าวใน คสช.ว่า สาเหตุที่ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องออกคำสั่งให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ หยุดการปฏิบัติหน้าที่ เพราะถูกตรวจสอบในประเด็นทุจริตหลายเรื่อง โดยเฉพาะ

โครงการประดับไฟตกแต่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของ กทม. บริเวณลานคนเมือง วงเงิน 39.5 ล้านบาท ที่ขณะนี้ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ได้ส่งผลการตรวจสอบให้กับป.ป.ช.ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ขณะที่ นายแพทย์เปรมศักดิ์ ถูกสั่งให้พักราชการเกิดจากกรณีปัญหาส่วนตัว โดยเฉพาะประเด็นการให้ผุ้สื่อข่าวถอดเสื้อ หลังไปขุดคุ้ยประเด็นภาพแต่งานระหว่าง นายแพทย์เปรมศักดิ์ กับสาววัยไม่ถึง 20 ปี
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พิศิษฐ์ ยอมรับกับ "PRIME TIME" ด้วยว่า สำหรับโครงการอื่นๆของ กทม. ที่สตง.กำลังตรวจสอบ เช่น โครงการรถกู้ภัยขนาดเล็ก ราคาคันละ 8 ล้านบาท โครงการปรับปรุงห้องทำงานผู้ว่าฯกทม. งบประมาณ 16.5 ล้านบาท โครงการจัดซื้อเปียนโน การจัดซื้อจัดจ้างกล้อง CCTV การจัดซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดลากวงเงิน 180 ล้านบาทการจัดซื้อเรือผิวน้ำขับเคลื่อนด้วยกำลังลม หรือ แอร์โบ๊ท พร้อมรถลากจูง 4ชุด วงเงินเกือบ 40 ล้านบาท รวมไปถึงการซื้อรถดูดไขมัน นั้นอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ไม่ใช่ผู้ว่า กทม. รายแรก ที่โดนปลดขณะอยู่ในตำแหน่ง นายธรรมนูญ เทียนเงิน ซึ่งเป็นผู้ว่า กทม. ที่มาจากการเลือกตั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518
แต่นายธรรมนูญ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า กทม. 4 ปี เพราะหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พิจารณาว่าเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จึงตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของ รัฐธรรมนูญปี 2519 ปลดนายธรรมนูญออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเช่นเดิม

logoline