svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"PRIMETIME กับ เทพชัย" : "เจ้าพระยา" แลนด์มาร์คแห่งใหม่

27 กรกฎาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ในปีหน้าทัศนียภาพ สองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะเปลี่ยนแปลงไป สองข้างทางจะมีทางเดินและทางปั่นจักรยาน เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ แก้ปัญหาการรุกล้ำที่ดิน ป้องกันน้ำท่วม และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนริมสองฝั่งของกรุงเทพฯ แต่นั่นหมายความว่า แผนการก่อสร้างจะต้องเดินหน้าไปอย่างราบรื่น ซึ่งดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับสถานการณ์จริง ที่มีเสียงคัดค้านดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง


"PRIMETIME กับ เทพชัย" : "เจ้าพระยา" แลนด์มาร์คแห่งใหม่


พื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม7 แห่งนี้คือ จุดเริ่มต้นของโครงพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะนำร่อง จากสะพานพระราม 7 ถึง สะพานสมเด้จพระปิ่นเกล้า  ในระยะทางฝั่งละ 7 กิโลเมตร รวม 14 กิโลเมตร  

ปัจจุบันพื้นที่ใต้สะพานพระราม 7 เป็นสวนสาธารณะอยู่ในความดูแลโดยกรมโยธาธิการที่เริ่มเก่าและทรุดโทรม  ขณะเดียวกันยังมีประชาชนมาใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย และมีร้านรวงมาตั้งขายสินค้าอาหาร 

ในอนาคตพื้นที่ตรงนี้จะถูกพัฒนาเป็นสวนสาธารณะเต็มรูปแบบ มีทางเลียบแม่น้ำที่มีทั้งทางเดินเท้าและทางจักรยานความยาว 1 กิโล 350 เมตร  ยาวไปถึงโรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัท SCG ที่ปัจจุบันใช้เป็นที่จอดเรือขนส่งสินค้า จะถูกพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะ 

ทางเลียบแม่น้ำที่จะก่อสร้างจะมีความกว้างยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา 7 เมตร  ประกอบด้วยทางเดินกว้างประมาณ 4 เมตร 75 เซนติเมตร  และทางจักรยานกว้างประมาณ 2 เมตร 25 เซนติเมตร มีความสูงจากระดับน้ำประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร  และมีแนวคันขั้นทาง ต่ำลงมากว่าเขื่อนกั้นน้ำ ณ ปัจจุบัน ประมาณ 1 เมตร 30 เซนติเมตร 

ส่วนใต้บริเวณทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จะมีการสร้างสะพานสำหรับคนเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างกรุงเทพฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกเข้าด้วยกันfastspeed

 เมื่อสร้างเสร็จจะเป็นทางเดิน และทางปั่นจักรยาน และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกันริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 
โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตามระยะนำร่อง จะมีการก่อสร้างทางเดิน ปั่น เลียบแม่น้ำ 10 จุด รวมระยะทาง 16.28 กิโลเมตร  ประกอบด้วยทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร 6 จุด ระยะทางรวม 8.38 กม .ประดอบด้วย  วงศ์สว่าง 1.35 กม. บางซื่อ 1.62 กม. ถนนนครชัยศรี 2.02 กม. วิชิรพยาบาล 1.65 กม. วัดสามพระยา 1.15 กม. 

ฝั่งธนบุรี 4 จุด ระยะทางรวม 7.9 กม. คือ บางอ้อ 3.22 กม. บางพลัด 1.15 กม. บางยี่ขัน 2.48 กม. อรุณอัมรินทร์ 1.05 กม. 

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแผนงานของกระทรวงมหาดไทย และ กรุงเทพมหานคร จะมีการก่อสร้างทางเดิน ปั่น เลียบแม่น้ำในหลายจุด  ตลอดแนวตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม 7 จนถึงบางกระเจ้า รวมระยะทางกว่า 

ระยะทาง 57 กิโลเมตร ภายใต้ 12 แผนงาน ทั้งการพัฒนาพื้นที่ชุมชน การพัฒนาจุดหมายตาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา การจัดทำทางเดินริมแม่น้ำ  การปรับปรุงภูมิทัศน์เขื่อน  พัฒนาท่าเรือ  ศาลาท่าน้ำ  พื้นที่บริการสาธารณะ  การฟื้นฟูเส้นทางประวัติศาสตร์  ปรับปรุงพื้นที่แนวคูคลองประวัติศาสตร์  งานอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ศาสนสถาน  พื้นที่สันทนาการและสวนสาธารณะ  รวมถึงการสร้างสะพานสำหรับคนเดิน ตลอดเส้นทาง 


พื้นชุมชนบางอ้อ ย่านจรัลสนิทวงษ์ 86 ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ และมีอายุยาวนานกว่า 100 ปี และมีประชาชนกว่าร้อยครัวเรือน  ชุมชนมัสยิสถ์บ้างอ้อ ที่อยู่ตรงข้ามพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอีกหนึ่งจุดที่จะมีการก่อสร้างทางเลียบริมแม่น้ำ  และเป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุดกว่า 3.2 กิโลเมตร 


ป้ายคัดค้านการก่อสร้าง ยืนยันชัดเจนว่าชาวชุมชนมัสยิสถ์บางอ้อ ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง  ชาวบ้านกังวลว่า วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวชุมชนบางอ้อ ที่ยืนยาวกว่า 100 ปี จะเปลี่ยนแปลงไป  ขณะที่ความเงียบสงบที่เคยมี จะกลายเป็นความวุ่นวายและไม่ปลอดภัย   พร้อมยืนยันถึงแนวคิดการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทย ว่าควรสอบถามความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมออกแบบพัฒนาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่การกำหนดรูปแบบมาให้  ขณะที่การจัดเวทีชี้แจงในแต่ละครั้ง ยังไม่สร้างการรับรู้ต่อชาวบ้านในพื้นที่

ความเปลี่ยนแปลง ที่ภาครัฐตั้งใจให้ริมฝั่งเจ้าพระยาเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ท่ามกลางเสียงคัดค้านที่ดังขึ้นเรื่อยๆในหลายพื้นที่  โจทย์ใหญ่ของริมฝั่งเจ้าพระยาโฉมใหม่  จึงอยู่ที่การหาสมดุลระหว่าง การพัฒนาและวิถีชุมชน

logoline