svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อยากปลูก "กัญชา" ถูกกฎหมาย ต้องทำอย่างไร ?

10 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าตรวจค้นมูลนิธิข้าวขวัญใน จ.สุพรรรบุรี ซึ่งมีนายเดชา ศิริภัทร เป็นประธานมูลนิธิฯดังกล่าว โดยพบว่ามีการปลูกกัญชากว่า 200 ต้น อีกทั้งยังมีการสกัดน้ำมันกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งที่อยู่ในช่วงของการนิรโทษกรรมครอบครองกัญชา 90 วัน จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่านโยบายปลดล็อกกัญชาเพื่อประโยชน์ของประชาชนจริงหรือไม่

ประเด็นนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับแจ้งการครอบครองกัญชา และพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ออกมาชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ต้องการให้ผู้ครอบครองกัญชามาแจ้งการครอบครองให้ถูกต้องตามลักษณะของกัญชาที่ครอบครอง และวัตถุประสงค์การใช้ซึ่งผู้แจ้งจะได้รับการยกเว้นโทษ  แต่ต้องแจ้งภายใน 90 วัน นับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถขออนุญาตปลูก ผลิต หรือสกัดกัญชา ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ กรณีการปลูก ผลิตหรือสกัดกัญชา เพื่อใช้ทางการแพทย์ ใน 5 ปีแรกหลังกฎหมายบังคับใช้  ผู้ขออนุญาตต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และโรงพยาบาลรัฐ  หรือตัวบุคคลซึ่งต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เช่น สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีการสอน/วิจัยทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์เกษตร วิสาหกิจชุมชน ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วนกรณีการปลูก ผลิต หรือสกัดกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัย บุคคลดังกล่าวข้างต้นสามารถขออนุญาตได้โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด ซึ่งมีหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเพื่อการศึกษาวิจัยไปแล้ว เช่น องค์การเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งการอนุญาต เลขาธิการ อย.เป็นผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเท่านั้นจะเห็นได้ว่ามีการผ่อนคลายกฎหมายให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนการอนุญาตก็ไม่ได้มีการผูกขาดให้กลุ่มทุนใดเป็นการเฉพาะ   และไม่ได้สงวนเฉพาะสำหรับภาครัฐ แต่เปิดพื้นที่ให้ทั้งภาคการเกษตรที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือภาคการศึกษาสามารถปลูก ผลิต หรือสกัดกัญชาได้ รวมทั้งเงื่อนไขการปลูกก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องปลูกแต่เฉพาะในโรงเรือนระบบปิดเท่านั้น ผู้ปลูกสามารถปลูกกลางแจ้งได้ แต่ต้องมีระบบการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อให้กัญชามีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้ใช้ และป้องกันการหลุดออกไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ย้ำว่าเรื่องการปลูก สกัดกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์นั้น อย.ไม่ได้ห้าม แต่ต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ที่ อย.ได้อนุญาตให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และมหาวิทยาลัยรังสิตดำเนินการไปแล้ว แม้ว่ากฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการขออนุญาต ที่ออกตาม พ.ร.บ.สาเสพติดฉบับใหม่ อยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ระหว่างนี้สามารถใช้กฎกระทรวงฉบับเดิมไปก่อนได้

อยากปลูก "กัญชา" ถูกกฎหมาย ต้องทำอย่างไร ?

logoline