svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

(คลิปข่าว) เกษตรฯ ชง ครม.เคาะ 2 หมื่นล้าน แก้ "ยาง" ราคาร่วง

15 พฤศจิกายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

(ชมคลิปเต็มด้านล่าง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฤษฎา บุญราช ระบุ จากการหารือกับผู้ส่งออกยางพารา 5 รายได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยจะกำหนดมาตรการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 20 พ.ย.นี้

สำหรับมาตรการแก้ปัญหาจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ 1.มาตรการเพื่อเสริมความเข้มแข็งชาวสวนยางและพัฒนาอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.ทั้งเจ้าของสวนยาง และคนกรีดยาง 1.4 แสนครัวเรือน โดย จะเสนอครม.ขอใช้งบกลางที่เหลืออยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่ออุดหนุน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการอุดหนุนในปี 60 ที่กำนดไว้ 15 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาทและ 2.มอบหมายให้ กยท.ประสานกับภาคเอกชน สถาบันเกษตรกรให้ตั้งจุดรับซื้อยาง 3 ชนิดทั่วประเทศ คือยางก้อนถ้วย น้ำยางสด และยางแผ่นดิบ กรณีที่ราคาต่ำกว่าที่กำหนดคือ ยางก้อนถ้วย ชนิดยางแห้ง 100 % กิโลกรัมละ 35 บาท น้ำยางสด กิโลกรัมละ 37 บาท และยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 40 บาท
โดยให้ กยท. ชดเชยส่วนต่าง โดยใช้เงินกองทุนพัฒนายางพารา คาดว่าจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 2-3 บาท ในทุกจุดรับซื้อจะมีเจ้าหน้าที่กยท.ระดับจังหวัดและอำเภอ เข้าไปตรวจสอบการซื้อขายทุกครั้ง กรณีนี้จะใช้เงินประมาณ 10,000 ล้านบาท หากเงินในกองทุนไม่เพียงพอ ก็สามารถขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม หากราคายางสูงกว่าที่กำหนดไว้ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปชดเชย

(คลิปข่าว) เกษตรฯ ชง ครม.เคาะ 2 หมื่นล้าน แก้ "ยาง" ราคาร่วง


ส่วนการมาตรการใช้ยางในประเทศนั้นเตรียมเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เห็นชอบแนวคิดการผลิตอุปกรณ์เครื่องนอนให้แก่หน่วยราชการ ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการใช้อุปกรณ์ทั้งหมด และแจ้งข้อมูลกับกระทรวงฯ ภายในวัน 16 พ.ย. นี้ หากผ่านความเห็นชอบ กยท.จะเป็นผู้ดูแลเรื่องการรับซื้อน้ำยางกับสถาบันเกษตรกรเพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์การนอนตามความต้องการ
ส่วนการใช้ยางพาราก่อสร้างถนนซึ่งเป็นโครงการของคมนาคม พบว่ามีปัญหาในเรื่องของราคาการสร้าง เมื่อเทียบดูจะพบว่าถนนที่ทำจากยางพารามีราคาสูงกว่าการทำถนนโดยใช้ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีตครึ่งหนึ่งแต่ถ้าดูในแง่ความคงทน ถนนยางพารามีอายุใช้งานยาวนานถึง 7-8 ปี แตกต่างจากถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีตซึ่งมีอายุการใช้งาน 5 ปีดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ กำลังดูในทางกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง ว่าถ้าให้หน่วยงานราชการเหล่านั้นมาซื้อจะผิดว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างไหม เพราะถนนยางพาราแพงกว่า
ที่ผ่านมา กยท.เคยซื้อยางมาเก็บไว้ในปี 56-57 ประมาณ 1 แสนตัน เสียค่าเก็บโกดังปีละประมาณ 120 ล้านบาท ซึ่งเสียเงินไปโดยไม่ได้ประโยชน์ จึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลนี้ไม่สามารถนำเงินไปซื้อยางพารามาเก็บไว้เฉยๆ ได้

(คลิปข่าว) เกษตรฯ ชง ครม.เคาะ 2 หมื่นล้าน แก้ "ยาง" ราคาร่วง







ส่วนมาตรการระยะกลาง ได้เชิญบริษัทผู้ผลิตยางล้อ 7 บริษัทให้เข้าตั้งโรงงานในประเทศ กระทรวงเกษตรฯพร้อมจะหารือเพื่ออำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาไทยผลิตยางพาราได้ 4.5 ล้านตัน แบ่งเป็นใช้ใช้ในประเทศ 5 แสนตัน และส่งออก 4 ล้านตัน แต่ทั้งนี้เกษตรกรต้องเข้าใจว่าปัจุบันกำลังซื้อของหลายประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การกีดกันทางการค้า ทำให้การส่งออกมีปัญหา เกิดการกดราคายางพาราในประเทศ
ด้านรักษาการ ผู้ว่าการ กยท. เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ระบุ การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศผ่านหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 8 กระทรวง กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงยุติธรรม
โดยปี 2561 ใช้งบประมาณดำเนินการไปแล้วกว่า 11,996 ล้านบาท เป็นน้ำยางข้น 8,802.40 ตัน ยางแห้ง 785.85 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่นำไปสร้างหรือปรับปรุงถนน อยู่ระหว่างดำเนินการ และจัดซื้อจัดจ้างอีกกว่า 12,912 ล้านบาท เป็นน้ำยางข้น 37,823.78 ตัน

(คลิปข่าว) เกษตรฯ ชง ครม.เคาะ 2 หมื่นล้าน แก้ "ยาง" ราคาร่วง




logoline