svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

12 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ทีมล่าความจริง" ลงพื้นที่เรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น และเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พร้อมกับคณะผู้พิพากษากว่า 30 ท่าน ตามโครงการ "ส่งเสริมพลังอำนาจผู้ตัดสินกับผู้ถูกตัดสินในกระบวนการยุติธรรมเพื่อสังคมสุขภาวะ" ตามโครงการกำลังใจ ของสำนักกิจการในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

"ทีมล่าความจริง" ลงพื้นที่เรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น และเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พร้อมกับคณะผู้พิพากษากว่า 30 ท่าน ตามโครงการ "ส่งเสริมพลังอำนาจผู้ตัดสินกับผู้ถูกตัดสินในกระบวนการยุติธรรมเพื่อสังคมสุขภาวะ" ตามโครงการกำลังใจ ของสำนักกิจการในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.การลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการนำคณะผู้พิพากษาเข้าไปเยี่ยมชมความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ และพูดคุยกับผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด เพื่อรับทราบประวัติ ภูมิหลังของผู้ต้องขังแต่ละคน รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อร่วมกันวิเคราะห์โครงสร้างระบบกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอยู่ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อหาทางในการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น



เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

โดยเฉพาะแนวนโยบายที่รัฐบาลมอบหมายให้ "กรมคุมประพฤติ" เข้าช่วยเหลือในชั้นของกระบวนการสืบเสาะและพินิจผู้ต้องหาคดีต่างๆ เพื่อศาลมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้นในการพิจารณาคดีและกำหนดโทษประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ บอกกับ "ล่าความจริง" ว่า การนำเจ้าหน้าที่จากกรมคุมประพฤติเข้ามาช่วยสืบเสาะข้อมูลของผู้ต้องขังนั้น สามารถช่วยแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกได้ เพราะศาลจะสามารถพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสำนวนคดีแต่ละคดี ประกอบกับข้อมูลจากครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ซึ่งบางครั้งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำขึ้นสู่ชั้นการพิจารณาในศาล



เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

ฉะนั้นหากเจ้าหน้าที่จากกรมคุมประพฤติเข้ามาช่วยในการสืบเสาะและพินิจผู้ต้องหา ก็จะทำให้ศาลได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลนี้จะบ่งชี้ถึงประวัติ ภูมิหลัง การศึกษา ความเป็นอยู่ ครอบครัว หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมของตัวผู้ต้องหา ทั้งหมดเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่า ผู้ต้องหาจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้หรือไม่ จากนั้นก็จะนำไปสู่การกำหนดโทษที่เหมาะสมต่อไปมุมมองของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ สอดคล้องกับเลขานุการศาลอาญาคดีทุจริตและพฤติมิชอบกลาง ที่บอกว่า การสืบเสาะข้อมูลของผู้ต้องหาและผู้ต้องขังนั้น ถือเป็นวิธีการที่ดีมากสำหรับช่วยในการพิพากษาของศาล



เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

เพราะศาลต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาอย่างรอบด้าน เพื่อทราบถึงความนึกคิดของตัวผู้ต้องหาว่า ควรได้รับโอกาสในการกลับตัวกลับใจหรือไม่ โดยข้อมูลหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ การเยียวยาความเสียหายหรือการชดใช้จากการกระทำความผิดที่ก่อขึ้น เพื่อให้ศาลสามารถตัดสินโทษได้เหมาะสมกับความผิดก่อขึ้นมาขณะที่มุมมองของฝ่ายวิชาการ อย่างผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์ บอกว่า นโยบายนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรนำมาพัฒนาและใช้จริงเป็นอย่างมาก เพราะหลายคดีเท่าที่เคยศึกษาพบว่า ผู้ต้องหาบางคนไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด แต่กลับต้องมาติดคุกอย่างเหมารวม ฉะนั้นการสืบเสาะข้อมูลความเชื่อมโยงที่แท้จริง จะช่วยให้ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินคดี และสามารถคัดกรองความผิดให้แต่ละบุคคลได้



เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

การผสานข้อมูลกันมากขึ้นระหว่างหน่วยงานใน "สายพานยุติธรรม" และการใช้ "มาตรการทางเลือกแทนการคุมขัง" เพื่อให้การลงโทษได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอย่างแท้จริง คือการอำนวยความยุติธรรมในระดับสูงสุดให้กับประชาชน บนฐานของ "หลักนิติธรรม"



เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย


เมื่อศาลเดินเข้าเรือนจำ...มิติใหม่ยุติธรรมไทย

logoline