svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

บินโดรนสำรวจพะยูน เดินหน้าวิจัยเพื่ออนุรักษ์

22 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตรัง-ผลการบินAI Droneเก็บข้อมูลประชากรและศึกษาพะยูนในทะเลตรังของ สวทช.โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) สามารถบันทึกภาพพะยูนเป็นฝูง ยืนยันความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของท้องทะเลตรัง เดินหน้าศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง

(22ตุลาคม2560)ภาพจำนวนประชากรฝูงใหญ่ไม่ต่ำกว่า30 40ตัว ที่นักศึกษาของคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ร่วมกันบันทึกภาพได้ด้วยAI Droneหรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีการสำรวจจากระบบหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS)หรือโดรน (Aerial Drone)โดยพัฒนาระบบการตรวจจับภาพพะยูนในสถานการณ์จริงแบบอัตโนมัติ และการพัฒนาระบบบันทึกภาพแบบหลายมุมมอง เพื่อสำรวจพะยูนสำหรับบริเวณพื้นที่กว้าง โดยมีกล้องวีดีโอในช่วงคลื่นตามองเห็นแบบหลายมุมมอง และกล้องถ่ายภาพความร้อน ติดตั้งไปกับหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก สามารถบันทึกภาพฝูงพะยูนได้ในระยะใกล้ๆและคมชัดมาก 
ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ปี พ.ศ.2560ระหว่างวันที่18 20ตุลาคมที่ผาน เพื่อบินสำรวจประชากรพะยูนในทะเลตรังบริเวณพื้นที่บริเวณอ่าวทุ่งจีน - ตะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งมีแหล่งหญ้าทะเลขึ้นปกคลุมจำนวนมาก และเป็นถิ่นอาศัยสำคัญของพะยูน จนสามารถบันทึกภาพพะยูนได้ฝูงใหญ่ดังกล่าวในระดับน้ำลึกประมาณ1เมตร จนเห็นตัวพะยูนฝูงใหม่ และมีคู่ พ่อ-แม่-ลูก คู่แม่ลูก จำนวนหลายคู่ และบางคู่เป็นพะยูนเพศผู้ -เมีย กำลังคลอเคลียเพือ่ผสมพันธุ์กัน เนื่องจากขณนี้อยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ของพะยูน สามารถยืนยันได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลตรัง ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ของประเทศไทย ว่าพะยูนในทะเลตรัง
อาจารย์กฤษนัยน์ เจริญจิตร อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การสำรวจพะยูนครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. )และมหาวิทยาลัยบูรพาโดยใช้AI Droneเป็นครั้งแรกในการนำมาประยุกต์ใช้กับการสำรวจกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก
และทรัพยากรชายฝั่งในทะเลตรัง ผลที่ได้จะสามารถจัดทำแผนที่ ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวรายละเอียดสูงพร้อมข้อมูลพิกัด จนสามารถผลิตเป็นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)เพื่อสำรวจติดตามพะยูนในแนวหญ้าทะเล ในเขตจังหวัดตรัง เพื่อการบริหารจัดการอนุรักษ์พะยูนและทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านการสำรวจและเฝ้าระวังพะยูน ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในอนาคตสามารถนำผลสำรวจดังกล่าวไปไนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ กำหนดทิศทาง แก้ไขและป้องกันทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดตรังและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับทะเลตรังถือเป็นแหล่งอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของประเทศ กรณีการเกิดข่าวคราวเรื่องการขบวนาพะยูนในอดีตเมื่อประมาณ20ปีที่ผ่านมา และการตายของพะยูนด้วยเครื่องมือประมงเป็นปัญหาสำคัญ แต่ทุกภาคส่วนทั้งกลุ่มอนุรักษ์ ชมรมประมงพื้นบ้านในพื้นที่ หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบพื้นที่ ได้ร่วมกันอนุรักษ์และป้องกันอย่างจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งการกำหนดเขตอนุรักษ์คุ้มครองหญ้าทะเล พะยูน เต่า และโลมา ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหาก การติดตั้งสัญญาณดาวเทียมติดตามตัวพะยูน เพื่อศึกษาถิ่นอาศัย แหล่งหากิน และสถานที่หลับนอนของพะยูนถึง2ครั้งนับจากปี2558 - 2560สามารถทำให้ลดการตายของพะยูนอย่างได้ผล โดยผลการบินสำรวจพะยูนในทะเลตรัง ของนักวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศย้อนหลังข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปี2541 2560พบว่า ในระยะประมาณ4-5ปีที่ผ่านมา ประชากรพะยูนเพิ่มปริมาณสูงขึ้น คือ ระหว่างปี2541 2553พบซากพะยูนตาย จำนวน63ตัว คงเหลือพะยูนประมาณ 150 200 ตัว , ปี2554พะยูนตาย 5 ตัว เหลือประมาณ150ตัว, ปี2555พะยูนตาย 13 ตัว คงเหลือพะยูนประมาณ 134 ตัว , ปี 2556 พะยูนตาย 6 ตัว เหลือพะยูนประมาณ 125 ตัว ,ปี 2557 พะยูนตาย 7 ตัว เหลือพะยูนประมาณ 135 ตัว ,ปี 2558 พะยูนตาย 8 ตัว เหลือพะยูนประมาณ 145 ตัว , ปี 2559 พะยูนตาย 8 ตัว เหลือพะยูน 160 ตัว และปี 2560 พบพะยูนเพิ่มขึ้นขณะที่หญ้าทะเลก็เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ27,000ไร่ เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ35,000ไร่

logoline