svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

12 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์และแนวโน้มของคนเป็นออทิสติกว่า ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ประเทศคาดว่ามีประมาณ 3.7 แสนคนและจากสถิติปี 2555 เฉลี่ยเด็กไทย 1,000 คนเป็น 6 คน

ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำหนดให้บุคคลออทิสติกเป็นประเภทความพิการด้วย เพื่อจะได้รับสิทธิบริการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งพบว่ามีคนเป็นออทิสติกมาแสดงตนขอมีบัตรประจำตัวผู้พิการประมาณ 4,000 ราย  

       

ว่ากันว่าสาเหตุที่ผู้เป็นออทิสติกมาลงทะเบียนน้อยคาดว่าเกิดจาก 3 เหตุผลหลัก คือ 1.เอกสารรับรองความพิการของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังคงระบุรวมบุคคลออทิสติกไว้ในกลุ่มความพิการทางจิตใจ ซึ่งทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน 2.ผู้ปกครองยังไม่รู้สิทธิ หรือยังมีมุมมองกับคำว่าพิการไม่ชัดเจน บางคนมองว่าเป็นการตีตราเด็ก จึงไม่นำเด็กเข้าระบบ และ 3.แพทย์ยังมีความลังเลในการวินิจฉัยรับรองว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพ

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

ทั้งนี้บุคคลออทิสติก จะเห็นชัดในช่วงวัยเด็กอายุ 3-4 ขวบ หากพบเด็กมีปัญหาทั้ง 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านปฏิพันธ์ทางสังคม ด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ให้สันนิษฐานได้ว่า เด็กอาจเป็นออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติดให้สำเร็จในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สำเร็จ คือ การฝึกกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยผู้ปกครองจะต้องยอมรับและเข้าใจ และแนะนำให้ผู้ปกครองใช้หลัก 4 อ.คือ อดทน อบอุ่น เอาใส่ใจ ให้โอกาสเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก

      

ระดับอาการออทิสติก จำแนกได้ 3 ระดับ คือ 1.ระดับกลุ่มที่มีอาการน้อย (Mildautism) หรือ กลุ่มออทิสติกที่มัศักยภาพสูง จะมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังมีความบกพร่องในทักษะทางด้านสังคม การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น 2.ระดับกลุ่มที่มีอาการปานกลาง (Moderate autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าทางเด่นภาษา การสื่อสาร ทักษะทางด้านสังคม และการช่วยเหลือตัวเอง ตลอดจมีปัญหาพฤติกรรมกระตุ้นตนเอง 3.ระดับที่มีอาการรุนแรง (Severe autism) ในกลุ่มนี้จะพัฒนาการล่าช้าเกือบทุกด้าน และอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญญาอ่อน รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง  

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

   

ล่าสุดเครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติกได้คิดค้นและประมวลขึ้นมาทั้งจากประสบการณ์ตรงและจากการ "ต่อยอด" องค์ความรู้ของต่างประเทศจากทั่วโลก นับเป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก เรียกว่า "4 กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป"และทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยขอให้นายกรัฐมนตรีออกม.44 ให้กระทรวงการคลังและกองทุนต่างๆ อนุมมัติเม็ดเงินให้แก่กระทรวงต่่างๆ ทำโครงการนำร่อง "4 กลไกหลักฯ" ให้สามารถนำเม็ดเงินมาใช้จ่ายเรื่อง "งบลงทุน" ทั้งในเรื่องค่าก่อสร้างอาคารสถานที่และค่าจ้างค่าตอบแทนบุคลากรและอื่นๆ


เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

       

2.ให้กระทรวงสาธารณสุข ทำ "โครงการนำร่องจัดตั้ง "แผนกพิเศษออทิสติก" ในโรงพยาบาลศูนย์ฯ โรงพยาบาลจังหวัดฯ และโรงพยาบาลอำเภอฯ" ในขอบเขตทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะบุคลากรและถอดบทเรียนเป็นกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ในการนำเข้าสู่โครงสร้างงบประมาณปกติให้แล้วเสร็จ ภายใน 5 ปี

         

3.ให้กระทรวงศึกษาธิการทำโครงการนำร่องจัดตั้งและพัฒนาห้องเรียน 2 รูปแบบ อันได้แก่ "ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก" และ "ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ" ในโรงเรียนเด็กปกติทั่วไปในชุมชน ในสังกัดหรือในกำกับดูแล ในขอบเขตทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะบุคลากรและถอดบทเรียนเป็นกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ในการนำเข้าสู่โครงสร้างงบประมาณปกติ ให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

         

4.ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์-พม. ทำโครงการนำร่องจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจังหวัดฯ ที่มี ฝ่ายบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนจังหวัดฯ อยู่ในโครงสร้างของศูนย์ ให้ครบทั้ง 77 จังหวัด เพื่อบ่มเพาะบุคลากรและถอดบทเรียนเป็นกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ในการนำเข้าสู่โครงสร้างงบประมาณปกติ ให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี และให้กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลต่างๆ จัดตั้ง "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน" ในเขตเทศบาลหรือนเขตพื้นที่ของตนหากมีบุคคลออทิสติกวัยรุ่นวัยผูใหญ่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

       

นอกจากนี้ยังขอ"งบประมาณกลาง" ของรัฐบาลประมาณ 600-1,000 ล้านบาทให้กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดตั้ง "สถาบันวิจัยออทิสซึ่มในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งลุ่มแม่น้ำโขง"เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมด้านออทิสติกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งสามารถจะเชื่อมต่อวิทยาการด้านออทิสติกและด้านสมองกับทั่วโลก

       

อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึ่ม(ไทย) ได้เขียนในเฟสบุ้ควันที่ 22 มิย. 2560 ว่า สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) จึงได้บรรจุเนื้อหา ใน4กลไก เป็น มาตรการและตัวชี้วัด ใน "แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 ที่ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบไว้แล้ว เหลือเพียง "แรงส่ง นั่นคือ บัญชา หรือ ข้อสั่งการของ ท่านนายกรัฐมนตรี ในประเด็นดังกล่าว"หวังว่า" ฯพณ. นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย ตั้งทีมงานมาทำงานร่วมกับ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย)และภาคีผู้ปกครอง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ สิทธิเป็นจริง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามคำประกาศของท่าน

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

      

ผู้ปกครองเด็กออทิสติกรายหนึ่ง บอกว่าการพัฒนาบุคคลออทิสติคต้องทำตามศักยภาพของการเรียนรู้ เช่นกลุ่มที่ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต่ำ ต้องมี"ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกกลุ่มศักยภาพปานกลางถึงต่ำ วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่(15 ปี ขึ้นไป) และต้องมี"หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต่ำ(วัยรุ่นผู้ใหญ่) พัฒนาศักยภาพนักพัฒนาศักภาพบุคคลออทิสติก ด้วย "หลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก"และพัฒนาผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ด้วย "หลักสูตรคู่ขนานผู้ปกครองบุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต่ำ อายุ 15ปีขึ้นไป" ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับบุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต่ำในระดับอายุ 15 ปีขึ้นไปแก่ชุมชน ให้บริการ 24ชม.ทั้งเพื่อการฝึกทักษะเพื่อการพัฒนาศักยภาพครบวงจรชีวิต 24 ชม.จะได้เป็นการช่้วยเหลือและเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่รอดได้ในสังคมอย่างเท่าเทียมกับกลุ่มคนพิการอื่นๆด้วย

เพิ่มที่ยืน "ออทิสติก" ในสังคม

     

"เด็กออทิสติคที่มีศักยภาพสูงก็อยู่ร่วมกันเด็กปกติ เข้าโรงเรียนกับเด็กปกติได้ แต่กลุ่มที่ศักยภาพต่ำ บางคนไม่มีฐานะ ตรงนี้ภาครัฐต้องเข้าช่วยเหลือ ต้องมีสถานที่รองรับ ห้องเรียนก็ต้องมีรองรับ โรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์รองรับในชุมชน ซึ่งต้องทำคู่ขนานไปด้วยกัน พวกเขาไปโรงเรียนก็มีห้องเรียนของพวกเขา ไปโรงพยาบาลก็ได้ หรือมีปัญหาในชุมชนก็มีที่พักพิง อย่างนี้ปัญหาแม่ฆ่าลูกเพราะรับภาระไม่ไหวก็จะหมดไป แต่รัฐบาลต้องจริงใจ รัฐบาลต้องกล้าลงทุนกับเด็กเหล่านี้ คนกลุ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่มีการลงทุนด้านนี้เลย ถ้าสามารถทำตาม 4 โมเดลได้ กลุ่มคนออทิสติกทุกระดับศักยภาพทุกระดับอายุ ก็จะมีเส้นทางเดินของตัวเองอย่างงดงาม" แม่ที่มีลูกออทิส ติกรายหนึ่งกล่าว 


ศธ.ให้เรียนร่วม 3 กลุ่ม

      

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) สำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยมีการคัดกรองเด็กเพื่อจัดการเรียนใน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 โรงเรียนเรียนร่วม สำหรับเด็กพิการที่มีความพร้อมพอจะเรียนร่วมกับเด็กปกติ

       

กลุ่มที่ 2 โรงเรียนเฉพาะความพิการ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา, ทางการได้ยิน และการเห็น แบ่งเป็น2ประเภท คือเด็กตาบอด และเด็กเห็นเลือนราง ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จะสมองดีเพราะสามารถอ่านอักษรเบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียงได้ และสามารถเรียนได้ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีกระจายอยู่ 46 แห่งทั่วประเทศ ทั้งในรูปแบบประจำ และไป-กลับ

       

และกลุ่มที่ 3 กลุ่มโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส 10 ประเภท ที่ ศธ. กำหนด อาทิ เด็กถูกบังคับคดีให้ขายแรงงาน เด็กเร่ร่อน เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศ เด็กที่ถูกทอดทิ้ง/กำพร้า เด็กถูกทำร้ายทารุณ เด็กยากจนมากเป็นพิเศษ เด็กในชนกลุ่มน้อย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ และเด็กในสถานพินิจและคุ้มเด็กและเยาวชน

      

เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการศึกษาตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานเหมือนโรงเรียนทั่วไป และเน้นทักษะชีวิต เรียนอาชีพสู่การมีงานทำ มีโรงเรียนรองรับอยู่ประมาณ 51 แห่ง

       

นอกจากนี้ยังมีการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน หรือโฮมสคูลสำหรับเด็กพิการ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ผู้ปกครองพอมีฐานะและสามารถจัดการเรียนการสอนได้ด้วยตัวเอง


จิตแพทย์ระบุพ่อแม่ร้อยละ50เครียด

    

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)กล่าวว่า พ่อแม่ร้อยละ50 ที่มีลูกออทิสติกเครียด ซึ่ง การให้บริการผู้ป่วยออทิสติกในปัจจุบัน หากพ่อแม่สังเกตเห็นว่าลูกไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้วสามารถรับบริการเพื่อคัดกรองออทิสติกได้ตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)หรือโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) เพื่อส่งต่อเข้ารับการดูแลจากจิตแพทย์ต่อไป

      

โดยปกติจะมีการคัดกรองออทิสติกในเด็กไทยในช่วงอายุ 9 เดือน,18 เดือน ,30 เดือน และ42 เดือนช่วงที่เด็กมาตรวจสุขภาพและรับวัคซีนด้วย หากตรวจพบก็จะให้เข้าสู่กระบวนการรักษา จะต้องเน้นที่ความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมตัวเด็กของพ่อแม่เป็นสำคัญ ยอมรับกับพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงของเด็กให้ได้ และร่วมมือในการช่วยฟื้นฟูเด็ก

logoline