svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

02 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"เทศกาลคเณศจตุรถี" ถือเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ที่สุดของการประกอบพิธีบูชาพระพิฆเนศที่ยืดถือมาช้านาน เป็นวันประสูติของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระพิฆเนศจะเสด็จลงมาเพื่อประทานพรแก่ผู้บูชา และเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อรับทราบเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้ศรัทธาเลื่อมใส โดยจะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10

สำหรับปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน นับเป็นครั้งที่ 10 มีการจัดงานที่ลานอเนกประสงค์ หน้าอาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน โดยจะมีพิธีบูชาสถาปนาองค์พระพิฆเนศ ขนาดสูง 12 ฟุต ปั้นโดยฝีมือช่างอินเดีย ทำจากไม้และดิน ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีพิธีบูชาสถาปนาองค์พระพิฆเนศ (Ganesha Sthapna Pujan), การถวายเครื่องสังเวย 56 อย่างตามศาสนาฮินดู (56 Bhog Presentation), พิธีบูชาไฟหรืออารตี (Aarti) และรับของถวายจากองค์พระพิฆเนศเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต (Ganesha Prasad)

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล


"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

พิธีบูชาสถาปนาองค์พระพิฆเนศจะเริ่มกระทำเป็นพิธีแรก เริ่มจากการสถาปนาหม้อกลัศ ที่ใส่พวกของมีค่าศักดิ์สิทธิ์, เพชรนิลจินดา, หินมงคล, ทราย, ดินแม่น้ำ, ทองคำ, ทองเหลือง, ทองแดง, โลหะต่างๆ, เหรียญ, น้ำมนต์ โดยมีพราหมณ์คอยกำกับเพื่ออัญเชิญเทวานุภาพแห่งองค์พระพิฆเนศมาสถิต จากนั้นทำการสวดสรวโตภัทรปีฐ เป็นการสร้างอาสนะเพื่อต้อนรับเทพเจ้าที่สร้างขึ้นจากอักษัต หรือเมล็ดข้าวสารย้อมสีเรียงเป็นตาราง โดยจะสวดมนตรากำกับเมล็ดต่อเมล็ด และวางดอกไม้และขนมในช่องของภัทรปีฐเพื่อถวายแด่เทวดา จากนั้นจะบูชาพระพิฆเนศด้วยพิธีอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน (คณปติ โษฑโศปจาร ลฆฺปูชาวิถี) ได้แก่ การถวายอาสนะ, การล้างพระบาท, การล้างพระหัตถ์, การบ้วนพระโอษฐ์, การสรงสนาน, การสรงเครื่องหอม, การอภิเษก, การถวายเครื่องทรง, การถวายสายยัชโญปวีต, การจุลเจิม, การถวายดอกไม้มาลัย, การถวายธูปและประทีบ, การถวายอาหาร หมากพลู และการทำอารตี ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการถวายแสงประทีปแด่องค์เทวรูป แสงไฟที่ลุกขึ้นในถาดจะเผาผลาญสิ่งอัปมงคลให้มลายหายสิ้น พระองค์จะประทานแสงสว่างทางปัญญาให้เกิดแก่ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา โดยผู้บูชาจะเอาฝ่ามืออังเปลวไฟที่เสร็จพิธีมาแตะหน้าผาก ถือเป็นการรับเอาสิ่งอันเป็นมงคลสู่ตัวเสมือนได้รับพรจากเทพโดยตรง

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

อุปกรณ์ที่ใช้การบูชาพระพิฆเนศ ได้แก่ ธูป 16 ดอก, ดอกดาวเรือง (ความเจริญรุ่งเรือง), น้ำสะอาด, นมสดรสจืด, ผลไม้ เช่น กล้วย (ทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จโดยง่ายดาย) อ้อย (ความหวาน สดชื่น) มะพร้าว (ความเจริญรุ่งเรือง ความบริสุทธิ์), ขนมหวาน (ต้องไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์) เมื่อเตรียมของเสร็จแล้วให้ทำจิตสงบนิ่งและเริ่มสวดบูชา โดยคาถาที่นิยม คือ โอม ศรี คะเนศา ยะนะมะฮา ให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ วนไปเรื่อยๆ หรือจะเป็น 108 จบก็ดี หลังจากนั้นทำ อารตี และขอพรตามประสงค์ โดยกล่าว โอม ศานติ...ศานติ...ศานติ เพื่อขอความสันติให้บังเกิดเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ตามความเชื่อนั้นพลังศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพิฆเนศสามารถประทานพรสุดวิเศษแก่ผู้บูชาสักการะ ไม่ว่าจะเป็น ยศฐาบรรดาศักดิ์, อำนาจวาสนา, ธุรกิจการงาน, ความมั่งคั่งร่ำรวย, สติปัญญา, ศิลปวิทยาการทุกแขนง, สุขภาพร่างกายและจิตใจ, ขจัดปัญหาและความหายนะ รวมไปถึงการนำความสุขสถาพรนิรันดร์

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

"เทศกาลคเณศจตุรถี" บูชาพระพิฆเนศ เพื่อความเป็นสิริมงคล

logoline