svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กฎก.พ. 5 ลักษณะเข้าข่ายล่วงละเมิด-คุกคามทางเพศ

15 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กฎก.พ.กำหนดชัด 5 ลักษณะเข้าข่ายล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ไม่ใช่แค่ลวนลามทางกาย รวมทั้งวาจา-ตา ห้ามข้าราชการกระทำ ใครฝ่าฝืนถือว่าผิดวินัย

สังคมต่างจับจ้องกรณีที่ข้าราชการชายกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ที่เป็นหัวหน้าสายงานลวนลามลูกจ้างสาวถึง 4 คน ตั้งแต่ปี 2557 และมีคลิปปรากฎเป็นการโอบกอดจากทางด้านหลัง จนนำมาสู่การสั่งย้ายข้าราชการคนดังกล่าวออกจากหน่วยงานเดิมไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 "คมชัดลึก"จึงขอเจาะเนื้อหารายละเอียดตามระเบียบของก.พ.ที่ห้ามไม่มีข้าราชการการกระทำเพราะเข้าข่ายล่วงละเมิดหรือคุกคาทางเพศ พบว่ามี 5 ลักษณะ

ผู้สื่อข่าวรายงานกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรมสำนักบริหารกลาง กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้เคยเผยแพร่ความรู้เรื่อง"การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ" ไว้ว่าพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551มาตรา83(8)ได้บัญญัติไว้สรุปว่า "ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กาหนดในกฎ ก.พ." ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85(7)แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ได้ออกกฎก.พ.ว่าด้วยการกระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ.2553และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29กันยายน 2553เป็นต้นไป กล่าวคือ ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นตั้งแตวั่นที่ 29 กันยายน 2553เป็นต้นไป ก็จะมีความผิดวินัยตามกฎหมายและมาตราดังกล่าว

โดยมีสาระสาคัญดังนี้การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ มีลักษณะอย่างใดบ้างลักษณะของการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศนั้น มี 5ประการ ดังนี้1.กระทำการด้วยการสัมผัสทางกายที่มีลักษณะส่อไปในทางเพศ เช่น การจูบการโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นต้น2. กระทำการด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ร่างกาย พูดหยอกล้อพูดหยาบคาย เป็นต้น3. กระทำการด้วยอากัปกิริยาที่ส่อไปในทางเพศเช่น การใช้สายตาลวนลาม การทาสัญญาณหรือสัญลักษณ์ใดๆ เป็นต้น4. การแสดงหรือสื่อสารด้วยวิธีการใดๆ ที่ส่อไปในทางเพศ เช่น แสดงรูปลามกอนาจาร ส่งจดหมาย ข้อความ หรือการสื่อสารรูปแบบอ่นื เป็นต้น5. การแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ส่อไปในทางเพศซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์หรือเดือดร้อนรำคาญ

ทั้งนี้ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่เป็นผู้ทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ จะต้องกระทำประการหนึ่งประการใดใน 5 ประการโดยต้องกระทำต่อข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติงานเท่านั้น หากทากับประชาชนทั่วไปหรือผู้มารับบริการแล้ว จะไม่เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ แต่จะเป็นความผิดวินัยฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักด์ิของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82(10)หรือฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85(4)แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

สำหรับผู้ที่ถูกกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ มีดังนี้ 1.กระทำต่อข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด เช่น เป็นข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการ เช่น กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด2.กระทำต่อผู้ร่วมปฏิบัติงาน เช่น พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานขององค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น อสม.ที่ร่วมทำงาน เป็นต้น

อีกทั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศใน 5ลักษณะดังกล่าว ถ้าได้กระทาตอ่ ข้าราชการหรือผู้รว่ มปฏิบัติงาน โดยการกระทำนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้น ที่ใดทั้งในหรือนอกสถานที่ราชการ และผู้ที่ถูกกระทำมิได้ยินยอมต่อการกระทำหรือทำให้ผู้ถูกกระทำเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งได้กระทำผิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2553เป็นต้นไปถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามมาตรา 83(8)

logoline