svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดกฏหมายเก็บเห็ด "เห็ด" ไม่ใช่ ของป่าหวงห้าม! และเห็ดไม่อยู่ในบัญชีพ.ร.ก.ของป่าหวงห้าม

26 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณี เหตุการณ์ที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ เดินทางไปเก็บเห็ดในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา พื้นที่จังหวัดชัยภูมิ และถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จับกุม จนกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์

โดยชาวโซเชียลส่วนใหญ่ เห็นอก เห็นใจชาวบ้าน ว่าการเก็บเห็ด น่าจะไม่ผิดกฏหมาย ถ้าไม่ได้เข้าไปทำลายป่า-เผาป่าหรือไปแผ้วถางป่า ขณะเดียวกันก็ตำหนิ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ที่ใช้อำนาจเต็มจนดูจะครอบจักรวาล ว่าชาวบ้านบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นพื้นที่ ที่ล่อแหลมเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ ฯลฯ จนอาจลืมคำนึงถึงบริบทของสังคม
ล่าสุด เจ้าหน้าที่อุทยานฯ แจ้งว่า ไม่ได้จับกุมชาวบ้าน แค่เข้าไปว่ากล่าวตักเตือนว่า การเก็บเห็ด หรือของป่าในเขตอุทยานนั้นผิดกฎหมาย ซึ่งในวันนั้น ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อ้างว่า ไม่ได้ปรับเงินชาวบ้านแต่อย่างใด แค่ว่ากล่าวตักเตือน แต่ว่าความผิด เมื่อเจอของกลาง (เห็ด) จึงต้องยึด ซึ่งของกลางที่ยึดได้ ก็นำไปฝังกลบเพื่อทำลาย
ว่ากันตามจริง พื้นที่ป่าทั่วประเทศไทย พอช่วงหน้าฝน จะมีเห็ดเกิดขึ้นมากมาย และชาวบ้านที่อาศัยในละแวกป่า หรือใกล้เคียงป่า ก็มักเดินทางเข้าป่า เพื่อไปเก็บเห็ด มาขาย หรือนำไปรับประทาน
เหมือนเป็นปกติวิสัยของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ป่า มักจะเข้าป่าเก็บเห็ดในป่า
เพื่อความกระจ่าง เนชั่นทีวี ตรวจสอบกฏหมายว่าของป่า (เห็ด) ตาม พ.ร.บ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กล่าวถึงเรื่องของป่าหวงห้าม รวมถึงบทลงโทษในมาตราที่เกี่ยวข้อง ว่าแท้จริงแล้ว เห็ด ถือเป็นของป่าหวงห้ามที่เก็บแล้วผิดกฎหมายป่าไม้หรือไม่..อย่างไร..
ซึ่งจากการตรวจสอบ "เห็ด" ไม่ได้มีระบุไว้ในกฏหมายป่าไม้ว่าเป็น ของป่าหวงห้าม แต่อย่างใด!!

เปิดกฏหมายเก็บเห็ด
"เห็ด" ไม่ใช่ ของป่าหวงห้าม! 
และเห็ดไม่อยู่ในบัญชีพ.ร.ก.ของป่าหวงห้าม


พ.ร.บ ป่าไม้ พ.ศ. 2484หมวด ๑ การทำไม้และเก็บหาของป่า
ส่วนที่ ๕ ของป่าหวงห้าม
มาตรา ๒๗ ของป่าอย่างใดในท้องที่ใดจะให้เป็นของป่าหวงห้ามให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๒๘ การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนของป่าหวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดีหรือจะกำหนดของป่าอย่างใดให้เป็นของป่าหวงห้ามขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตราก่อน แล้วนั้นก็ดีให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในมาตรานี้ ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๙ (๑๘) ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้าม หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ของป่ าหวงห้ามในป่าต้องได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้และต้องเสียค่าภาคหลวงกับทั้งต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงการอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว จะ อนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้รับอนุญาตเสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาล ตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
มาตรา๓๐(๑๙) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดอัตราค่าภาคหลวงไม่เกินร้อยละสิบ แห่งราคาตลาดในราชอาณาจักร ซึ่งเฉลี่ยจากราคาแห่งของป่าหวงห้ามอย่างนั้น ๆ
มาตรา ๓๑ ในท้องที่ใดที่ได้กำหนดรวงผึ้งเป็นของป่าหวงห้าม ห้ามมิให้ผู้ใดแม้จะเป็ นผู้รับอนุญาตหรือผู้รับ สัมปทาน เก็บหาของป่า ตัดหรือโค่นต้นยวงผึ้ง หรือต้นไม้ที่ผึ้งทำรังอยู่ หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ต้นไม้ที่กล่าว แล้ว โดย ไม่จำเป็นแก่การเก็บหารวงผึ้ง
มาตรา ๓๒ บทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้า หรือการทดลองในทางวิชาการ
มาตรา ๓๓ (๒๐) การเก็บหาของป่าหวงห้ามก็ดีอัตราค่าภาคหลวงก็ดีซึ่งได้กำหนดขึ้นไว้แล้วนั้นถ้ารัฐมนตรี เห็นว่ามีกรณีพิเศษเกิดขึ้น ก็ให้มีอำนาจอนุญาตแตกต่างจากข้อ กำหนดเป็นการชั่วคราวได้
(๑๘) มาตรา ๒๙ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้(ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๑๑ (๑๙) มาตรา ๓๐ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้(ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๖
ส่วนบทลงโทษ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ระบุไว้ดังนี้
มาตรา ๗๑ ทวิผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๒๙ ทวิมาตรา ๓๙ มาตรา ๓๙ ตรีมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ วรรคสองหรือมาตรา ๕๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และเมื่อตรวจสอบ พระราชกฤษฎีกา กำหนดของป่าหวงห้าม ปี พ.ศ.2530 มีการกำหนดบัญชีของป่าหวงห้ามไว้หลายชนิด แต่ไม่ปรากฏว่า เห็ด อยู่ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดของป่าหวงห้าม ดังกล่าว
พระราชกฤษฎีกา กําหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 เช่นใน
มาตรา 4 ให้ของป่าบางชนิดในป่า ในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ตามที่ระบุไว้ใน บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 25301.กล้วยไม้ป่าทุกชนิด2.จันทน์แดง จันทน์ผา (Dracaena loureiri Gagnep.)3.ชันทุกชนิด4.ชิ้นไม้กฤษณา และกฤษณา5.ชิ้นไม้จันทน์หอม 6.ฝาง ง้าย (Caesalpinia sappan Linn.)7.ถ่านไม้ทุกชนิด8.น้ำมันยาง 9.ใบลาน10.เปลือกไม้ และของไม้ต่อไปนี้(1) ก่อ มะก่อ กอ ค้อ (Castanopsis spp., Lithocarpus spp. & Quercus spp.)(2) กัดลิ้น ขี้อาย มะเฟืองป่า แก้วสาร ลําไยป่า พญาไก่เถื่อน (Walsura spp.)(3) ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ เคียน แคน (Hopea spp.)(4) เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon Pierre syn. C. lanceolatum Craib)(5) บง ยางบง หมี่ ไก๋ (Persea spp.)(6) หมีเหม็น อีเหม็น (Litsea spp.)(7) พะยอม ยอม ขะยอม พะยอมดง (Shorea spp.)(8) มะหาด หาด หาดหนนุ หาดส้าน (Artocarpus spp.)(9) สีเสียดเปลือก ทองสุก หนามหิน เลือดนก (Pentace spp.)(10) อบเชย เทพาโร จวง จวงหอม การบูรต้น ข่าต้น ตะไคร้ต้น พลต้นู สมุลแว้ง ฮางแกง ฮังไก๊ เชียด กะเชียด กะดารา มหาปราบ (Cinnamomum spp.)11.เฟิร์นกระเช้าสีดา ชายผ้าสีดา และห่อข้าวสีดา (Platycerium spp.)12.ยางขุนนนก 13.ยางเยลูตง14.ยางรัก15.ยางสน16.รากเฟิร์นออสมันดา17.ลําต้นและรากเฟิร์นต้น18.หวายทกชนิด
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากําหนดของป่าหวงห้าม (พ.ศ.2530) ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง พระราชกฤษฎีกากําหนดของป่าหวงห้ามเสียใหม่ ให้ใช้บังคับในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร

เปิดกฏหมายเก็บเห็ด
"เห็ด" ไม่ใช่ ของป่าหวงห้าม! 
และเห็ดไม่อยู่ในบัญชีพ.ร.ก.ของป่าหวงห้าม


และเนื่องจากการกําหนดของป่าหวงห้าม แต่เดิมไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและทางด้านวิชาการ ทําให้เป็นปัญหา ในทางปฏิบัติและข้อกฎหมาย ประกอบกับในปัจจุบัน ของป่าบางชนิดที่มิได้กําหนดให้เป็นของป่ามาก่อน กลับเป็นของป่าที่มีค่าหายาก ซึ่งนิยมเก็บหาและนําออกมาเป็นปริมาณมากโดยไม่คํานึงถึงความเสียหาย ของแหล่งกําเนิดของป่า
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบํารุงรักษาบรรดาของป่าทั้งหลายสืบไป จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 220 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2530)
การตรวจสอบของ เนชั่นทีวี จาก ข้อกฏหมาย ทั้ง พ.ร.บ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ว่าด้วย ของป่าหวงห้าม และ พระราชกฤษฎีกา กําหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530
ไม่ปรากฏว่า "เห็ด" เป็น ของป่าหวงห้าม แต่อย่างใด!!

logoline