svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อัศวิน ผู้ว่าฯกทม.ลั่น หากเกิดอุบัติเหตุก่อสร้าง รถไฟฟ้าอีก สั่งพักโครงการทันที

29 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อัศวิน" ชี้ การถูกสั่งพักงานก่อสร้าง ใช้เป็นเหตุผลยืดสัญญาไม่ได้ ขู่อาจสั่งหยุดโครงการได้หากเกิดเหตุซ้ำซากบ่อยๆ เผยส่วนใหญ่เกิดจากการประมาทมากถึง 70%

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. เวลา 15.00 ที่ศาลาว่าการ กทม. มีการประชุการกำหนดมาตรการและแนวทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นปับประชาชน จากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.เป็นประธาน พร้อมด้วยตัวแทนจากหน่วนยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริษัท ชิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), การรถไฟฟ้าขนส่งมลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แลพ กองบังคับการตำรวจจราจน (บก.จร.)

ต่อมาเวลา 17.00 พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ กทม. เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถไฟฟ้าทุกสาย มาพูดคุยหารือถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในการสร้างรถไฟฟ้า หลังมีเหตุการณ์ อุปกรณ์การก่อสร้างหล่นใส่ประชาชนที่สัญจนไปมาแถวนั้น หรือหล่นใส่รถยนต์ รวมถึงการเกิอุบัติเหตุจนคนงานของเขาเสียชีวิตเอง โดยทาง กทม. ได้ให้มาตรการว่า ต่อไปนี้เป็นต้นไป การก่อนสร้างรถไฟฟ้าสถานีใด หรือเส้นทางไหน หากเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้อีก จะต้องหยุดการก่อสร้างทันที อาจจจะให้ยุด 3 - 7 วัน หรือมากกว่านั้น โดยไม่สนใจว่าจะเกิดเหตุเพราะอะไร และการโดนระงับการก่อสร้าง ไม่อาจใช้เป็นไปอ้างขอยืดเวลาสัญญาการก่อสร้างได้ เว้นแต่คู่สัญญาตกลงกันได้ แม้ว่า กทม. ไม่ได้เป็นคู่สัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้า แต่เป็นเจ้าของที่ ซึ่งอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นหลายครั้ง และซ้ำๆหลายครั้ง โดยมาตรการนี้ก็ใช้ตั้งแต่วันนี้นับแต่การประชุมจบลง
"แม้ว่าอุบัติเหตุ จะทำให้คนเป็นแผลแค่สะกิดเล็บ เลือดออกนิดเดียว ก็ต้องหยุดอย่างน้อย 3 วัน หยุดก่อสร้างไปเลย เพราะเราจะต้องสร้างมาตรฐานตรงนี้ให้ได้ "พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว
เมื่อถามว่าระยะเวลาสูงสุดในการสั่งหยุดนั้นจะนานเท่าใด พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า แล้วแต่กรณี อาจจะหยุดตลอดไปจนยกเลิกก็ได้ เพราะถ้าหากเกิดเหตุวันนี้ อีกอาทิตย์ก็เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก ชาวบ้านก็ไม่ไหว เดือดร้อน ต้องคอยระแวงอีก ส่วนบริษัทที่เกิดเหตุซ้ำๆนั้นก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาคุยกันเอง กทม. มีหน้าที่เพียงแค่ระงับการก่อสร้างเท่านั้น ไม่ต้องมีการ

เมื่อถามว่า ในกรณีที่บางโครงการมีการประสานงานกระหว่าง กทม. ไม่ตรงกัน อย่างเรื่องการตัดถนน ตัดท่อระบายน้ำ หรือการถมที่ ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างไรบ้าง พล.ต.อ.อัศวินกล่าว่า ใน 118 ท่อระบายน้ำที่มีการตัดออกไป ที่ต่อคบไปแล้ว 9 ท่อ เหลืออีก 109 ท่อ ซึ่งเราให้ระบะเวลาเขาในการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ รวมถึงปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่พักคนงาน ที่รุกล้ำผิวตจราจร ก็ให้แก้ไขด้วย แต่ถ้ามีอุบัติเหตุอย่าง วัสดุหล่นใส่ประชาชนอีก ก็ต้องหยุดทันที

เมื่อถามว่าทาง รฟท. และ รฟม. ได้ชี้แจงถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า เรื่องนี้ได้มีการชี้แจงแล้ว ซึ่งพวกเขาจะต้องมีการตรวจสอบ และโดยวิศวกรที่เขาคุมงานก็รับปากแล้วว่าจะกำชับให้ มีการระมัดระวังมากกว่านี้ โดยสาเหตุหลักของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทประมาณ 70% อีก 30% เกิดจากอุกปรณ์ที่เก่าเสื่อมคุณภาพ

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อตกลงในการสร้างรถไฟฟ้ากับ รฟม. คือต้องจัดเตรียมรายการ เพื่อขอใช้พื้นที่ถนนสาธารณะ ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ดังนี้ 1. แบบรายละเอียด ประกอบด้วย 1.1 แบบแสดงตำแหน่งโครงสร้างสถานี 1.2 แบบแสดงแนวเส้นทางตลอดแนว 1.3 แบบแสดงตำแหน่งมาตรการต่างๆ 1.4 แบบแสดงงานระบบต่างๆซ้อนทับกับแบบโครงสร้างของ รฟม. และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2. แผนงาน ประกอบด้วย 2.1 แผนงานการจัดระบบจราจร 2.2 แผนงานการก่อสร้าง 2.3 แผนงานการก่อสร้างที่มีโครงการร่วมกัน 2.4 แผนงานการประสานสาธารณูปโภค และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

3.มาตรการ ประกอบไปด้วย 3.1 มาตรการความปลอดภัยจากการก่อสร้าง 3.2 มาตรการลดผลกระทบต่อประชาชน 3.3 มาตรการตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) 3.4 มาตรการด้านจราจร 3.5 มาตรการด้านการระบายน้ำ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

4. รายการทรัพย์สิน ประกอบด้วย 4.1 รายละเอียดทางเท้า 4.2 ป้ายจราจร 4.3 ต้นไม้ 4.4 ระบบระบายน้ำ 4.5 สถานีผู้โดยสาร 4.6 สะพานลอย 4.7 Street Furnitures และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ทาง กทม. จะพิจารณาส่งมอบพื้นที่ถนนสาธารณะให้ รฟม. ใช้ในการก่อสร้าง ใน 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1.ตรวจสอบเอกสารและตรวจสอบพื้นที่ร่วม ขั้นตอนที่ 2. ประชุมคณะกรรมการส่งมอบ- รับมอบ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งผู้แทน รฟม. เป็นกรรมการ ขั้นตอนที่ 3.ลงนามบันทึกการส่งมอบพื้นที่ พร้อมเงื่อนไขแนบท้าย จำนวน 36 ข้อ ซึ่งประธานกรรมการและกรรมการ ลงนามร่วมกับผู้แทน รฟม. และ ขั้นตอนสุดท้าย สรุปรายงานผลการดำเนินการ เสนอต่อผู้ว่าฯกทม. อนุมัติให้ความเห็นชอบ

logoline