svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ขั้นตอน วิธีการ ยื่นขอเงินสมทบส่วนเกิน คืนจาก สนง.ประกันสังคม

29 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข่าวดี ระเบียบว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนฯ มีผลใช้บังคับแล้ว นายจ้าง ผู้ประกันตน สามารถขอเงินคืนได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

           กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม เผย ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการ ขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ.2560 (อ่านข่าว) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับ 29 มิ.ย.60 แจง การคืนเงินสมทบให้นายจ้าง ผู้ประกันตน จะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น            นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ.2560 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับ 29 มิ.ย.60 
ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้นายจ้าง ผู้ประกันตน ที่นำส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนเป็นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคมได้ทุกแห่งที่สะดวกในการติดต่อ
โดยการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนต้องมีรายการสำคัญและหลักฐานประกอบยื่น ดังนี้           - กรณีนายจ้างเป็นผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินสมทบ ต้องระบุชื่อ ที่อยู่และเลขที่บัญชีทะเบียนนายจ้าง เหตุผลในการขอรับเงินคืนและหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) กรณีมีกิจการหลายสาขา ให้ระบุสาขาที่ขอรับเงินคืน 
ทั้งนี้ ให้ลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำร้องและวันที่ยื่นคำร้องกำกับในแบบคำร้อง      - กรณีผู้ประกันตน เป็นผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินสมทบ ผู้ประกันตนต้องระบุชื่อ ที่อยู่และ เลขประจำตัวประชาชน (กรณีคนต่างด้าว ให้ใช้เลขบัตรประกันสังคม) 
ทั้งนี้ให้ลงลายมือชื่อ ผู้ยื่นคำร้อง วันที่ยื่นคำร้องกำกับในแบบคำร้อง           สำหรับการขอรับเงินคืนของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมได้จัดทำหนังสือส่งถึงผู้ประกันตน และแจ้งให้ทราบจำนวนเงินสมทบที่ชำระไว้เกิน
โดยผู้ประกันตนที่ต้องการรับเงินส่วนเกินคืน สามารถกรอกข้อความ และลงนามในคำขอรับเงินคืน พร้อมแนบหลักฐาน รายละเอียดเงินสมทบส่วนที่เกิน 
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) 
และนำส่งทางไปรษณีย์ถึงสำนักงานประกันสังคม ภายในเวลาที่ระบุไว้ในคำขอรับเงินคืนตามที่อยู่ซึ่งแจ้งในหนังสือ และให้วงเล็บมุมซองว่า "ขอคืนเงินสมทบ" 
ทั้งนี้ในการคืนเงินสมทบให้แก่นายจ้างหรือผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมจะคืนเงินโดยวิธีผ่านธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ที่สำคัญในการขอรับเงินสมทบส่วนที่เกินคืนจากสำนักงานประกันสังคม 
โดยต้องยื่นขอรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ นำส่งเงินสมทบ            เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ. 2560 ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา และ มีผลใช้บังคับ 29 มิ.ย.60 ในครั้งนี้ 
เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และสอดคล้องกับนโยบาย กระทรวงแรงงาน ในการเพิ่มศักยภาพด้านการให้บริการที่เป็นเลิศ และงานบริการภาครัฐ ในรูปแบบใหม่ๆ 
โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการแก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และประชาชนทั่วไป 
ซึ่งจะทำให้การคืนเงินสมทบเป็นไปด้วยความรวดเร็วคล่องตัว อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น ให้ได้รับการบริการอย่างที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
หาก นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 ในวันและเวลาราชการ

logoline