svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วอนซ่อมสะพานไม้เก่าแก่ สมัย ร.5

20 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุตรดิตถ์ _ วอนซ่อมหนึ่งเดียว สะพานไม้เก่าแก่ สมัย ร.5 คู่สะพานรถไฟใหญ่ที่สุดสายเหนือพุพัง ชาวบ้านเสี่ยงตายเดินข้าม เคยเกิดพลัดตกบาดเจ็บ

วันที่ 20 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายว่า กลุ่มผู้นำชุมชน นำโดยนางบังเอิญ ดีบุญ กำนันตำบลบ้านดารา นางสาทิตรา เที่ยงตรง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.บ้านดารา อ.พิชัย พร้อมชาวบ้าน ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพสะพานไม้เก่าแก่ที่อยู่คู่สะพานปรมินทร์ สะพานรถไฟใหญ่ที่สุดของทางรถไฟสายเหนือสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่ง เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำน่าน ก่อนถึงสถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา อ.พิชัย ตั้งอยู่หมู่ 4 ต.บ้านดารา และเป็นเพียงสะพานคู่หนึ่งเดียวของภาคเหนือ แต่ขณะนี้สะพานไม้ดังกล่าวเริ่มพุพังตามกาลเวลา อยากวิงวอนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เข้ามาปรับปรุงซ่อมแซม ทั้งนี้ ยังคงมีประชาชนใช้สัญจรไปมา และเคยประสบเหตุพลัดตกได้รับบาดเจ็บมาแล้ว
นางสาทิตรา กล่าวว่า สะพานไม้เก่าแก่ดังกล่าวมีประวัติศาสตร์คู่กับสะพานปรมินทร์ เป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่อให้รถไฟสายเหนือวิ่งผ่านข้ามแม่น้ำน่าน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหลังเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2496 หรือ 64 ปีที่ผ่านมา เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำน่านที่ใหญ่ที่สุดภาคเหนือ ขณะเดียวกันผู้ก่อสร้างยุคนั้น ยังได้สร้างสะพานไม้ข้ามแม่น้ำน่าน คู่สะพานรถไฟดังกล่าว มีความกว้างประมาณ 1.50 เมตร ยาว 240 เมตร เพื่อให้ประชาชนในชุมชนใช้สัญจรไปมา รถจักรยาน และรถจักรายนต์ก็วิ่งผ่านได้
โดยเชื่อมต่อระหว่างหมู่ 4 ไปยัง หมู่ 2,3,6,7,8 ตำบลบ้านดารา ด้วยกาลเวลาสะพานพื้นเป็นไม้ เริ่มพุพัง ชำรุด ทรุดโทรม เกิดเป็นช่องโหว่จำนวนมาก แต่ความจำเป็นที่ชาวบ้านยังต้องใช้สัญจร จึงทำได้เพียงนำแผ่นไม้มาซ่อมแซมกันเอง แต่ก็ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นใจในโครงการ หากต้องเลี่ยงใช้เส้นทางอื่นระยะทางไกลกว่า 4 กิโลเมตร แม้หน่วยงานทางการรถไฟแห่งประเทศ จะนำป้ายข้อความมาติดเตือน "โปรดระวังสะพานชำรุด" ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยส่วนใหญ่ยังเลือกสัญจร"
นางสาทิตรา กล่าวว่า ทุกวันนี้ชาวบ้านสัญจรด้วยความระมัดระวัง แต่ก็เคยเกิดพลาดตกได้รับบาดเจ็บอยากวิงวอนให้หน่วยงานรับผิดชอบ เข้ามาซ่อมแซมสะพานไม้เก่าแก่ดังกล่าวให้อยู่คู่สะพานปรมินทร์ เพราะเป็นสะพานคู่หนึ่งเดียวภาคเหนือ ที่เตรียมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสะพานแห่งประวัติศาสตร์อีกแห่งของไทย

logoline