svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แกะรอย เปิดหนังสือแฉ'โม่ง'สั่งเลิกคลองด่าน

18 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สายวันที่ 18 มิถุนายน 2569 ผมได้มีโอกาสเห็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งย้อนเวลากลับหลังไปเมื่อ 14 ปี 6 เดือน ในวันนั้นคือ 28 กุมภาพันธ์ 2546

ที่มาเอกสารมาจาก อดีตคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฏรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง "เกาศัลย์ แก้วยิ่งยงค์" ในฐานะกลุ่มศึกษาการไต่สวนคดีการเมือง เปิดตัวหนังสือ "โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย(คลองด่าน)ใครสั่งเลิก รัฐต้องจ่ายค่าโง่9พันล้าน" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน

สิ่งนี้เรียกว่าเป็น "ข้อมูลใหม่-เอกสารลับ" จริงๆ เพราะไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยงานไหนเคยเห็นมาก่อน ไม่เช่นนั้น จะต้องมีผู้หยิบยกขึ้นมาเป็นหลักฐานการต่อสู้คดีในชั้นศาล เป็นแน่แท้

หลักฐานที่ว่า ก็คือ "รายงานผลการสอบสวน คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางละเมิดของเจ้าหน้าที่" ลงวันที่ 19 เมษายน 2559 เนื้อหาเอกสารชี้ให้เห็นวา หลังสรุปความเห็นเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสียคลองดานต่อ "ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะนั้น เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546  อีก 3 วันต่อมา ปรากฏกลุ่มบุคคล ที่ขอเรียกว่ากลุ่ม 3+1 ประกอบด้วย 1.สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี อดีตประธานกรรมการตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญา โครงการระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่าน 2.ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ ในขณะนั้น ในฐานะกรรมการ 3.เสมอ ลิ้มชูวงศ์ กรรมการ  ได้นัดหารือกัน มี อภิชัย ชวเจริญพันธ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) อยู่ด้วย ทั้ง 4 คน ช่วยกันร่างหนังสือบอกเลิกสัญญาโครงการคลองด่าน โดยมอบหมายให้ อภิชัย เป็นผู้ลงนามวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 แล้วแจ้งไปยังกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 โดยทั้งหมด ประพัฒน์ เป็นผู้สั่งการ (คำให้การประพัฒน์ฯ ภาคผนวก2 หน้า 118) 

เกาศัลย์ บอกกับผมว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นเอกสารทางราชการ มีคนทยอยส่งให้หลายครั้ง เมื่อนำมาร้อยเรียงถึงกับอึ้ง เพราะมันขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกานักการเมือง ขัดกับ10คดีตัวอย่างทุจริต ในพิพิธภัณฑ์ปราบโกง แต่เพื่อให้สังคมได้รับรู้ข้อเท็จจริง และชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่สุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง จนต้องนำภาษีประชาชนมาเสียค่าโง่จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้สังคมไทย ปราศจากการคอรร์รัปชั่น จึงรวบรวมหลักฐานต่างๆ เป็นหนังสือ 

 เกาศัลย์ บอกต่อว่า เพิ่งพบข้อเท็จจริงในเอกสารว่า คดีคลองด่าน มีการอ้างประกาศผู้ว่าฯ ปี 2472 ให้เป็นที่เทขยะ เขตหวงห้าม เพื่อใช้เป็นมูลเหตุในการดำเนินคดี ทั้งที่กรมที่ดิน ยืนยันมาตลอด 6 ปี ระหว่างการสอบสวนว่า ประกาศผู้ว่าฯ ปี 2472 สิ้นสภาพไปแล้ว (ตามรายละเอียดหน้า 88-89 และภาคผนวก 3 หน้า 80-86) แต่คณะกรรมการสอบสวนยุคนั้นยังเห็นว่า ประกาศผู้ว่าฯ ปี 2472 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ขณะออกโฉนดที่ดิน กระทั่งเมื่อปี 2553 คณะกรรมการกฤษฎีกา มีมติชี้ขาดเป็นข้อยุติ ว่า ประกาศของผู้ว่าฯ 2472 ยกเลิกแล้ว ไม่มีสถานะทางกฎหมายให้เป็นที่หวงห้ามในขณะออกโฉนด (รายละเอียด หน้า 91-93 และภาคผนวก 8 หน้า 333-340) 

"เอกสารเหล่านี้ก็เพิ่งค้นพบ" เกาศัลย์ กล่าวและว่า รายงานผลการสอบสวนคดีทุจริตคลองด่าน ของคณะกรรมการชุด พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อธิบดี ดีเอสไอ ขณะนั้น  ซึ่งได้นำไปใช้ในสำนวนคดีเป็นส่วนใหญ่ มีปมขัดแย้งแตกต่างจากผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดกรมที่ดิน หลายประเด็น เช่น ออกโฉนดที่ดินทับคลอง ที่สาธารณะ และถนนหลวงพ่อปาน และข้อเท็จจริงของกรมที่ดิน ฝ่ายรัฐนำมาประกอบสำนวนคดีน้อยมากหรือเกือบไม่นำพิจารณาหากเทียบกับผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดของ พล.ต.ท.นพดล และสำคัญที่สุดไม่เคยเปิดเผยให้ สาธารณชนรับรู้มาก่อน (รายละเอียดเปรียบ เทียบหน้า 70- 97 และรายงานผลการสอบสวนของกรมที่ดิน ภาคผนวก 3 และภาคผนวก 4 และภาคผนวก 6)

อย่างที่บอก เอกสารในหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลใหม่ที่ปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้มานานกว่า 10 ปี และกรณีนี้จะเป็นกรณีตัวอย่างที่ย้อนแย้งคดีในศาล และหักล้างคดีตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ปราบโกง

logoline