svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

การพลิกผันอุตสาหกรรมอสังหาฯในยุคดิจิทัล

04 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Internet of Things กำลังเปลี่ยนแปลงโลก ทั้งสถาปัตยกรรม, การออกแบบ และโครงสร้างต่างๆ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนไป เพราะสถาปนิกรุ่นใหม่มักจะมีแนวทางของตัวเอง

เช่น เริ่มทำโครงการ "Crowdsourcing" ที่เป็นการร่วมกันสร้างสรรค์ของกลุ่มคน (Crowd) เพื่อร่วมกันทำ หรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกัน และใช้ "Kickstarter" ซึ่งเป็นวิธีในการจัดหาผู้ลงทุนให้กับโครงการและหาความร่วมมือสำหรับผู้ทำงานร่วมกันในโครงการ
โครงการต่างๆ เช่น WikiHouse และแพลตฟอร์มดิจิทัล Resilient Modular Systems 2.0 ที่ทำให้ผู้คนสามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ผลิต เพื่อสั่งซื้อบ้านของตนเองได้ ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ได้เกิดการพลิกผันในอุตสาหกรรมนี้แล้ว
การออกแบบไม่ได้ถูกเก็บอยู่ในตู้ชั้นวางหนังสืออีกต่อไป โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ "อสังหาริมทรัพย์เสมือนจริง" ซึ่งก็คือการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางดิจิทัล (ซึ่งใครที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางดิจิทัล ก็ยังไม่สามารถตอบได้แน่ชัด)
หากคุณเป็นคนออกแบบสินค้าดิจิทัล และปล่อยให้มีการทำซ้ำและใช้อย่างแพร่หลาย คุณจะสูญเสียสิทธิการเป็นเจ้าของหรือไม่?? จึงเป็นประเด็นสำคัญในการปกป้องความเป็นเจ้าของในยุคดิจิทัล
ในช่วงปี 1990 มีคำถามที่เกิดขึ้นกับ Napster บริษัทอินเทอร์เน็ตที่อนุญาตให้ผู้อื่นแชร์เพลงในรูปแบบไฟล์ MP3 กับเพื่อนๆ ของพวกเขา ทำให้อุตสาหกรรมต่างตื่นตระหนกว่า แล้วจะยังมีคนที่จ่ายเงินซื้อเพลงในรูปแบบแผ่นซีดีอีกหรือไม่
ซึ่งคำตอบของคำถามดังกล่าว เราก็ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งคำตอบนี้ ได้ถูกตอกย้ำจาก iTunes และผู้ให้บริการเพลงสตรีมมิ่งรายอื่นๆ แล้วในวันนี้
แต่รายละเอียดของวิธีการที่อินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้มาเปลี่ยนว่า ใครจะเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะ หรือใครจะได้รับผลตอบแทนจากการคิดงานนั้น ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งเรื่องความเป็นเจ้าของดังกล่าวยังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ และเป็นที่สนใจมากกว่า ว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้คิดค้น
นวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงมุมมองแบบดั้งเดิม และทั่วทั้งโลกกำลังสร้างอนาคตที่ยั่งยืนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในการเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น การออกแบบอาคารอัจฉริยะทำให้สามารถปรับแสง ความร้อน และเครื่องปรับอากาศได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อประหยัดพลังงาน เป็นต้น
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน ได้เน้นให้ความคุ้มครองกับผู้สร้างสรรค์ และจะต้องจ่ายเงินให้ผู้สร้างสรรค์ หากจะนำไปใช้หรือดัดแปลง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าสมัยแล้ว
ซึ่งกฎหมายปัจจุบันสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุน หรือมีบริษัทรองรับ เช่น Google และบริษัทอื่นๆ ที่มีเงินทุนในการจดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า สำหรับคุ้มครองความคิดของพวกเขา
จะเกิดอะไรขึ้น หากผลิตภัณฑ์บางอย่างของสถาปนิกในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้ถูกแปลงเป็นรหัสและผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งสิ่งที่ทำในโลกดิจิทัลเหล่านี้ (digital footprint) จะกระทบต่อผู้สร้างสรรค์หรือไม่
ซึ่งองค์กรต่างๆ รวมถึงหอสมุดรัฐสภาของสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับปัญหาที่ยุ่งยากนี้ ในเรื่องการแชร์ทรัพย์สินทางดิจิทัล ในขณะที่ยังคงพยายามคุ้มครองมูลค่างานเขียนและสิทธิของเจ้าของไว้
ระบบอาคารอัจฉริยะ ก็กลายเป็นหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในการวิจัย โดยนักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยที่สามารถเรียนรู้ได้ว่าผู้อยู่อาศัยมีพฤติกรรมอย่างไร และปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้อาศัยโดยอัตโนมัติได้ โดยไม่ต้องมีการแทรกแซงของผู้จัดการอาคาร
แต่แนวคิดนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รวบรวมได้จากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ทั่วอาคาร แต่ประเด็นคือ ข้อมูลเหล่านี้เป็นของใคร? ซึ่งเป็นประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสถาปนิกออกแบบบ้าน และก็สิ้นสุดเพียงแค่แปลนการออกแบบออนไลน์? ซึ่งเป็นเรื่องง่ายและธรรมดาสำหรับคนที่ดาวน์โหลดไฟล์และซื้อแปลน และเช่นกันก็เป็นเรื่องทั่วไปสำหรับผู้รับเหมาในการคัดลอกการออกแบบบ้านที่สร้างและออกแบบโดยคนอื่น
ซึ่งผู้ออกแบบไม่ได้รับผลประโยชน์แต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นว่าผู้คัดลอกสามารถนำเอาเทคโนโลยี 3D printing มาผลิต model ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดาย
"สถาปนิก" แบบดั้งเดิมกลายเป็นผู้อำนวยการสร้างสรรค์ ที่ความรับผิดชอบของสถาปนิกกลายเป็นผู้นำในหลายๆ เรื่อง ไม่เพียงแต่สำหรับการออกแบบโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างนั้นด้วย ที่เกิดจากความร้อนและเครื่องปรับอากาศ เพื่อเข้ารหัสเทคโนโลยีสำหรับอาคารและเก็บข้อมูลดิจิทัลภายในอาคาร เพื่อการใช้งานอาคาร, พลังงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
บทบาทของสถาปนิก ยังคงเป็นเรื่องการออกแบบที่ผสานรวมกัน สถาปนิกมักจะเป็นพนักงานขายไปในตัว
แต่นับจากพลังของดิจิทัลเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ พวกเขาจึงจำเป็นต้องเป็นทั้งนักธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการด้วยในเวลาเดียวกัน เพื่อปกป้องคุณค่าและทรัพย์สินจากการสร้างสรรค์ของพวกเขา ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างผลิกผันในยุคดิจิทัล

Referencehttps://www.forbes.com/sites/uhenergy/2016/06/30/intellectual-property-in-the-age-of-open-sourcing-who-owns-it-and-how-do-they-get-paid/?c=0&s=trending

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณรองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมwww.เศรษฐพงค์.comLINE id : @march4G

logoline