svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอทำงานหนักเสี่ยงติดเชื้อ เพราะบัตรทอง... จริงหรือ ?

23 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับกรณีคุณหมอเสียชีวิตเพราะติดเชื้อจากคนไข้ ย้อนไปในอดีตเคยก็เคยมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเทคโนโลยีทางการแพทย์ดีขึ้น ระบบการคัดกรองคนไข้ การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้นเรื่องก้ซาลง จนกระทั่งล่าสุดที่ข่าวร้ายๆ ก็กลับมาอีก คราวนี้สาเหตุเกิดจากคุณหมอทำงานหนักมากเกินไป

"คุณหมอทำงานหนักมากขึ้นส่วนหนึ่ง เพราะบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค" นี่เป็นความเห็นที่สะเทือนถึงคนรากหญ้า
คนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ คือกรรมการแพทยสภา และอาจารย์สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ทั้ง 2 คนก็เน้นย้ำว่า ไม่ได้คิดล้มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ต้องบริหารจัดการใหม่ ไม่ให้เอา NGO มานั่งเป็น บอร์ด สปสช. บริหารงบประมาณ 
กรรมการแพทยสภา พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา บอกว่า ปัจจุบันตัวเลขกลมๆ มีแพทย์สังกัดโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 12,000 คน จำนวนนี้หักจำนวนแพทย์ที่ไปทำงานบริหาร ก็เหลืออยู่ 8,000 9,000 คน ขณะที่มีคนไข้เข้ารับการรักษา 200 ล้านครั้ง ต่อปี 
แม้จะเพิ่มหมอจากจำนวนที่มีอยู่ ถึง 2 เท่าก็ยังไม่พอ ทางออกคือต้องบรรจุหมอเพิ่ม แต่ก็ติดที่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่เพิ่มจำนวนข้าราชการ และติดที่ไม่เพิ่มงบประมาณ เพราะงบทั้งหมดถูกส่งไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ทำหน้าที่บริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ซึ่งออกกฎเกณฑ์และแนวทางค่ารักษาต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินคืนเพียงร้อยละ 50 - 70 ของค่าใช้จ่ายจริง ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน 
ส่วนหมอที่บรรจุแล้ว ก็มีแนวโน้มลาออกไปโรงพยาบาลเอกชนที่เงินดีกว่า และภาระงานน้อยกว่า 
เช่นเดียวกับ  ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อโรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา บอกว่า "บัตรทอง" ทำให้จำนวนผู้ป่วยนอกมีจำนวนมากขึ้น และมากระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาลศุนย์ ไม่ว่าจะเป็นโรคที่ "ไม่ร้ายแรงมาก" หรือ "ร้ายแรงมาก" ก็มารักษารวมกันอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ ขณะที่โรงพยาบาลชุมชนขาดแคลนหมอประจำ 
นโยบายหมอครอบครัว ที่จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้คนไข้ป่วยหนักไปล้นโรงพยาบาล ซึ่งหากเริ่มตั้งแต่เมื่อ 14 - 15 ปีก่อน ปัจจุบันปัญหาก็จะไม่เกิด ส่วนการจะแก้ปัญหาคนไข้ล้น รพ. ได้เมื่อไร ตรงนี้คงใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี เพราะกว่าจะผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวออกมาได้ เช่น ผลิต 20,000 คน ต้องใช้เวลาเท่าไร 
"เพราะนโยบายประชานิยมของนักการเมือง ที่สุดท้ายอาจมาผิดทิศทาง" ธีระวัฒน์ระบุ
ข้อมูลของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ พบว่า ชั่วโมงการทำงานของแพทย์จบใหม่ที่ทำงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 92 ทำงานมากกว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่แพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะอยู่เวรมากกว่ากลุ่มที่อยู่ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยพบว่า แผนกอายุรกรรมมีภาระงานที่สูงที่สุดเนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากและเป็นโรคที่ซับซ้อน

logoline