svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วิกฤติหนัก! อีก 10 ปี "มหาวิทยาลัยไทย" 3 ใน 4 ไปไม่รอดแน่!!

19 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักสถิติชื่อดังจาก"นิด้า" หรือ (Nida Poll) เชื่ออีก 10 ปี "มหาวิทยาลัยไทย" จำนวน 3 ใน 4 จะไปไม่รอดแน่! หาก"มหาวิทยาลัยต่างชาตื" เปิดในไทย


กลายเป็นประเด็นร้อนในวงการระบบการศึกษาไทยทันที เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีมติเห็นชอบในหลักการของคำสั่งคสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557ให้ต่างชาติเปิดมหาวิทยาลัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษเน้นผลิตเฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลนนั้น....
เกี่ยวเรื่องนี้ "ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์"หัวหน้าฝ่ายสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence อาจารย์ประจำสาขาวิชา Actuarial Sciences and Risk Management Director-Ph.D. Program in Applied Statistics คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ได้เปิดเผยข้อมูลกับทาง"เว็บไซด์คมชัดลึก"ว่า วงการอุดมศึกษาไทยหวาดกลัวแน่นอน ในไม่ช้าเพราะมหาวิทยาลัยต่างชาติต้องลงบี้มหาวิทยาลัยลัยไทยจนไม่มีที่จะยืน ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ฟันธงได้ว่ามหาวิทยาลัยไทยจำนวน 3 ใน 4 จะไปไม่รอดแน่ อาจจะต้องปิดตัวลงในไม่ช้า
"เพราะตลาดอุดมศึกษาไทยปัจจุบันมีขนาดเล็กมาก อีกทั้งไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จำนวนเด็กเกิดในแต่ละปีน้อยลง จากเมื่อ 30 ปีเด็กเกิดเกิน 1,000,000 คน แต่ปัจจุบันเด็กเกิดปีละประมาณ 600,000-700,000 คน"ดร.อานนท์ กล่าวไว้
ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า แต่ละปีมหาวิทยาลัยไทย มีที่ว่างรับนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีปีละ 150,000 คน แต่มีเด็กเข้าเรียนเพียง 80,000 คน การแข่งขับเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไทยต่ำมาก หากมหาวิทยาลัยต่างชาติเข้ามาจะแข่งขันกับประเทศสิงคโปร์ที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียนได้หรือไม่ และจะมาแย่งเด็กกับมหาวิทยาลัยไทยหรือไม่ คำถามคือไทยจะได้อะไร อนาคตอีก 10 ปี ปฏิเสธไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัยเอกชน และ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏจะสามารถอยู่ได้หรือไม่ หากไม่ปรับตัวในช่วงวิกฤติครั้งนี้ก็อาจจะไม่มีเด็กมาเรียนจนถึงขั้นต้องยุบสถาบันหรือปิดตัวเอง
ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่าเห็นด้วยที่คสช.จะทำอย่างนี้ แต่เน้นเฉพาะบางสาขา เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หวังที่จะกดดันและกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยในไทยต้องปรับตัว เมื่อมีคู่แข่งตัวจริงนำมาเปรียบเทียบ เชื่อว่ามหาวิทยาลัยไทยจะรีบปรับตัว เพื่อก้าวเป็นฮับทางด้านการศึกษา เหมือนอย่าง ประเทศ นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ เพราะมหาวิทยาลัยยังเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชชีวิตคนให้มีความเป็นมืออาชีพและต่อยอดความสำเร็จแต่เนื่องจากปัญหาคาดการณ์ที่ ดร. อานนท์ ได้บอกไว้ถือว่าเป็นสัญญาณของปัญหาของการศึกษาไทยในอนาคตเนื่องจากระบบการเรียนการสอนที่ล้าสมัยและระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่วุ่นวายเป็นปมเหตุทำให้เด็กนักเรียนและนิสิตนักศึกษาถึงต้องคิดหนักแน่นอนและเป็นสัญญาณว่าระบบอุดมศึกษาไทยกำลังจะกลายเป็นประเด่นร้อนทางด้านการศึกษาไทยในที่สุด

logoline