svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อึ้ง!! ผลคะแนน O-NET ‘เด็กรวย’ ได้แต้มสูง ‘เด็กจน’ ได้คะแนนต่ำ สะท้อนอะไร ?

31 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ผลคะแนนโอเน็ตสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมได้อย่างชัดเจน คนรวยทำคะแนนได้สูง คนจนทำคะแนนได้ต่ำ จังหวัดที่มีคะแนนโอเน็ตสูงจะเป็นจังหวัดใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต เป็นต้น ส่วนจังหวัดที่คะแนนโอเน็ตรั้งท้าย จะเป็นจังหวัดเล็กๆ เช่น กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"


เลขาธิการสภาการศึกษา กมล รอดคล้าย บอกกับนักข่าวกระทรวงศึกษาธิการ วานนี้ แต่น่าตั้งคำถามต่อไปว่านี่เป็นเรื่องปกติ ให้มองเชิงสัจธรรมว่า ก็แน่นนอนอยู่แล้ว คนรวยก็ต้องมีโอกาสกว่าคนจน มีเวลาเรียนพิเศษ อ่านหนังสือมากกว่าเด็กจนๆ ที่บางคนต้องออกไปรับจ้างหลังเลิกเรียน
แต่ถ้ามองในมุมของรัฐ เห็นข้อมูลแบบนี้แล้วจะต้องทำอย่างไร ? เลขาธิการสภาการศึกษาไม่ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้เพิ่มเติม
แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นปัญหาระดับสิทธิเด็กเลยครับ เด็กทุกคนมีสิทธิที่ต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม จริงๆ จะว่าไปผลสอบเด็กจนเด็กรวย จะแก้ปัญหาให้เกิดความเท่าเทียม (เป็นไปได้ยาก) จริงๆ ก็โยงไปเรื่องระบบการศึกษา ทั้งระบบ ตั้งแต่การเรียนพิเศษ ทำไมต้องเรียนพิเศษ การรับครูเข้ามาทุกวันนี้โรงเรียนไกลๆ ยังขาดครู หรือครูไม่มีเวลาสอน รวมไปถึงเรื่องหลักสูตรการสอนด้วย ว่าทุกวันนี้เด็กเรียนอะไรหนักหนา ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการเอาชีวิตรอด
อย่างไรก็ตาม คุณกมลบอกว่า จากการวิเคราะห์สรุปได้ 4 ประเด็น
1.ภาพรวมของคะแนนโอเน็ตเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำมากกว่าปัญหาเชิงคุณภาพ ถ้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ น่าจะแก้ปัญหาผลคะแนนโอเน็ตสูงขึ้น
2.คะแนนคล้ายกันในทุกวิชาของทุกจังหวัด คือจังหวัดไหนคะแนนโอเน็ตต่ำจะต่ำทุกวิชา จังหวัดไหนคะแนนโอเน็ตสูงจะสูงทุกวิชา ไม่มีคะแนนสูงโดดวิชาใดวิชาหนึ่ง
3.เป็นคะแนนแบบเกาะกลุ่ม แต่เกาะกลุ่มคะแนนตามฐานะทางเศรษฐกิจ คือ จังหวัดเดียวกันจะแบ่งคนรวยคะแนนสูง และคนจนคะแนนต่ำ
และ 4.ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังได้คะแนนต่ำเหมือนเดิม แต่คะแนนเพิ่มขึ้นทุกปีในทุกวิชา ถือว่าการแก้ปัญหาภาคใต้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย
แต่ที่แน่นอน นอกห้องเรียนเด็กจนๆ อาจมีทักษะชีวิตมากกว่าเด็กรวยก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรแล้วรัฐมีหน้าที่ต้องดูแลคุณภาพชีวิตของทุกคนในดีขึ้น !!

logoline