svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

13 บริษัทชั้นนำ ยกเลิก"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"

28 กุมภาพันธ์ 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

28 ก.พ. เวบของ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 6/2560 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยระบุว่า..

โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กำหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ ดังต่อไปนี้
1.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นวนคร2.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จํากัด3.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไบโอกรุ๊ป4.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัทบี.กริม5.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานซิงเกอร์6.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จํากัด7.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทเครือโจตันในประเทศไทย8.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยุธยาพันธบัตร ๒9.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนชาติสินไพบูลย10.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ทีทีแอนด์ที จํากัด (มหาชน)11.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานองค์การสุรา กรมสรรพสามิต12.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เจ เอส วิชั่น จํากัด13.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส
ซึ่งประกาศนี้ ลงนามโดย นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดย ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนร่วมจัดตั้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินแก่ของพนักงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งยังฝึกการออมของลูกจ้างโดยมีนายจ้างช่วยออม ก่อนจะนำเงินไปบริหารโดยผู้บริหารมืออาชีพให้เกิดดอกผลงอกเงย
อนึ่ง..สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีคำอธิบายข้อมูลใน บล็อคโอเคเนชั่น เรื่อง ข้อดีของการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งโพสต์โดย Posted by K-Expert ความหมายและข้อดีของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยระบุว่า..
"..มีสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวมนุษย์เงินเดือนอย่างเราแต่เรามักจะมองข้ามหรือลืมกันไป นั่นก็คือ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" นั่นเองครับ ดังนั้นวันนี้ผมเลยหยิบยกสาระและประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาบอกเล่าครับ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีด้วยนะครับ เผื่อไว้ว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในช่วงระยะยื่นภาษีปี 2555 ครับ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการออมเงินระยะยาวรูปแบบหนึ่งที่ลูกจ้างกับนายจ้างทำร่วมกัน โดยที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างตัดเงินเดือนส่วนหนึ่งไปเป็น "เงินสะสม" เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนายจ้างก็จ่าย "เงินสมทบ" เข้ากองทุนของลูกจ้าง เรียกได้ว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมได้สูงสุด 15% ของเงินเดือน โดยที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบให้ไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของลูกจ้าง จะจ่ายให้สูงกว่าก็ได้แต่ห้ามต่ำกว่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว บริษัทก็จะจ่ายให้เท่าๆ กับอัตราเงินสะสมของลูกจ้างนั่นแหละครับ นั่นคือ หากเราจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเดือนละ 5% นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนของเราไม่ต่ำกว่า 5% ครับ
เงินสะสมตรงนี้เราไม่สามารถเบิกถอนมาใช้จ่ายได้นะครับ เนื่องจากกองทุนนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อให้ออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ดังนั้นเราจะได้เงินก้อนนี้มาก็ต่อเมื่อ 1) อายุครบ 55 ปี หรือ 2) กลายเป็นผู้พิการ หรือ 3) เสียชีวิต กรณีใดกรณีหนึ่งเท่านั้นครับ และเมื่อได้เงินก้อนนี้มาตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ข้อนี้ เงินก้อนนี้ก็จะได้รับการละเว้นทางภาษีคือ เราไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีนั่นเองครับ
ส่วนในกรณีที่ออกจากงานก่อนเกษียณอายุ (Early Retirement) หรือย้ายที่ทำงาน เราไม่จำเป็นต้องลาออกจากกองทุนนะครับ เพราะว่าเราสามารถโอนย้ายเงินในกองทุนเดิมไปยังกองทันใหม่ได้ครับ หรือหากยังไม่ได้งาน ก็สามารถฝากเงินของเราให้กองทุนเดิมดูแลต่อให้ได้ครับ โดยที่ระยะเวลาในการรับฝากตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนครับ เมื่อเราได้งานใหม่และบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราก็ค่อยโอนย้ายเงินของเรามาลงในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ ทั้งนี้ ตราบใดที่เรายังไม่ลาออกจากกองทุน เราก็ไม่จำเป็นต้องนำเงินก้อนนี้ไปรวมคำนวณภาษีครับในกรณีที่ลาออกจากบริษัท เราก็จะได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครับ โดยที่เป็นเงินสะสมที่เราจ่ายเข้ากองทุนคืนเต็มจำนวน ส่วนเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขของนายจ้างที่ตกลงเอาไว้กับเราตั้งแต่แรกครับ เช่น
อายุงานน้อยกว่า 1 ปี จะได้รับเงินสมทบ 10%อายุงานน้อยกว่า 1-5 ปี จะได้รับเงินสมทบ 10-50% ตามจำนวนปีที่ทำงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบเต็มจำนวน
ทั้งนี้หากบริษัทมีอัตราเงินสะสมให้เลือกจ่าย เช่น ให้เราเลือกว่าจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนฯ 5% หรือ 10% ขอแนะนำว่าเลือก 10% จะดีกว่า 5% ครับ เพราะว่าหากเราจ่าย 10% นายจ้างก็ต้องจ่ายสมทบให้เรา 10% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะดีกับตัวเราเองสองถึงด้านครับ คือ 1) เป็นการสร้างวินัยการออมรายเดือนให้ตัวเอง ซึ่ง 10% หรือ 15% ถ้านับจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นอัตราการออมที่สูงจนเป็นภาระหรอกครับ และ 2) ได้เงินสมทบในอัตราที่สูงขึ้น เช่น เราเลือกจ่ายสะสมที่ 10% เราก็จะได้จากบริษัทอีก 10% ฟรีๆ กลายเป็น 20% ครับ เรียกได้ว่าออมเงินเท่าไร รับไปเป็นเท่าตัวครับ
ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ เราสามารถนำยอดเงินที่เราจ่ายสะสมเข้ากองทุนฯ ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินเดือนทั้งปีรวมกัน หรือไม่เกิน 500,000 บาทครับ"




logoline