svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดประวัติ 3 "องคมนตรี" ใหม่

06 ธันวาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดประวัติ 3 "องคมนตรี" ใหม่ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2559

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 อายุ 61 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เคยผ่านตำแหน่งสำคัญทางทหารมามากมาย ทั้ง อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ,แม่ทัพภาคที่ 1, อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และอดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา หรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า "บิ๊กต๊อก" เป็นคน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายลออ คุ้มฉายา กับนางจันทร์ คุ้มฉายา ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน พ่อเป็นครูประชาบาล และทำไร่นา ต่อมาสมรสกับนางพจนี คุ้มฉายา โดยมีบุตรสาว 1 คน คือ นางอิงฆ์พลัฏฐ์ อำไพวิทย์ ปัจจุบันได้สมรสกับนายพีรพล อำไพวิทย์ในวันที่22 ตุลาคมพ.ศ. 2558 เขา ได้รับแต่งตั้งเป็น "ราชองครักษ์พิเศษ"พลเอกไพบูลย์ จบการศึกษา ระดับมัธยมจากโรงเรียนอู่ทองซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และจบจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 15 (ตท.15) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเอกปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม
พล.อ. ไพบูลย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและเป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อีกหน้าที่หนึ่ง
ผลงานในขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม-ปรับโฉมหน้ายุทธศาสตร์แก้ปัญหายาเสพติดชาติ ตามเทรนโลกซึ่งตรงกับโครงการพระราชดำริของ "องค์ภา" เน้นการบำบัดรักษาผู้เสพ. เพื่อให้ผู้เสพเป็นผู้ป่วยอย่างแท้จริงขณะที่นักค้ารายใหญ่ต้องถูกกวาดล้างปราบปราม. โดยตัดทำบัญชีนักค้ารายใหญ่ระดับชาติ 5 กลุ่มใหญ่ 60 เครือข่าย ดึงความร่วมมือจากนานาชาติร่วมปราบปรามในปฏิบัติการเซฟแม่โขง ปิดล้อมสามเหลี่ยมทองคำสกัดสารตั้งต้นไม่ให้ลำเลียงเข้าสู่แหล่งผลิตและปิดกั้นไม่ให้ยาเสพติดที่ผลิตถูกขนส่งออกไปยังประเทศที่สาม โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากจีน. และดึงเงินสนับสนุนจากออสเตรเลียและยูเอ็นโอดีซีเข้าไปสนับสนุนยุทโธปกรณ์และพัฒนาการปลูกพืชทางเลือกตามศาสตร์พระราชาในประเทศพม่า

เปิดประวัติ 3 "องคมนตรี" ใหม่


- คดี 112 พล.อ.ไพบูลย์มีบทบาทสำคัญในการตามล่าผู้ต้องหาตามหมายจับในคดี 112 ซึ่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนหลบหนีไปยังประเทศแต่ยังมีความเคลื่อนไหวโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างต่อเนื่อง โดยพล.อ.ไพบูลย์สั่งการให้ดีเอสไอทำหนังสือชี้แจงทำความเข้าใจไปยังสถานทูตต่างๆหลายครั้ง จนกระทั่งได้รับการตอบรับจากสถานทูตของหลายประเทศ
- ปัญหาเด็กแวนท์-ผับบาร์เปิดเกินเวลาให้เยาวชนอายุต่ำกว่า. 20 ปีเข้าไปใช้บริการ ซึ่งพล.อ.ไพบูลย์ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้เป็นประธานการแก้ปัญหา หากมีการจู่โจมตรวจค้นพบว่าสถานบริการใดให้เยาวชนเข้าไปใช้บริการหรือเปิดบริการเกินเวลาจะถูกสั่งปิดถาวร เจ้าหน้าที่จะถูกย้ายออกจากพื้นที่ ส่วนปัญหาเด็กแว้นท์ได้ผระสานความร่วมมือระหว่างตำรวจกับกระทรวงดิจิตอลฯให้ติดตามเฟชบุ๊คและโซเซียลมีเดียของเยาวชนกลั่มเสี่ยงเพื่อวางแผนเข้าจับกุมตั้งแต่ก่อนเยาวชนจะเริ่มแข่งขันซิ่งรถในทาง นอกจากนี้ยังเพิ่มโทษเอาผิดกับผู้ปกครองที่ปล่อยปะบุตรหลานให้ออกมาสร้างความเดือดร้อนให้สังคมด้วย
-ปราบทุจริต. บูรณาการงานปราบปรามทุจริตภายใต้ศอตช. นำไปสู่การตรวจสอบโครงการส่อทุจริตทั่วประเทศ. และเสนอให้นายกฯใช้อำนาจตามมาตรา 44 ย้ายข้าราชการและนักการเมืองท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งในทันทีที่ตรวจสอบพบหลักฐานพัวพันการทุจริต ล่าสุดมีการใช้มาตรา 44 ย้ายข้าราชการไปแล้ว 4 ล็อต
- One map. แผนที่ฉบับบูรณาการอัตราส่วน 1:4000 พล.อ.ไพบูลย์ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้แก้ไขปัญหาการทับซ้อนของที่ดินซึ่งมีที่มาจากการใช้ภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศแนบท้ายกฎหมายของหน่วยราชการต่างๆที่มีอัตราส่วนแตกต่างกัน เป็นช่องว่างให้เกิดการทุจริตออกเอกสารสิทธิที่ดินและการบุกรุกป่า. ล่าสุดการขีดเส้นแผนที่แล้วเสร็จตามกรอบเวลา คงเหลือเพียงการแก้ไขกฎหมายแนบท้ายของหน่วยราชการ คาดว่าจะประกาศใช้แผนที่ฉบับบูรณาการได้ภายในปี. 2561
-คดียักยอกฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจำกัด. ซึ่งเดิมคดีล่าช้า ถูกมองว่ามีการตัดตอนความผิดไปให้ศุภชัย ศรีศุภอักษร เพียงคนเดียว แต่พล.อ.ไพบูลย์สั่งรื้อสำนวนการสอบสวน ส่งผลให้มีการสอบสวนคดีฟอกเงินไปยังผู้มีรายชื่อรับเช็คทุกฉบับที่สั่งจ่ายจากศุภชัย. โดย 1 ในนั้นมีพระธัมมชโยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย รับเช็คบริจาควงเงิน 1,400 ล้านบาท. แต่ก็มีการสั่งเลื่อนคดีของอัยการหลายครั้ง กระทั่งพล.อ.ไพบูลย์สะท้อนความรู้สึกของประชาชนว่า ด้วยวลี "ใครถ่วงคดี" จากนั้นเพียงไม่กี่วันอัยการจึงรความเห็นสั่งฟ้องพระธัมมชโยฐานสมคบฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร. นอกจากนี้ยังมีการขยายผลคดีถึงข้าราชการดีเอสไอที่มีชื่อรับเช็คในกลุ่มนายหน้าขายที่ดิน โดยพล.อ.ไพบูลย์สั่งการให้ดำดนืนคดีอาญาและสอบสวนวินัยร้ายแรง และขยายผลให้ถึงผู้อยู่เบื้องหลังข้าราชการทั้ง. 2 รายนี้ รวมถึงเจ้าหน้าของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ร่วมกันมีมติถอนอายัดี่ดินนำไปสู่การซื้อขายวงเงินกว่า 400 ล้านบาท แต่มีเงืนคืนให้สหกรณ์คลองจั่นเพียง 100 ล้านบาทเท่านั้น
- สำหรับคดีเสื้อแดง พล.อ.ไพบูลย์สั่งปิดเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ หรือคุกนักโทษคดีการเมือง โดยให้กระจายนักโทษทุกรายไปขังตามเรือนจำในภูมิภาคของนักโทษ เพื่อความสะดวกในการเยี่ยมญาติ. พร้อมย้ำว่าไม่มีนักโทษคดีการเมือง มีแต่นักโทษคดีอาญา ซึ่งกรมราชทัณฑ์ต้องควบคุมดูแลเท่าเทียมกันทุกรายล่าสุดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

พล.อ.ธีรชัย นาควาณิช เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 อายุ 61 ปี เป็นบุตรของ พล.ต ธวัชชัย นาควานิช กับหม่อมราชวงศ์พิศวาส ดิศกุล นาควานิช สมรสกับ พล.ต.หญิง บุญรักษา นาควานิช มีบุตรชาย 2 คน
พล.อ.ธีรชัย จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน รุ่นที่ 15 จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25
โดย พล.อ.ธีรชัย รับตำแหน่งสำคัญๆ และไต่เต้าขึ้นมาตามลำดับ โดยเป็น เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1 รองแม่ทัพน้อยที่ 1 รองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพน้อยที่ 1 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายส่งกำลังบำรุง รองเสนาธิการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 1 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และเป็นผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี 2558

เปิดประวัติ 3 "องคมนตรี" ใหม่



พล.อ.ธีรชัย เป็น ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 39 ในปี 2558 ต่อจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร โดยถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสายบูรพาพยัคฆ์
ทั้งนี้ เขายังมีบทบาทสำคัญในช่วงรัฐประหาร โดยขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาค 1 และเคยเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบ (กกล.รส.) อีกด้วยอย่างไรก็ตามเขาเกษียณจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา และในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็ได้มีมติแต่งตั้ง พล.อ.ธีรชัยเป็นประธานคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค
ล่าสุดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2496 ปัจุจุบัน อายุ 63 ปี เป็นบุตรชายของ พันเอก (พิเศษ) ศิริ รัตนสุวรรณ และนางชม้อย รัตนสุวรรณ สมรสกับ พลโทหญิง สุพัตรา รัตนสุวรรณ ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก มีบุตร 2 คน
พล.อ.ดาว์พงษ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 (จปร.23) และในชีวิตราชการ พล.อ.ดาว์พงษ์ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รองแม่ทัพภาค 1 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการทหารบก และ เสนาธิการทหารบก และเกษียณราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก
พล.อ.ดาว์พงษ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรัฐประหารปี 2549 และ ในขณะนั้นเขาได้รับตำแหน่งสมาชิก สนช. อีกทั้ง ยังเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์อำนาจการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช. โดยทำหน้าที่ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์ถึงการกระชับพื้นที่และการสลายการชุมนุม

เปิดประวัติ 3 "องคมนตรี" ใหม่


นอกจากนั้น พล.อ.ดาว์พงษ์ยังมีบทบาทในการแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และเป็นผู้วางแผนงานต่าง ๆ ในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบรวมถึงเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พล.อ.ดาว์พงษ์นั้นถือเป็นนายทหารสายวงศ์เทวัญ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลื่อนยศและตำแหน่งในช่วงที่มีการวิจารณ์ว่ามีแต่สายบูรพาพยัคฆ์ทั้งนี้ภายหลังการรัฐประหาร เขาได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต่อมาถูกปรับให้ไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558
และล่าสุดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

logoline