svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดโครงสร้างระบายน้ำ กทม.

26 สิงหาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บ่อยครั้งที่ฝนตกใน กรุงเทพ มักเกิดน้ำท่วงขัง และต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะระบายน้ำ จึงเกิดคำถามถึงโครงสร้างระบายน้ำ กทม. ที่มีอุโมงค์ยักษ์ ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ติดตามรายงานจากคุณทินณภพ พันธะนาม

น้ำท่วมขังรอการระบายบนถนนและชุมชนในกรุงเทพ เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นภาพชินตา หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนมีปริมาณน้ำสะสมมากกว่า 60 มม. สะท้อนถึงปัญหาการระบายน้ำ ใน กทม.อย่างเห็นได้ชัด ... อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่จึงตกเป็นที่จับตาดูถึงการระบายน้ำ
ผู้อำนวยการระบายน้ำ กทม. ยอมรับว่าโครงสร้างการระบายน้ำเดิมทีมีปัญหา เพราะถูกออกแบบไว้กว่า20ปี ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศอากาศเปลี่ยนไป ทำให้กรุงเทพมหานคร เกิดน้ำขังอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องพัฒนารูปแบบระบายน้ำใหม่ให้มีประสิทธิภาพ เช่นการสูบน้ำด้วยอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ที่ถูกวางไว้ถึง4จุด
ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ตั้งข้อสังเกตุถึงแนวทางการระบายน้ำ กทม.ว่ายังมีจุดอ่อนหลายจุด เช่น การสร้างถนนสูงกว่าชุมชน การรับน้ำหลากจากภาคเหนือและการผันน้ำลงอ่าวไทยที่ถูกออกแบบไว้ให้ระบายกว่า 300ล้านลบ.ม./ วัน แต่ใช้เพียง 15 ล้านลบ.ม./ การติดตั้งเครื่องและเรือผลักดันน้ำในจุดเสี่ยงยังไม่ครบตามแผนปี55 และวางระบบกำจัดน้ำเสียขวางคลองระบายน้ำหลายแห่ง รวมถึงการป้อนน้ำเข้าอุโมงค์ยักษ์ เช่นอุโมงค์พระราม9 ที่ถูกใช้เพียง 30 เปอร์เซ็น ของมวลน้ำที่สามารถระบายน้ำถึง 60ลบ.ม.ต่อวินาที จึงทำให้กรุงเทพ มีความเสี่ยงน้ำท่วมขังและระบายได้ช้า
โครงสร้างการระบายน้ำใหม่ที่วางถูกไว้ ทั้งอุโมงค์ยักษ์ ขยายท่อใต้ถนนสายหลัก11จุด ให้กว้างขึ้นถึง2เมตร กักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่แก้มลิงอีก 21 แห่ง โดยมีประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ กว่า 176 แห่ง ช่วยเร่งผันน้ำจากคลองลงแม่เจ้าพระยา นับว่าเป็นโครงสร้างระยะยาวที่น่าจับตามองคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี2562 .. แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบายน้ำระยะสั้นช่วงหน้าฝนและรับมือน้ำหลากจากภาคเหนือ จะเกิดประสิทธิภาพได้ ต้องอาศัยการขุดลอกคูคลอง การจำกัดขยะ จัดระเบียบพื้นที่รุกล้ำเส้นทางน้ำ รวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำกว่า 20 จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทั่วกรุงเทพมหานคร สุทธิพงษ์ ศรีอักษร ถ่ายภาพ ทินณภพ พันธะนาม เนชั่นทีวี รายงาน

logoline