svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“ประพัฒน์” ร้องศาลปกครอง พิจารณาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีหลักฐานใหม่

15 มีนาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลฯ -- 15 มี.ค.59 -- ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ร้องศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีข้อเท็จจริง หลักฐานใหม่ คดีอาญาทุจริตสัญญา หวังศาลปกครองรับเรื่องพิจารณาใหม่


ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ วันที่ 15 มี.ค.59 เวลา 13.30 น. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) , นายเสมอ ลิ้มชูวงษ์ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสิรภพ ดวงสอดศรี อดีตประธานกรรมการตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญา โครงการระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่าน และนายธิติ กนกทวีฐากร อดีตผู้ตรวจราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตรวจราชการฯ เป็นตัวคณะบริหารสัญญา โครงการระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่าน 7 คน ที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐกรณีคลองด่าน เดินทางมาพร้อมนายณกฤช เศวตนันท์ ทนายความ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ในสำนวน บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กับพวกเอกชน รวม 6 คน ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา

“ประพัฒน์” ร้องศาลปกครอง พิจารณาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีหลักฐานใหม่



โดยนายประพัฒน์ อดีตรมว.ทส. กล่าวว่า เหตุที่ต้องมายื่นคำร้อง เนื่องจากฝ่ายราชการแพ้คดี และต้องชดใช้ค่าโง่เป็นเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แต่ที่พวกตนตรวจสอบพบว่า คณะอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้ยึดถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่มีการฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ซึ่งพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษชนะคดีถึง 2 สำนวน ประกอบด้วย คดีที่ฟ้องฉ้อโกงการซื้อขายที่ดินเพื่อดำเนินโครงการ 1,900 ไร่ และคดีการฉ้อโกงสัญญาว่าจ้าง ซึ่งมีการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องที่เอกชนไม่ระบุกรณี บริษัท นอร์ทเวส วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ได้ถอนตัว และบอกเลิกหนังสือมอบอำนาจก่อนการลงนามระหว่างกรมควบคุมมลพิษกับเอกชนกิจการร่วมค้าในปี 2540 โดยศาลแขวงดุสิต มีคำพิพากษาเดือนพ.ย.52 ให้จำคุกกลุ่มเอกชนคนละ 3 ปี พร้อมทั้งปรับเงิน
 โดยขณะนั้นคดีในส่วนของอนุญาโตตุลาการยังไม่เสร็จสิ้น แต่เสร็จภายหลังปี 2554 ดังนั้น คณะอนุญาโตตุลาการที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดควรต้องรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต รวมถึงศาลปกครองที่กลุ่มกิจการร่วมค้าได้ยื่นคำร้องเมื่อปี 2554 เช่นกัน

“ประพัฒน์” ร้องศาลปกครอง พิจารณาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีหลักฐานใหม่


ขณะที่ล่าสุดมีพยานหลักฐานใหม่ เป็นคำพิพากษาของศาลอาญา เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.58 ที่มีคำพิพากษาจำคุกนายปกิต กิระวินิช อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตรองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และนางยุวรี อินนา อดีตผอ.กรมควบคุมมลพิษ คนละ 20 ปี ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่าสัญญาจ้างระหว่างกรมควบคุมมลพิษกับฝ่ายกิจการร่วมค้า เป็นสัญญาที่ไม่ชอบตั้งแต่ต้น เพราะมีการลงนามโดยไม่มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญ นอร์ทเวสฯ 
ดังนั้น ตนและคณะผู้ร้องทั้ง 7 จึงขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ โดยให้รับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต และ พยานหลักฐานใหม่ที่เป็นคำพิพากษาของศาลอาญา โดยตนและผู้ร้องยังได้ยื่นคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือโครงการทางด่วน ส่งให้ศาลปกครองพิจารณาด้วย เพราะศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า หากมีกรณีทุจริตเกี่ยวกับการทำสัญญาว่าจ้าง สัญญาดังกล่าวถือว่าเกิดจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ผูกพันทางราชการ และศาลต้องไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

“ประพัฒน์” ร้องศาลปกครอง พิจารณาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีหลักฐานใหม่


การยื่นคำร้องครั้งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์กับทางราชการในการต่อสู้ไม่ให้ต้องเสียค่าโง่ 1 หมื่นล้านบาทแล้ว ยังเป็นการที่ผมและคณะ จะพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าเป็นฝ่ายที่ปราบทุจริต และได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของราชการอย่างแท้จริง และนอกจากมีโอกาสในเรื่องของการที่ศาลปกครองจะพิจารณาคดีใหม่แล้ว ยังมีอีกโอกาสหนึ่ง คือการที่ศาลฎีกาจะตัดสินคดีที่มาจากศาลแขวงดุสิต โดยให้ฝ่ายราชการชนะคดี ด้านนายณกฤช เศวตนันท์ ทนายความ กล่าวว่า หลังจากนี้ต้องรอดูว่าศาลจะมีคำสั่งรับคำร้องไว้หรือไม่ โดยระหว่างนี้ในส่วนของนายประพัฒน์ และคณะก็ถูกตั้งคณะกรรมสอบสวนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหากศาลปกครองรับคำร้องไว้พิจารณา ก็จะนำประเด็นนี้ต่อสู้เรื่องดังกล่าวด้วย

“ประพัฒน์” ร้องศาลปกครอง พิจารณาคดีอนุญาโตฯ คลองด่านใหม่ ระบุ มีหลักฐานใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการร้องขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่นั้น ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 75 ที่บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ให้ทำได้ในกรณี (1) ศาลปกครองรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หรือมีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นที่ยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ (2) คู่กรณีที่แท้จริง หรือบุคคลภายนอกนั้น ไมได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี หรือไม่เข้ามาแล้ว แต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรม ในการมีส่วนร่วมดำเนินกระบวนพิจารณา (3) มีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม (4) คำพิพากษานั้นทำขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด แล้วต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โดยการยื่นคำขอนั้นต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่วันที่ผู้นั้นได้รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุ ซึ่งอาจขอให้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้ แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในคดีนั้น

logoline