svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรุงเทพฯ กำลังจมดิน ด้วยอัตราที่น่าตกใจ

08 กรกฎาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เว็บไซท์ข่าว บิสสิเนสส์ อินไซเดอร์ รายงานว่า กรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหานครที่ทั้งทันสมัยและเสื่อมโทรม มีตึกระฟ้าและบ้านปูนซอมซ่อ ที่มีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 10 ล้านคน กำลังจะจมดินด้วยอัตราที่น่าตกใจ

บิสสิเนสส์ อินไซเดอร์ ระบุว่า อาคารโครงเหล็กและคอนกรีตและการใช้ชีวิตของผู้คน ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนบริเวณที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ราบลุ่ม พื้นดินด้านใต้เป็นรูพรุนและชื้น เปรียบได้กับก้อนอิฐวางอยู่บนเค้กวันเกิด ซึ่งนี่คือกรุงเทพฯ และกำลังทรุดตัวลงไปในดินด้วยอัตราที่น่าตกใจ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติของไทย ได้เตือนเกี่ยวถึงหายนะที่ใกล้เข้ามา มานานหลายปีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง แสดงความวิตกว่า กรุงเทพฯจะคล้ายแอตแลนติส ส่วนอีกคนบอกว่า กรุงเทพฯ จะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ 5 ฟุต ภายในปี 2573
จากการประเมินก่อนหน้านี้ ได้แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯกำลังทรุดตัวลงมากกว่า 3 นิ้วต่อปี แต่ข้อมูลที่ใหม่กว่า ได้แสดงให้เห็นว่า ได้เพิ่มเป็นเกือบ 4 นิ้วต่อปีแล้ว และการคาดการณ์สำหรับปี 2643 ยิ่งเลวร้ายกว่า ซึ่งตอนนั้นกรุงเทพฯจะจมน้ำและไม่สามารถอาศัยอยู่ได้โดยสิ้่นเชิง
สถานการณ์นี้คล้ายกับวิกฤติโลกร้อน ที่จะช่วยเร่งการจมน้ำของกรุงเทพฯ ด้วยการยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้น วิกฤตการจมน้ำของกรุงเทพฯ ถูกละเลยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผู้ปกครองของไทยไม่ว่าพลเรือนหรือทหาร ถูกมองว่า ให้ความสำคัญกับปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า แต่ฤดูมรสมที่กำลังจะมาถึงนี้ มีแนวโน้มที่วิกฤตินี้จะหวนกลับมาให้ต้องตระหนักกันอีกครั้ง
พายุฝนที่ไม่น่ายินดี สามารถทำให้เห็นภาพถนนหลายสายในกรุงเทพฯ เผชิญกระแสน้ำที่ไหลทะลัก, น้ำล้นท่อระบายน้ำ, แท็กซี่วิ่งฝ่าน้ำที่เน่าเหม็น และบางทีก็มีเด็กๆ ช้อนปลาที่หลงมาบนถนน เมื่อ 4 ปีก่อน ตอนที่เกิดมหาอุทกภัย ซึ่งหลายครอบครัวต้องขึ้นไปอาศัยอยู่บนชั้นสองของบ้าน เพราะระดับน้ำสูงถึงคอ
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) ได้คาดการณ์ว่า พื้นที่ปริมณฑลจะเป็นส่วนแรกที่จมน้ำก่อน // แม้บางส่วนของชายฝั่งนอกกรุงเทพฯ จะติดตั้งปั๊มที่คอยกำจัดน้ำเค็ม แต่มันก็ไม่ได้ผลเสมอไป เพราะในระหว่างฝนตกหนัก น้ำเค็มก็สามารถทะลักเข้าสู่ถนนได้ // ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาให้กรุงเทพฯ 2 ทางด้วยกัน คือ ทางแรกคือ การก่อสร้างกำแพงกั้นคลื่น (seawall) แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเกือบ 3 พันล้านดอลล่าร์ (กว่า 1 แสนล้านบาท) หรือ ราวครึ่งหนึ่งของจีดีพี ของประเทศ ส่วนทางเลือกที่สองคือ ยอมทิ้งกรุงเทพฯ และย้ายเมืองหลวงขึ้นที่สูง

logoline