svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ช้างพัง"โม่ตาลา-โม่ชะ"ได้ขาเทียมใหม่ ฝีมือแพทย์อเมริกัน

06 กรกฎาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ลำปาง - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาขาสัตว์ สหรัฐฯเดินทางมาทำขาเทียมให้ช้างพังโม่ตาลาและโม่ชะ ที่โรงพยาบาลช้างมูลนิธิเพื่อนช้างลำปาง


ที่โรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก ทางองค์กรรักษ์สัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยรักษาขา และจัดทำขาเทียมของสัตว์ ในรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Animal Ortho Care นำโดย Dr.Derrick Campana ตำแหน่ง CO,Director Of Orthotics ซึ่งเป็นสัตวแพทย์เชี่ยวชาญด้านรักษาขาสัตว์ ได้เดินทางมายังโรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง เพื่อดูอาการของช้างพังโมตาลา อายุ 54 ปี และช้างพังโม่ชะ อายุ 9 ปี ช้างที่ประสบเหตุเหยียบกับระเบิด ในขณะเข้าไปชักลากไม้ในฝั่งประเทศพม่า จนทำให้ขาได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะช้างพังโม่ตาลาที่ขาหน้าซ้ายขาด จนต้องได้รับการผ่าตัดขา ผ่านมานานกว่า 17 ปี ที่ช้างเชือกนี้ได้รับบาดเจ็บ
ทางคณะสัตวแพทย์ได้รักษา จนบาดแผลดีขึ้น แต่ช้างเชือกนี้ต้องเป็นช้างพิการไปตลอดชีวิต จึงมีความจำเป็นต้องสวมใส่ขาเทียม เพื่อเป็นการใช้เดินย้ำยันได้ ป้องกันโครงสร้างหลังที่อาจจะเกิดโก่ง หรือผิดรูป 
สำหรับช้างทั้ง 2 เชือก เคยได้รับขาเทียมช้าง เพื่อนำมาสวมใส่จากมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ถือว่าเป็นขาเทียมช้างอันแรกของโลกที่ทำขึ้นมาให้ช้างสวมใส่แต่เกิดชำรุด และสวมใส่ไม่ได้แล้ว เนื่องจากน้ำหนักช้างที่มากขึ้น และรูปร่างของช้างที่โตขึ้น ทำให้ขาเทียมช้างทั้งคับ และเกิดชำรุด ดังนั้นทางองค์กรรักษ์สัตว์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ปกติจะเคยทำขาเทียมขึ้น เพื่อช่วยสัตว์ เช่น สุนัข แมว ม้า และวัว ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางเข้ามาช่วยทำขาเทียมให้ช้างในครั้งนี้ นับจะเป็นขาเทียมช้างอันที่ 2 ของโลกที่ทำขึ้น
นางสาวโซไรดา ซาวาลา ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก และเลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง กล่าวว่า การจัดทำขาเทียมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรดังกล่าว ซึ่งถือว่ามีมูลค่าหลายแสนบาท โดยได้มีการทำตัวอย่างด้วยการทาบเข้ากับขาเทียมของช้างทั้ง 2 เชือก ก่อนที่จะทำการหล่อรูปขาขึ้น จากนั้นจะนำรูปหล่อ ซึ่งเป็นต้นแบบที่ได้เดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำขาเทียมขึ้นมา ซึ่งจะใช้วัสดุภายหลังเป็นไฟเบอร์กราฟ ภายในจะห่อหุ้มด้วยวัสดุนิ่ม เพื่อรับน้ำหนัก และแรงกระแทกของช้างในขณะที่ใช้งาน

logoline