svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

BU The Creative Gang จุดประกายความคิดยั่งยืนสู่สังคม

29 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

BU The Creative Gang จุดประกายความคิดยั่งยืนสู่สังคม
นักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ ระดมสมองเชื่อมความรู้สู่สังคม จัดกิจกรรม 6 ฐานกระตุ้นกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมสนุกสนาน บทเรียนสำคัญนักสื่อสารสร้างจิตอาสา ปริญญาชีวิตผ่านประสบการณ์จริง หวังสร้างเครือข่ายจิตอาสายกระดับสังคมอ่อนด้อยให้ยั่งยืน ด้านครูโรงเรียนบ้านวังกระสวยเผยกิจกรรมนอกห้องเรียนเชื่อมต่อกับโรงเรียนลงตัว สืบสานพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯด้านการให้โอกาสทางการศึกษาแบบบูรณาการแก่เยาวชน ด้านชุมชนเล็งพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปสร้างทางเลือกด้านอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชน
นักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นำองค์ความรู้บูรณาการสู่ชุมชนภายใต้โครงการ BU The Creative Gangจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ตอน ก๊วนความคิด เนรมิตไอเดีย แนวคิดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้มันสำปะหลัง พันธุ์พิรุณ 2 วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2558 จบโครงการพร้อมความพอใจของนักเรียน ครูและชุมชน ได้เรียนรู้กระบวนการคิด ต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มร่วม พลังสำคัญจุดเล็กๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมยั่งยืน
ดร.พีรยา หาญพงษ์พันธุ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดประเด็นถึงการการสร้างกิจกรรมผ่านองค์ความรู้ที่นักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์โครงการ BU The Creative Gang ซึ่งจัดต่อเนื่องทุกปีติดต่อกันมาแล้ว 3 ปี สำหรับปี 2558 นี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดก๊วนความคิด เนรมิตไอเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ในห้องเรียนมาปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน โดยแต่ละปีนักศึกษาจะมีโอกาาสทำงานร่วมกันทำให้สั่งสมบทเรียนกิจกรรมกับชุมชน ประสบการณ์นอกห้องเรียนจะมีส่วนทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของปัญหา และรู้จักวิธีบริหารจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างยืดหยุ่น(Flexible) ให้สอดรับกับแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งบทเรียนเหล่านี้ไม่มีในตำรา ต้องผ่านการเรียนจากประสบการณ์ตรง

BU The Creative Gang จุดประกายความคิดยั่งยืนสู่สังคม


การนำบทเรียนความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR-Corporate Social Responsibility) จากมหาวิทยาลัยสู่สังคมไทย มุ่งหวังกระตุ้นให้เกิดจิตอาสาเกิดขึ้นกับนักศึกษาในยุคปัจจุบันให้มีบทบาทเข้าไปกระตุ้นความคิดสิ่งดีต่างๆเชื่อมต่อกับสังคม ขณะเดียวกันยังทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เข้าใจความแตกต่างระหว่างความหลากหลายความเป็นอยู่ในสังคมที่เกิดขึ้นจริง ที่คาดหวังว่านักสื่อสารจะทำหน้าที่เชื่อมโยงความแตกต่างในทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเกื้อกูลกัน ยกระดับสังคมให้มีคุณภาพและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้ในอนาคต
"ตำราให้สติปัญญาที่เรียนอาจจะไม่มากเท่ากับประสบการณ์จริง ดังนั้นนักศึกษาปริญญาโทจะต้องรู้จักเอาองค์ความรู้วิชาการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดรูปธรรมมากที่สุด นักนิเทศน์ศาสตร์ระดับปัญญาชน เกิดมาเพื่อช่วยสังคม ดีเอ็นเอ ของม.กรุงเทพ คือการเป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่รู้จักสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับสังคม เราอาจจะไม่เป็นผู้รู้ทุกเรื่อง แต่มีหน้าที่เชื่อมต่อคนที่มีความหลากหลายให้กับสังคม สังคมจะยั่งยืนมีคุณภาพได้ จึงต้องกระตุ้นให้นักศึกษาได้ทำและดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้อยู่ติดตัวไปตลอดเพื่อให้ผู้เรียนมีปริญญาชีวิตที่อยู่กับตัวเอง"
สำหรับการออกค่ายวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ โดยการสร้างองค์ความรู้ มีรูปแบบที่ทำให้นักศึกษาได้นำไปลองปรับใช้ในบริบทอื่นๆ ได้ตลอดช่วงเวลา 2 คืน 3 วันสำหรับนักศึกษาเชื่อว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ จุดประกายพลังสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ให้แทรกซึมในทุกคนที่เกี่ยวข้อง จนเกิดเป็นเครือข่ายชุมชนจิตอาสาที่รวมตัวกันเข้ามาทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยมีการเชื่อมต่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะเกิดประโยชน์ในเชิงมูลค่าให้กับสังคมไทย แม้จะเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ แต่จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่ย่อท้อที่จะมีส่วนสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม

BU The Creative Gang จุดประกายความคิดยั่งยืนสู่สังคม


นายนิกร ธานีวรรณ ครูสอนวิทยาศาสตร์ และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังกระสวย มองว่ากิจกรรมดังกล่าวมีความสนุกสนนาน และสอดแทรกแนวคิดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการตามกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพราะมีการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมสนุกสนานผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอดคล้องกับสโลกแกนก๊วนความคิด เนรมิตไอเดีย ที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง พันธุ์พิรุณ จากฐานต่างๆ เพื่อให้เรียนรู้วิธีการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มสอดคล้องกับวิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี รวมถึงการได้แต่งกายเป็นแมลงต่างๆ หรือด่านการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก จากการดินก่อนเตรียมการปลูกมัน ตลอดจนได้เรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของพืชผ่านการรู้จักต้นมันพิรุณ2
กระบวนการทำกิจกรรมยังทำให้เป็นรูปการกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามจินตนาการที่เกิดจากความคิดของเด็กนักเรียน ส่วนครีเอทีฟ รูม นักศึกเข้ามาออกแบบและทาสี ก็ถือได้ว่ามีความสวยงาม และยังถือเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 60 พรรษา สืบสานพระราชดำริด้านการให้โอกาสทางการศึกษาแบบบูรณาการแก่เยาวชนในท้องถิ่นธุรกันดาร
ทางโรงเรียนเชื่อว่าห้องเรียนนี้จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเอง รวมไปถึงต่อยอดไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และขยายผลไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับชุมชนได้
ดังนั้นโครงการถือว่าสร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียน และชุมชนที่เป็นพื้นที่และสร้างทางเลือกในการพัฒนาสินค้าแปรรูปใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนได้ในอนาคต จึงนับว่าได้โครงการดังกล่าวมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้ฐานต่างๆ ทั้ง 6 ฐาน รวมถึงกระบวนการสื่อสารทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน
ครูนิกรมองว่า เด็กในวัยนี้เป็นช่วงแห่งการอยากรู้อยากเห็น ดังนั้นกิจกรรมที่ผ่านประสบการณ์จริงจะทำให้เด็กได้จดจำง่าย สำหรับมันสำปะหลัง พันธุ์พิรุณ ในอนาคตสามารถพัฒนาหาตลาดได้เพิ่มเติม ดังนั้นจึงอยากให้มีการสนับสนุนด้านความรู้ด้านช่องทางการตลาด ปัจจุบันช่องทางการสื่อสารในโรงเรียนยังน้อยมาก มีเว็บไซต์แต่ขาดการแอคทีฟ ขณะที่เฟซบุ๊คก็ไม่ค่อยได้ใช้จึงอาจจะมีการพัฒนาส่วนนี้ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมในโรงเรียน
ปัจจุบันมีโรงเรียนในเขตการศึกษาเดียวกันมีประมาณ 19 โรงเรียนที่จัดกิจกรรมพัฒนาร่วมกัน โดยมีการนำเด็กเก่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเรียนสอนดระหว่างกันเพื่อช่วยกันแบ่งปันพัฒนาประสบการณ์ความโดดเด่นในทางวิชาการเรียนการสอนของแต่ละคน จึงมีโอกาสสร้างทักษะให้การเรียนการสอนเท่าเทียมกันเพราะมีการแบ่งปันความรู้ร่วมกันในพื้นที่
ทั้งนี้ คาดหวังว่าเมื่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นเข้ามาจุดประกายความคิด การตั้งคำถามการสังเกตุต่างๆ ผ่านบทเรียนที่นักศึกษาได้มาทิ้งคำถามไว้ เสมือนเป็นการเข้ามากกระตุ้นความคิดให้เด็กรู้ค้นคว้าหาคำตอบจากผ่านบทเรียนใหม่ๆ ในแต่ละฐานที่นักศึกษานำมาถ่ายทอด ในอนาคตโรงเรียนนำไปต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ในชุมชน และตลาดใกล้เคียง ตลอดจนโซเชียลมิเดีย โดยมีการสร้างเรื่องราวผ่านประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
นายปูรธิศน์ นามะลัง ครูโรงเรียนบ้านวังกระสวย ให้ความเห็นสอดคล้องกันกับกลวิธีการสอนเด็กนักเรียนรระดับประถม ควรมีรูปแบบการเรียนการสอนที่นอกเหนือตำราเรียน เพราะการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีการสร้างกระบวนการกระตุ้นให้เด็กมีความคิด จินตนาการสร้างสรรค์จะต้องมาจากากรยิงคำถามผ่านกิจกรรมที่โรงเรียนสนับสนุนมาโดยตลอดจึงทำให้เด็กไม่รู้ศึกเขินอายในการเข้าร่วมกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพราะโรงเรียนบ้านวังกระสวยไม่ได้สอนเฉพาะในตำราเรียน แต่มีการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม
นางหนูแดง เกยพุดซา ผู้ใหญ่บ้านห้วยเกตุ กล่าวว่า โครงการนี้เข้ามาจุดประกายได้เห็นโอกาสการพัฒนาพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ มันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 2 ประจวบเหมาะกับโครงการที่ทางองค์การการบริหารส่วนตำบล(อบต.)มีโครงการตลาดนัดชุมชนทุกวันอังคาร ที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และนำไปจำหน่ายในตลาด นอกเหนือจากโครงการโอท็อปตัวอื่น เช่น ปลาร้า น้ำพริก และสานตะกร้า เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับรายได้ ทางอาชีพทางเลือกใหม่ให้กับชุมชน
นางสะอาด เข็มสันเทียะ ผู้ใหญ่บ้านวังกระสวย มองว่ากิจกรรมที่กลุ่มBU The Creative Gang นำมามอบให้กับโรงเรียนและชุมชนบ้านวังกระสวย จะถูกนำมาเรียนรู้เผยแพร่ให้กับคนในหมู่บ้าน ส่วนหนึ่งจะนำไปขยายพันธุ์แจกจ่ายให้กับชาวบ้านและเมื่อได้ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจะนำบางส่วนมาแปรรูปต่างๆ เช่น ทำขนม ทำมันฉาบ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนได้ในอนาคต ถือเป็นสิ่งที่คนในชุมชนสนใจ และสามารถนำไปจำหน่ายในสหกรณ์ และส่งขายในตลาดนอกหมูบ้านได้ในอนาคต ถือเป็นโครงการที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมให้ชาวบ้าน นักเรียน โรงเรียนบ้านวังกระสวย ได้เชื่อมโยงกันได้ผ่านกิจกรรมสร้างประโยชน์ให้กับชุมนได้อย่างเป็นรูปธรรม
นางดอกคูณ ผู้ปกครองคนหนึ่งของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านวังกระสวย กล่าวว่า แนวคิดที่นักศึกษาทำหน้าที่เป็นจิตอาสาออกมาช่วยเด็กในหมู่บ้านถือว่าสร้างความแลกใหม่และกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัว และทำให้เด็กนักเรียนได้นำความรู้ผ่านกิจกรรมสนุกสนาน ทางโรงเรียนก็ได้ประโยชน์ เด็กก็สนุกสนาน
"ลูกพี่ทุกครั้งไม่กล้าแสดงออกแต่วันนี้กล้าแสดงออกเยอะ และเข้ามาช่วยคนยากจนในหมู่บ้านก็ดี"
เด็กหญิงพัชรินทร์ เธียรพรมราช หรือ น้องอั้ม นักเรียนโรงเรียนบ้านวังกระสวย เล่าว่าได้เรียนรู้จักพันธุ์มันสำปะหลังพิรุณ 2 ที่กินได้จะไปบอกพ่อแม่เกี่ยวกับการพัฒนามันให้เพิ่มมูลค่าตามที่พี่ๆ นักศึกษาสอน เพราะจากที่ได้รับรับประทานมันชุบช็อกโกแลตอร่อยมากๆ หนูกับเพื่อนๆ ยังได้มีโอกาสระบายสี วาดรูป และแต่งตัวเป็นไรแดง เพลี้ย กิจกรรมสนุกมากและยังได้ของที่ระลึกจากมันกลับบ้านอีกด้วย
นายอาชวิชญ์ กฤษณสุวรรณอาจารย์คณะนิเทศน์ศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการเสื้อดำ ธรรมดี กลุ่มจิตอาสาที่มาร่วมโครงการนี้มองการดำเนินโครงการของนักศึกษา ปริญญาโท เป็นการเริ่มต้นจากการศึกษาพื้นที่โดยหารือและทำวิจัยกับชุมชนเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาการเรียนรู้ จึงได้โจทย์ที่มาจากความต้องการส่งเสริมของชุมชน คือการทำค่ายวิทยาศาสตร์ ที่นำมันสำปะหลัง พันธุ์ใหม่เข้ามาเชื่อมโยง เป็นกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ และสร้างการมีส่วนร่วมเป็นอย่างดีในทุกๆ กิจกรรม
บทเรียนที่ออกแบบให้นักศึกษาปริญญาโทได้มีการวางแผนกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และสังคม นั้นถือเป็นการสร้างประสบการณ์สำคัญสำหรับนักสื่อสารของประเทศ ที่จะต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม รู้จักความแตกต่าง และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
สำหรับกลุ่มเสื้อดำ ธรรมดี เข้ามามีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ในทุกๆ ปีคือนิทานไฟฉายที่น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงมาสอดแทรกแนวคิด สื่อสารให้กับเด็กในท้องถิ่นกันดารที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ผ่านเรื่องเล่าละคร แต่หมู่บ้านวังกระสวย ทำให้ทีมเสื้อดำจะต้องออกแบบละครในโจทย์ใหม่ เพราะเป็นการเล่นละครตอนกลางวัน จึงคิดหุ่นกระบอกโดยการเชื่อมโยงกับวิถีเกษตรพอเพียงปราศจากสารเคมี ปรากฎว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างนี้และเด็กมีความสนุกสนาน รับรู้สาระที่สอดแทรกในละคร คือคุณงามความดีที่พ่อหลวงหรือในหลวงได้สอดแทรกแนวคิด เพื่อปลูกฝังให้กับเด็กระดับประถมได้ซึมซับและสั่งสมประสบการณ์หน้าที่เป็นเด็กดีที่มีผลต่อการเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ดีในอนาคต

BU The Creative Gang จุดประกายความคิดยั่งยืนสู่สังคม

logoline