svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สิทธิผู้ตกเป็นข่าว และสิทธิการรับรู้ข่าวสาร

31 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กสทช.จัดเสวนาเรื่องสิทธิผู้ตกเป็นข่าว และสิทธิการรับรู้ข่าวสาร มีมากน้อยแค่ไหน ในการนำเสนอข่าวอาชญากรรม

ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัล-ลาดพร้าว กสทช.จัดเสวนาในหัวข้อ สิทธิของผู้ตกเป็นข่าว วงเสวนา มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงการนำเสนอข่าว โดยมีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายกสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการว่าด้วยจริยธรรมข่าววิทยุและโทรทัศน์ สมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติแรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ รวมทั้งสื่อมวลชน ร่วมวงเสวนา
ประเด็นหลักในวงเสวนาที่พูดถึง คือบทบาทขอสื่อมวลชน ที่อยู่ในยุคของการแข่งขัน การนำเสนอข่าวในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะไม่สนใจเรื่องของสิทธิของผู้ต้องหา ซึ่งบางคร้ังถือเป็นการระเมิดสิทธิ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ข้อเสนอว่า 3 ข้อหลักๆ ต่อบทบาทของสื่อมวลชน
1. ตอนนี้สื่อมวลชนไทยถูกจับจ้องจากประชาชน ว่าทำถูกต้องหรือไม่ อย่างผู้ตกเป็นข่าวกรณีคดีที่เกาะเต่า แรงงานข้ามชาติ ซึ่งต้องให้ความเคารพในฐานะสื่อ ในการนำเสนอข่าว ควรให้ความเคารพกับผู้ตกเป็นข่าว ซึ่งเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหา ที่จะต้องระวัดระวังในการนำเสนอข่าว เหมือนกับเรื่องของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่เกาะเต่า ซึ่งมีการนำเสนอไปแล้ว สุดท้ายต้องตกเป็นจำลยของสังคม
2. เรื่องของการปกปิดหน้าตาของผู้ต้องหาหรือผู้เสียชีวิต ควรปกปิด เพราะที่ผ่านมา มีการนำเสนอข่าวทางโซเชียล และ ทีวี บางส่วนไม่ได้มีการมองถึงเรื่องนี้ เพราะบางคดียังไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้ ทำให้ภาพที่ออกไปเป็นการละเมิดสิทธิ
และ 3 การทำให้ผู้ต้องหาเสื่อมเสีย กรณีที่มีการนำเสนอข่าวออกไปแล้ว ผู้ต้องหาไม่ได้เป็นคนกระทำผิด ซึ่งจะทำให้เกิดการเสื่อมเสีย สื่อมวลชนต้องชดเชย-เยียวยา ให้กับผู้ต้องหา
ส่วนเรื่องของการนำภาพมานำเสนอทางโซเชียลมีเดีย นอกจากสื่อมวลชนแล้ว มูลนิธิที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง ที่มีการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งต้องมีการพูดคุยให้ชัดเจนกับหน่วยงงานที่เกี่ยวข้อง

logoline