svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ป.3 กว่า 2 แสนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สพฐ. ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหา

30 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงศึกษาธิการ 29 ตุลาคม 2557-เลขาธิการ กพฐ. ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในเด็กประถมอย่างจริงจัง หลังพบ5% ของนร.ชั้นป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขณะที่ 1 ใน 3 อ่านเขียนไม่คล่อง วาง 4 ขั้นตอน สำรวจข้อมูล เชิญนักวิชาการร่วมแก้ปัญหา จัดสร้างนวัตกรรมให้เหมาะกับเด้กในแต่ละพื้นที่ จัดส่งสื่อ คาดเริ่มพ.ย.นี้ เล็งทำเต็มรูปแบบ ปี 2558

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า การทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปี2557นี้ จะมุ่งเน้นด้านพัฒนาการศึกษาและแก้ปัญหาการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมามักจะมีการพูดถึงเรื่องที่มีผลกระทบวงกว้างทั้งเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) แต่อีกประเด็นที่สำคัญนั่นคือ การแก้ปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
ซึ่งตนได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ไปทำการสำรวจการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 6 แสนคน พบว่า มีนักเรียนชั้นป.3 มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เลย จำนวน 35,000 คน คิดเป็น 5% และอีกประมาณ 2 แสนคน หรือ 1 ใน 3 ของนักเรียนมีปัญหาอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง
"ซึ่งตัวเลขนักเรียนชั้นป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 35,000 คน ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงมาก และที่ผ่านมาแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาฯ ได้พยายามจัดกิจกรรมและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในส่วนของ สพฐ.เองสมัย นายชินภัทร ภูมิรัตน อดีตเลขาธิการ กพฐ.ก็จัดสื่อการเรียนการสอนลงไปสนับสนุนเพื่อพัฒนาการอ่านและเขียนของเด็กด้วยเช่นกัน" ดร.กมล กล่าว
เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่าตนจะตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมี นางวีณา อัครธรรม อดีตที่ปรึกษา สพฐ.ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็นประธาน โดยเบื้องต้นวางแนวทางทำงาน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.ขอให้ สพป.ทุกเขตส่งข้อมูลการสำรวจการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนมายัง สพฐ.อีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้ข้อมูลที่แน่ชัดว่าในแต่ละเขตพื้นที่ฯ มีนักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เท่าไร หรืออ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องเท่าไร
2. จะเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมีนวัตกรรมเด่น ๆ มาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกเพื่อนำมาจัดระบบว่านวัตกรรมแบบใดเหมาะกับเด็ก ซึ่งในแต่ละเขตพื้นที่ฯ ก็จะมีปัญหาแตกต่างกันไป
3. จัดอบรมให้แก่ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับการอบรมการพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
4. จัดส่งสื่อการเรียนการสอนและพัฒนาการอ่านออกเขียนได้อย่างเต็มรูปแบบ คาดว่าจะเริ่มกระบวนการพัฒนาเด็กตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 นี้ และทำเต็มรูปแบบในปี 2558"เลขาธิการกพฐ. กล่าวในที่สุด

logoline