svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เก็บผิวหนังวาฬบรูด้า ตรวจดีเอ็นเอเทียบประชากร

25 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิจัยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมญี่ปุ่น เก็บตัวอย่างผิวหนังดีเอ็นเอของวาฬบรูด้าในทะเลอ่าวไทย เพื่อศึกษาความหลากหลายของประชากรบรูด้า

นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า หลังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ทำการสำรวจและศึกษาพฤิกรรมวาฬบรูด้า ในอ่าวไทยรูปตัว ก. ครอบคลุมจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี จนพบมีประชากรวาฬบรูด้าอย่างน้อย 50 ตัวที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งมีการตั้งชื่อวาฬบรูด้าไปแล้ว ล่าสุดทีมนักวิจัยจากทช. ร่วมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ร่วมกันศึก ษาการสื่อสารของวาฬบรูด้า และพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของวาฬบรูด้า ซึ่งอยู่ระหว่างการลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคมถึงวันที่ 8 พฤจิกายนนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ทั้งนี้จะช่วยให้ทราบคำตอบเรื่องการสื่อสารของวาฬบรูด้าที่ใช้ระหว่างฝูงมากขึ้น
ด้าน ดร.กาญจนา อดุลยานุโกศล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ของ ทช.) กล่าวว่า การศึกษาเสียงร้องของวาฬบรูด้าในรอบนี้ได้มีติดถ้วยดูดเสียงที่ตัวของแม่พาฝัน เป็นระยะเวลา 40 นาทีทำให้ทราบว่าวาฬจะส่งเสียงร้องทีมีความถี่ต่ำและจะร้องเมื่ออยู่ตัวเดียว ไกลจากฝูง และไม่ส่งเสียงในระหว่างการกินอาหาร นอกจากนี้ทางทช.ยังเตรียมศึกษาความหลากหลายของประชากร และตรวจหาความสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูกของวาฬในท้องทะเลไทย เทียบกับวาฬที่อาศัยในแถบญี่ปุ่น อินโดนีเซียและมาเลเซียด้วย โดยเพิ่งเริ่มจะเก็บตัวอย่างผิวหนังดีเอ็นเอของวาฬบรูด้าในทะเลอ่าวไทย โดยทีมของนายสัตวแพทย์ ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ จากสำนักอนุรักษ์วิจัยและการศึกษา องค์การสวนสัตว์ มาร่วมกันทำการเก็บตัวอย่างผิวหนังดีเอ็นเอของวาฬบรูด้ากับทีมวิจัยของทช. โดยโครงการนี้จะทำให้ทราบคำตอบว่าประชากรวาฦบรูด้าของไทย เป็นกลุ่มเดียว หรือมีความต่างกับวาฬบรูด้าในท้องทะเลประเทศอื่นๆหรือไม่ แต่เบื้องต้นเราพบว่าวาฬที่หากินในอ่าวไทยมีพฤติกรรมที่แตกต่างหลายอย่าง เช่น อาศัยหากินใกล้ชายฝั่งเพียง 4 เมตรทั้งที่มีลำตัวขนาดใหญ่และยาวนับสิบเมตร รวมทั้งท่าแทงหลาหรือพฤติกรรมการกินปลาตะตักเป็นฝูงๆที่จะมีการต้อนให้ปลากะตักรวมฝูง และอ้าปากงับปลาทั้งฝูงเป็นต้น

logoline