svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอตาเตือน! เล่นมือถือในที่มืด เสี่ยงตาบอด

05 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะเลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่าร้อยละ 80 สาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวี (UV)400, ยูวีเอ(UVA)1 และแสงสีฟ้า จากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานานเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน                   พฤติกรรมที่พบ ในผู้ป่วยทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงาน และเด็ก คือ ก่อนนอน จะหยิบสมาร์ทโฟนมาใช้ในขณะที่ปิดไฟ  พฤติกรรมนี้เร่งให้มีอาการทางสายตาเพิ่มขึ้น อันตรายจากแสงยูวี แสงสีฟ้าที่อยู่ในจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จะทำลายดวงตาเมื่อจ้องเป็นเวลานานจากการกะพริบตาน้อยลง โดยปกติคนเราจะกะพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ตาได้รับความชุ่มชื้น การเพ่งมองเป็นเวลานานจะทำให้ตาแห้ง แสบตา ส่งผลให้การมองเห็นเริ่มผิดปกติ เห็นภาพซ้อน ภาพไม่ชัด พร่ามัว ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม และจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ และรักษาได้ยากจนอาจส่งผลให้ตาบอดได้                        วิธีหลีกเลี่ยงแสงอันตราย คือเลือกอุปกรณ์ป้องกันหรือลดปริมาณแสงสีฟ้าที่ดวงตาได้รับโดยตรง เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด แสงสีฟ้า ป้องกันรังสียูวี หรือใช้แว่นกันแดดที่เคลือบสารป้องกันแสงที่เหมาะสม ปรับค่าความสว่างให้เหมาะสมเมื่อต้องใช้คอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 1-2 ชั่วโมง ประมาณ 5 นาที ใช้วิธีการมองไกล หรือเปลี่ยนอิริยาบถทำกิจกรรมอย่างอื่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์บำรุงสายตา เป็นต้น 

logoline