svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เร่งทำโพนแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ

02 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พัทลุง - พัทลุงเร่งทำโพน นำมาแข่งขันในงานการแข่งโพนชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีของทางจังหวัด ระหว่างวันที่ 1 - 10 ตุลาคม นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ต.ปรางหมู่ อ.เมือง จ.พัทลุง นายกล่อม ชูแก้ว  อายุ 63 ปี นักหุ้มโพน พร้อมด้วยชาวบ้านในพื้นที่ เร่งซ่อมแซม และทำโพนใบใหม่ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในงานการแข่งโพนชิงถ้วยรางวัล พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีของทางจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงานประจำปีแข่งโพน -ลากพระ ของจังหวัดพัทลุงจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งจัดบนถนนหน้าเทศบาลเมืองพัทลุง นายกล่อม  บอกว่า "โพน" เป็นภาษาท้องถิ่นของพัทลุง ที่ใช้เรียกชื่อของเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะเหมือน กลองทัดของภาคกลาง แต่โพนมีขาหยั่งตั้งกับพื้น 3 ขา ตัวโพนทำด้วยการขุดเจาะลำต้นไม้ให้กลวง ส่วนใหญ่จะทำจากต้นตาล หรือไม้ขนุน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 35 - 100 ซม.หรือใหญ่กว่านั้น หน้าโพนนิยมหุ้มด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ทั้ง 2 หน้า ไม้ตีโพนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สาวดำ ไม้หลุมพอ
สำหรับขั้นตอนการแข่งโพน จะมีการแบ่งตามขนาดเส้นรอบวงของโพนเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลางและใหญ่ การแข่งขันจะประกบคู่โดยวิธีการจับสลาก การแข่งโพนจะแบ่งเป็นขนาดของโพนแข่งกันบนเวทีครั้งละ 2 ใบ เหมือนกับการแข่งมวยคือมุมแดง มุมน้ำเงิน แพ้คัดออกจนเหลือคู่ชิงชนะเลิศ 
นายกล่อม  บอกอีกว่า ก่อนจะถึงวันออกพรรษา ตามประเพณีของพัทลุง วัดต่างๆจะจัดหาโพน บางครั้งก็ใช้โพนเก่ามาปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ หรือไม่ก็สร้างโพนใบใหม่ เมื่อสร้างโพนเสร็จแล้วก็จะตีทดสอบเสียง ซึ่งการตีทดลองเสียงโพนนั้นจะนิยมตีกันในตอนกลางคืน เสียงโพนดังก้องไปไกล ครั้นเมื่อวัดอื่นได้ยินเสียงโพนลูกวัดนึกสนุกจึงตีโพนเสียงดังโต้ตอบกันไปมา การตีโพนทดลองโต้ตอบไปมาของวัดต่างๆ กลายเป็นการประลองเสียงกันไปเองโดยปริยาย และกลายเป็นการแข่งโพนมาถึงปัจจุบัน

logoline