svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไทย-พม่า เดินหน้าสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2

28 สิงหาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตาก-แผนก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตากกับจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่าผ่านฉลุย ตัวแทน 2 ประเทศเห็นชอบร่วมกันเดินหน้าก่อสร้าง คาดใช้งบประมาณลงทุน 3,000 ล้านบาท รองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด-ยกระดับโลจิสติก์อาเซียน รอเพียงรัฐบาลอัดฉีดเงินทุน

ระบุหากสร้างเสร็จจะเชื่อมต่อกับถนนเมียวดี-กอกาเรก กลายเป็นจุดเชื่อมผ่านไทยที่ใกล้ย่างกุ้งมากที่สุดนายวีระชัย ระกำทอง ผู้อำนวยการแขวงการตากที่๒(แม่สอด) เปิดเผยว่า ทางตัวแทนกรมทางหลวง และตัวแทนกระทรวงการก่อสร้าง ประเทศพม่า ได้ร่วมประชุมสรุปผลการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ข้อสรุปว่าการสำรวจ และการออกแบบเสร็จแล้ว และมีมติเห็นชอบร่วมกันในการเร่งดำเนินการก่อสร้างสะพานดังกล่าว โดยทางฝ่ายพม่าแจ้งว่าในเรื่องของพื้นที่รองรับ และการเวนคืนที่ดินไม่มีปัญหาใดๆ ขณะที่ฝ่ายไทยพร้อมจะดำเนินการตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ตามนโยบายของรัฐบาล และจะเร่งดำเนินการในเรื่องของงบประมาณในการเวนคืนที่ดิน และการก่อสร้างต่อไปในการประชุมร่วมกันครั้งนี้ ได้ข้อสรุปในการออกแบบว่า จะเป็นสะพานที่มี 4 ช่องจราจรทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า ส่วนจุดตำแหน่งของการวางตอม่อสะพานได้ทางออกร่วมกันว่าจะไม่มีการวางตอม่อกลางน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตลิ่งทั้งสองฝั่ง และกระทบต่อทางเดินของน้ำในแม่น้ำเมย และต่อม่อจะตั้งห่างจากฝั่งทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 30 เมตร ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างลงความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีความเหมาะสม โดยสะพานแห่งนี้จะรองรับน้ำหนักตามมาตรการอาเซียน รวมถึงการป้องกันแผ่นดินไหวด้วย ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ"ช่วงสิ้นเดือนกันยายน 2557 บริษัทที่ปรึกษาที่ทำการออกแบบ และสำรวจการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 จะส่งมอบงานทั้งหมดให้กับกรมทางหลวง เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล พิจารณางบประมาณการก่อสร้าง จากเดิมที่กำหนดไว้โดยไม่รวมค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 2,600 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท โดยจุดที่เหมาะสมที่พิจารณาทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายพม่า คือ บ้านวังตะเคียน ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า เพราะเป็นจุดที่เหมาะสมกับการก่อสร้างสะพาน และเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงหมายเลข 12 และตัดทางหลวงหมายเลข 105 ส่วนฝั่งพม่าจะเชื่อมต่อไปยังเส้นทางเมียวดี-กอกาเรกที่รัฐบาลไทยได้สนับสนุนกการก่อสร้างให้เดินทางเข้าสู่ย่างกุ้งได้ใกล้และสะดวกที่สุด" นายวีระชัย กล่าวสำหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 เดิมที่ได้มีการพิจารณามาหลายครั้งแล้ว แต่ยังติดขัดในเรื่องของงบประมาณการก่อสร้าง กระทั่งทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายแดน อีกทั้งจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ซึ่งถือเป็น 1 ใน 5 ของโครงการนำร่องในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งตอนนี้ทางกรมทางหลวงมีความพร้อมที่จะดำเนินการแล้ว หากไม่มีปัญหาใดๆ จะทำให้สะพานแห่งนี้ กลายเป็นแลนด์มาร์คระบบโลจิสติกส์ระหว่างไทย-พม่าอย่างสมบูรณ์แบบพอ.เทอดศักดิ์ งามสนอง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า เห็นด้วยที่แผนการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 ได้ข้อสรุปที่จะเดินหน้าต่อให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่อการจัดตั้งเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด โดยที่ผ่านมา การขนส่งสินค้าระหว่างไทย-พม่าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 1 ยังไม่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้อย่างเต็มที่ และต้องผ่อนปรนให้มีการขนส่งสินค้าผ่านท่าข้ามต่างๆ ระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตากกับจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายด้าน ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะต้องแบ่งการใช้งานอย่างชัดเจนระหว่างสะพานฯแห่งที่ 1 และสะพานฯแห่งที่ 2 ให้มีความเป็นระเบียบมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ได้เกิดปัญหาความแออัดของรถขนส่งสินค้า และช่องทางของสะพานแห่งที่ 1 ค่อนข้างแคบ มีเพียง 2 ช่องทางจราจรเท่านั้น โดยต่อไปอาจจะต้องยกระดับการค้าขายผ่านสะพานทั้งหมด แทนการขนส่งสินค้าผ่านท่าข้ามต่างๆ ขณะที่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จะสามารถรวบรวมภาพของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล และส่งผบประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทย-พม่า"ตอนนี้หากพิจารณาความพร้อมของฝั่งไทยมีเต็มที่ และอำเภอแม่สอดได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ , การก่อสร้างถนน 4 เลน และการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2 ซึ่งเมื่อรูปแบบของการพัฒนาแนวชายแดนมีความชัดเจนแบบนี้แล้ว ก็จะทำให้ในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังมีความเป็นห่วงฝั่งพม่าว่า แม้จะมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดล่วงหน้าก่อนประเทศไทยไปแล้ว แต่ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทำอย่างไรที่จะให้ทั้ง 2 ฝั่งเดินควบคู่ไปพร้อมกันได้ด้วย จะพบว่า " พอ.เทอดศักดิ์ กล่าวนายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า แผนการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่ามีความชัดเจนขึ้น และถือว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และยกระดับระบบโลจิสติกส์ระหว่างไทย-พม่าร่วมกัน ซึ่งต่อไปไม่เพียงแต่จะใช้เป็นจุดเชื่อมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของ 2 ประเทศเท่านั้น แต่ยังเชื่อมต่อไปยังประเทศอินเดีย และยุโรป ผ่านถนนเอเชีย ซึ่งประชากรที่มีจำนวนมหาศาลในภูมิภาคแถบนี้ จะได้ประโยชน์ร่วมกัน และที่สำคัญจะพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศพม่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ในระดับ10% และมีโอกาสที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผลประโยชน์ของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลครั้งนี้จึงคุ้มค่า เพราะเชื่อว่าต่อไปอำเภอแม่สอด จังหวัดตากคงไม่ต่างจากฮ่องกง

logoline