svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไทย-4 ประเทศอาเซียน วิจัยวัคซีน "ไข้เลือดออก" สำเร็จ

24 กรกฎาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไทยร่วม 4 ประเทศอาเซียนวิจัยสำเร็จวัคซีนไข้เลือดออก ทดลองในเด็กเล็กก่อภูมิได้ถึง 56.5 % ป้องกันครอบคลุม 4 สายพันธุ์ ลดความรุนแรงของโรคได้ 88.5 % คร.คาดอีก 2 ปีคนไทยมีโอกาสได้ใช้ เตือนหญิงมีประจำเดือนเป็นไข้เลือดออกเสี่ยงอันตรายสูง เลือดออกมากถึงตาย

เมื่อวันที่ 24  ก.ค. ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค นพ.โสภณ เมฆธน อธิดกรมควบคุมโรค (คร.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 6ว่า คร.โดยคำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กำลังจะมีการบรรจุวัคซีนใหม่ที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เพื่อลดการป่วย การตายของคนไทย โดยจัดทำเป็นโครงการระดับชาติเรียกว่า โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้แก่ 1.การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ป้องกันหญิงไทยป่วยและตายจาโรคมะเร็งปากมดลูก 2.วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก 3.ผลักดันให้มีการให้วัคซีนคอตีบและบาดทะยกัในผู้ใหญ่เป็นการประจำ 10 ปีครั้ง  และ 4.ผลักดันให้มีการใช้วัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ บุคลากรทางการแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนอื่นๆที่มีคามสำคัญ
"สำหรับวัคซีนไข้เลือดออกที่ไทยร่วมวิจัยทดลองกับอีก 4 ประเทศโดยร่วมมือกับภาคเอกชนนั้น ขณะนี้ทราบผลว่าให้ผลดีสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันไข้เลือดออกได้ 56.5 % คาดว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าคนไทยจะมีโอกาสได้ใช้วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเรื่องของขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยสามารถป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ที่พบการระบาดในประเทศไทย"นพ.โสภณกล่าว
ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความสำเร็จของการวิจัยวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกว่า ขณะนี้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศของเอเชียที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนไข้เลือดออกต้นแบบ โดยเป็นการวิจัยร่วมของ 5 ประเทศ  คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ความสำเร็จครั้งนี้ในวารสารแลนด์เซ็ท (Landsat) ที่เป็นวารสารทางการแพทย์ระดับโลก ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโลกที่จะมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้
"วัคซีนไข้เลือดอที่มีการวิจัยได้สำเร็จครั้งนี้ พบว่า สามารถป้องกันโรคได้ 56.5 % ลดความรุนแรงของโรคได้ 88.5 % โดยได้ทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 2-14 ปีจำนวนกว่า 1 หมื่นราย โดยการฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือนและ 12 เดือน และวัคซีนนี้ป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ 1-4 "ศ.พญ.อุษา กล่าว
ศ.พญ.อุษา กล่าวด้วยว่า การวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกของประเทศไทยมีการเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยศ.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้ว  ส่วนความสำเร็จของการวิจัยครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 พื้นที่ที่ทำการวิจัย คือ รพ. โพธาราม รพ.บ้านโป่ง และรพ.กำแพงเพชร ซึ่งให้ความร่วมมือในการเป็นพื้นที่วิจัยจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ การที่จะได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่วิจัยต้องมีความพร้อม เช่น เป็นพื้นที่ที่มีความชุกขอโรคสูง มีความร่วมมือของผู้บริหารและบุคลากรในพื้นที่ ตลอดจนมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการวิจัยทดลองอย่างดีเยี่ยม
ศ.พญ.อุษา กล่าวอีกว่า วัคซีนที่วิจัยสำเร็จในครั้งนี้จะต้องมีการติดตามผลในกลุ่มตัวอย่างต่อเนื่องไปอีก 3 จนถึงปี 2560  ตามกฎเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก แต่ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นนวัตกรรมที่คนไทยควรภูมิใจที่ได้มีส่วนเป็นเจ้าของนวัตกรรมในการป้องกันโรคทีทั่วโลต่างให้ความสนใจ และหลังจากนี้อีกประมาณ 2-3 เดือนอาาจะมีการปรกาสความสำเร็จของการวิจัยทดลองวัคซีนไข้เลือดอออกในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาอีก 5  ประเทศที่ทำการทดลองเช่นเดียวกีนไทบในกลุ่มตัวอย่างกว่า 2  หมื่นรายโดยทำการทดลองในกลุ่มเด็กโต  หากรวมกันระหว่าง 2 กลุ่มประเทศทั้งเอเชียและละตินอเมริกาก็จะทำให้ลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทดลลองวัคซีนของโลกมีสูงถึงกว่า 3 หมื่นราย
"ในปัจจุบันไข้เลือดออกมีการเปลี่ยนแแปลงด้านอายุ โดยผู้ที่มีอายุมากขึ้นก็พบว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ดังนั้นผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้ไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น อยากเตือนถึงผู้หญิงที่มีประจำเดือนต้องระวังมากขึ้น เพราะหากป่วยเป็นไข้เลือดออกในช่วงที่มีประจำเดือนจะทำให้มีเลือดออกมากในช่องคลอด ซึ่งเป็นอันตรายมาก  รวมถึง หญิงที่ตั้งครรภ์ก็มีอันตรายมากเช่นกันต้องระวัง"ศ.พญ.อุษากล่าว

logoline