svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖) กับโครงการเพื่อสังคม

05 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖) กับโครงการเพื่อสังคม "Hidden Siam ถอดรหัสวัฒนธรรมและสร้างกระบวนการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมชุมชนไทย"

 "ชุมชนมอญ "บางกระดี่"กับโครงการ "HiddenSiam ถอดรหัสวัฒนธรรมและสร้างกระบวนการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมชุมชนไทย


1. ความสำคัญของชุมชนมอญ วัฒนธรรมมอญที่กำลังถูกลืม


ชนชาติ "มอญ" (Mon) เป็นชนชาติเก่าแก่เจ้าของอารยธรรมในแผ่นดินพม่าจากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า"มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่ามาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียเข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตงซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ"  ความรุ่งเรืองของอาณาจักรมอญมีความรุ่งเรืองมากมีการค้าขายติดต่อและรับอารยะธรรมของอินเดีย และลังกามาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนาโดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานหรือเถรวาทเข้ามาในภูมิภาค  และยังมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยะธรรมอินเดียไปยังชนชาติอื่นอย่างชาวพม่า ไทย และลาว แต่จากการที่มอญผ่านสงครามน้อยใหญ่จากการรุกรานของพม่า และชนชาติใกล้เคียงเกิดการกวาดต้อนผู้คน และเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนต่างๆในภูมิภาครวมทั้งสยาม ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวมอญได้อพยพเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาราวต้น   พุทธศตวรรษที่ ๒๑เรื่อยมาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ รวมประมาณ ๙ ครั้งและด้วยเหตุผลทางความมั่นคง ราชสำนักสยามจึงแบ่งชาวมอญให้ไปตั้งชุมชนเล็กๆในที่ต่าง ๆ  ซึ่งปัจจุบันมีชุมชนมอญและกลุ่มวัฒนธรรมมอญกระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลางริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯหลายชุมชนบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือและอีสาน และมีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่างชุมพร สุราษฎร์ธานี เป็นต้น 


"มอญ"จึงเป็นชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขกับสยามมาช้านานหลายศตวรรษเป็นชนชาติที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน มีอารยะธรรมเก่าแก่เป็นจุดเริ่มต้นของหลายขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชนชาติต่าง ๆ ในภูมิภาครวมถึงชนชาติไทยของเราด้วยโดยชาวมอญมีรายละเอียดทางวัฒนธรรมที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่องแต่ก็มีแนวโน้มที่จะเลือนหายไปเรื่อยๆ เพราะความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการหลั่งไหลเข้าของวัฒนธรรมต่างถิ่นต่างชาติ ต่างภาษา ตลอดจนเทคโนโลยีการสื่อสาร ผ่านสื่อต่างๆ อย่างมากมายรวมถึงคนรุ่นหลังเริ่มให้ความสำคัญลดลง ทำให้นับวันขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีที่สืบทอดมาจากอดีตจะยิ่งเลือนหายไป


2. โจทย์ของสถาบันพระปกเกล้าคืออะไรและเหตุใดเราจึงเลือกเรื่อง และพื้นที่นี้


สถาบันพระปกเกล้า เป็น"สถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม" ได้กำหนดให้นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย จัดทำโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติเพื่อมุ่งเน้นการดึงศักยภาพด้านต่าง ๆนำออกมาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมคืนประโยชน์กลับสู่สังคมโดยเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง


พวกเรานักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตยรุ่นที่ ๖  กลุ่มเหยี่ยว ได้ให้ความสนใจในเสน่ห์จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยและได้ตระหนักว่าความกลมกลืนทางวัฒนธรรมดังกล่าวจะทำให้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ต่างๆ บนความหลากหลายจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ซึ่งจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลแล้วพบว่า ชุมชน "มอญ"มีแนวโน้มที่จะเกิดการเลือนหายของวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาจากการล่มสลายของชุมชนวัฒนธรรมมอญในที่ต่าง ๆ ของประเทศที่ถูกกระแสสังคมสมัยใหม่ และกระแสของทุนนิยมกลืนความเป็นอัตตลักษณ์ที่ธำรงรักษาไว้จากอดีตนักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖  กลุ่มเหยี่ยว จึงได้ริเริ่มโครงการ "Hidden Siam ถอดรหัสวัฒนธรรมและสร้างกระบวนการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมชุมชนไทย"เพื่อถอดบทเรียนและองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม การละเล่นพิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติพันธุ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามตลอดจนให้เยาวชนรุ่นหลังและประชาชนทั่วไปได้สามารถเรียนรู้สืบทอดต่อไปได้ โดยกำหนดชุมชนไทย-มอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการ

3. สภาพชุมชนเดิมเป็นไง มีปัญหาอย่างไร

 

"ชุมชนมอญบางกระดี่"เรียกได้ว่าเป็นชุมชนชาวมอญไม่กี่ชุมชนในประเทศ ที่มีความพยายามในการธำรงรักษาอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมมอญของบรรพบุรุษให้คงอยู่ต่อไป  โดยมีแหล่งเรียนรู้ที่ยังมีชีวิตซึ่งสามารถสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นชาวมอญได้อย่างมีเสน่ห์ทั้งการใช้ภาษามอญในการสื่อสารกันในชุมชน การสืบสานอาชีพที่ทำมาจากอดีต เช่น การทำแส้จากก้านจาก  การทำตับจากสำหรับมุงหลังคา  การทำขนมโบราณ และการปักผ้าสไบมอญ  ตลอดจนการมุ่งมั่นสืบสานความเป็นชนชาติของชาวมอญในชุมชนด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเช่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ พิพิธภัณฑ์ภาพมอญ เป็นต้นอีกทั้งยังมีการสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านวงดนตรีเครื่องสายมอญ หรือ วงทะแยมอญที่ยังมีการบรรเลง และแสดงในงานต่าง ๆ อยู่เสมออย่าง "วงหงส์ฟ้ารามัญ" และนอกจากนี้ยังมีการนำภาษามอญมาสอนให้นักเรียนเยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษามอญในโรงเรียนวัดบางกระดี่ อีกด้วย

แต่การสืบสานวัฒนธรรมดังกล่าวนี้เริ่มจำกัดวงแค่เพียงคนรุ่นเก่าที่เติบโตมากับวัฒนธรรมในอดีต ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นคุณลุงคุณป้า ผู้สูงอายุเท่านั้นแต่คนรุ่นหลังต้องมีภาระในการทิ้งชุมชนไปหางานทำต่างถิ่น ประกอบกับเยาวชนรุ่นหลังก็ยังไม่เข้าใจ รู้คุณค่า และยังไม่ซึมซับวัฒนธรรมที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นอีกทั้งยังถูกแทรกแซงจากสื่อหลากหลายประเภท ทำให้ความสนใจที่จะธำรงรักษาวัฒนธรรมของบรรพบุรุษลดน้อยถอยลงไปทุกที

4. พวกเราไปทำอะไรบ้าง เจอปัญหาไรบ้าง


นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตยรุ่นที่ ๖  กลุ่มเหยี่ยว  จึงเห็นว่า มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชุมชนมอญบางกระดี่ ที่ยังหลงเหลืออยู่และมีจิตสาธารณะร่วมกันของคนในชุมชนในการธำรงรักษาไว้ควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและส่งต่อไปยังคนรุ่นต่อๆไปได้  เพื่อจะได้เป็นโมเดลต้นแบบที่สามารถประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆรวมถึงองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ได้ต่อไป จึงได้ดำเนินโครงการโดยใช้ชื่อว่า"Hidden Siam" ซึ่งมาจากคำว่า "Hidden" ที่แปลว่า ถูกซ่อนอยู่ และคำว่า"Siam" ที่หมายถึง ประเทศไทย เพื่อสื่อความหมายถึง "วัฒนธรรมและชุมชนที่อยู่ในประเทศไทยหรือสยามอันดีงามซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปเสมือนว่ายังถูกซ่อนจากสังคมทั่วไปอยู่"


การดำเนินโครงการนี้พวกเรากลุ่มเหยี่ยวได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมองค์ความรู้ในชุมชน ประมวลผลและจัดระบบข้อมูลที่ได้รับ สำหรับการดำเนินการถอดบทเรียนและองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการละเล่น พิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะส่งต่อข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อการสืบสานให้ยั่งยืนต่อไป โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพี่น้องชาวมอญบางกระดี่  โดยได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ในชุมชนจัดเป็นหมวดหมู่ และจัดทำป้ายบอกจุดเรียนรู้วัฒนธรรมมอญ และรวบรวมจัดทำแผนที่เดินดินเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนาธรรมมอญในชุมชนของผู้สนใจได้โดยสะดวก  อีกทั้งยังได้จัดทำ Web site ในนาม http://hiddensiam.comเป็นสื่อทางเลือกในการเข้าถึงองค์ความรู้ของชุมชนมอญบางกระดี่ที่สามารถเข้าถึงง่าย สะดวกรวดเร็วมีความทันสมัยทำให้คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจและร่วมสืบสานวัฒนธรรมมอญจากนั้นจะได้ส่งต่อความมุ่งมั่น ความหวงแหนและองค์ความรู้ที่ถูกจัดระบบอย่างชัดเจน ให้กับสมาชิกในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่รับช่วงไปดูแล สืบสาน และธำรงรักษาวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของตนและส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป รุ่นสู่รุ่น ไม่รู้จบ ซึ่งกรณีของชุมชนบางกระดี่เป็นเพียงต้นแบบที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ต่อยอดและขยายผลการถอดรหัสวัฒนธรรมในชุมชนอื่น ๆเพื่อร่วมสืบสานความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในความหลากหลายที่เป็นเหมือนมนต์เสน่ห์ในความงดงามของวิถีชีวิตความเป็นชนชาติที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข 

5. หลังจากทำวันนี้เขาเป็นไง อยากเชิญชวนใคร อย่างไร


วันนี้ชาวชุมชนมอญบางกระดี่กลายเป็นชุมชนที่มีความตระหนักรู้ในความเป็นชนชาติของตนที่สืบเชื้อสายมาแต่อดีตจากการที่นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖  กลุ่มเหยี่ยว ได้ลงพื้นที่ พูดคุย ทำกิจกรรมกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในฐานะขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่จะต้องธำรงรักษาและสืบสานต่อไปซึ่งชาวชุมชนได้เห็นถึงความตั้งใจจริง ในการหาข้อมูล และรวมรวมองค์ความรู้ในชุมชนจัดทำป้ายระบุจุดเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ในชุมชนเช้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมอย่างจริงใจของนักศึกษากลุ่มเหยี่ยว ทำให้เด็ก ๆ น้อง ๆเยาวชน ตลอดจนผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนมีความตื่นตัวขึ้นสังเกตได้จากการให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆในชุมชนอย่างเต็มที่ 


จากนี้ไปนอกจากหน้าที่ในการธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษชนชาติมอญของชุมชนวัดบางกระดี่แล้ว นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ กลุ่มเหยี่ยวขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่สนใจศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมอญที่มีชีวิตได้เห็นวิถีการธำรงรักษาวัฒนธรรมของชุมชนมอญและได้สัมผัสกลิ่นไอของความงดงามทางวัฒนธรรมของมอญที่ยังหลงเหลืออยู่  เพื่อจะได้สืบทอดความงดงามนั้นไปสู่อนุชนรุ่นหลังจากรุ่นสู่รุ่น ไม่รู้จบ  ก็ขอเชิญเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวชุมชนมอญบางกระดี่ได้โดยติดต่อผ่านทางตัวแทนของนักศึกษากลุ่มเหยี่ยวได้ท่านจะได้รู้ว่ายังมีเสน่ห์ของเมืองไทยที่ซ่อนอยู่ในชุมชนเล็กๆในเมืองหลวงอย่างชุมชนชาวมอญวัดบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร


นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖) กับโครงการเพื่อสังคม


"สยามเมืองยิ้ม"เป็นคำที่แสดงถึงความเป็นสยาม ดินแดนแห่งความสุขแผ่นดินที่มีเสน่ห์จากความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นที่รวมของหลายชาติพันธุ์ ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและรู้สึกถึงความกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ จนบางครั้งแยกไม่ออกว่าจริงๆแล้ว  ความเป็นอัตลักษณ์ ของแต่ละวัฒนธรรมมีจุดเชื่อมโยง ผสมผสาน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร


เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจ สืบสานและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมตลอดจนวิถีชีวิตของแต่ละชาติพันธุ์ที่สืบทอดความเป็นอัตลักษณ์ผ่านยุคสมัยจากรุ่นสู่รุ่น สถาบันพระปกเกล้าโดยนักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖  (ปนป.๖) กลุ่มเหยี่ยว ได้ให้ความสนใจในเสน่ห์จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยและได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและการสืบสานถึงเยาวชนรุ่นหลัง จึงได้จัดทำโครงการ "Hidden Siam ถอดรหัสวัฒนธรรมและสร้างกระบวนการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมชุมชนไทย"เพื่อถอดบทเรียนและองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม การละเล่นพิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติพันธุ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อสร้างเป็นต้นแบบให้เยาวชนรุ่นหลังและประชาชนทั่วไปได้สามารถเรียนรู้สืบทอดต่อไปได้โดยกำหนดชุมชนไทย-มอญ บางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการรองศาสตราจารย์ ดร. ศุภสวัสดิ์ชัชวาลย์คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มเปิดเผยว่า "นักศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าแต่ละกลุ่มจะจัดทำโครงการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยนักศึกษากลุ่มเหยี่ยว ปนป.๖นี้ได้พลิกมิติใหม่โดยสนใจในเรื่องวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยซึ่งโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชนทั่วไป เยาวชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมเพื่อที่จะได้เข้าใจ อนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมไทยอันเปรียบเสมือนรากฐานของชาติให้คงอยู่ตลอดไป"


"ชุมชนมอญบางกระดี่"เรียกได้ว่าเป็นชุมชนชาวมอญไม่กี่ชุมชนในประเทศ ที่มีความพยายามในการธำรงรักษาอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมมอญของบรรพบุรุษให้คงอยู่ต่อไปซึ่งควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อเป็นโมเดลต้นแบบที่สามารถประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆรวมถึงองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ได้ต่อไป โดยชื่อของโครงการว่า"Hidden Siam"มาจากคำว่า "Hidden" ที่แปลว่า ถูกซ่อนอยู่ และคำว่า"Siam" ที่หมายถึง ประเทศไทย เพื่อสื่อความหมายถึง "วัฒนธรรมและชุมชนที่อยู่ในประเทศไทยหรือสยามอันดีงามซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปเสมือนว่ายังถูกซ่อนจากสังคมทั่วไปอยู่"


นักศึกษากลุ่มเหยี่ยวหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖) สถาบันพระปกเกล้าได้ลงพื้นที่ เพื่อเก็บรวบรวมองค์ความรู้ในชุมชน ประมวลผลและจัดระบบข้อมูลที่ได้รับ สำหรับการดำเนินการถอดบทเรียนและองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการละเล่น พิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะส่งต่อข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อการสืบสานให้ยั่งยืนต่อไป โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพี่น้องชาวมอญบางกระดี่


ชุมชนมอญบางกระดี่มีแหล่งเรียนรู้ที่ยังมีชีวิตซึ่งสามารถสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นชาวมอญได้อย่างมีเสน่ห์ทั้งการใช้ภาษามอญในการสื่อสารกันในชุมชน การสืบสานอาชีพที่ทำมาจากอดีต เช่น การทำแส้จากก้านจาก  การทำตับจากสำหรับมุงหลังคา  การทำขนมโบราณ และการปักผ้าสไบมอญ ตลอดจนการมุ่งมั่นสืบสานความเป็นชนชาติของชาวมอญในชุมชนด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเช่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ พิพิธภัณฑ์ภาพมอญเป็นต้น อีกทั้งยังมีการสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านวงดนตรีเครื่องสายมอญหรือ วงทะแยมอญ ที่ยังมีการบรรเลง และแสดงในงานต่าง ๆ อยู่เสมออย่าง"วงหงส์ฟ้ารามัญ" และนอกจากนี้ยังมีการนำภาษามอญมาสอนให้นักเรียน เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษามอญ ในโรงเรียนวัดบางกระดี่ อีกด้วย


นักศึกษากลุ่มเหยี่ยวหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖)ได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ในชุมชน จัดเป็นหมวดหมู่และจัดทำป้ายบอกจุดเรียนรู้วัฒนธรรมมอญและรวบรวมจัดทำแผนที่เดินดินเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนาธรรมมอญในชุมชนของผู้สนใจได้โดยสะดวก  อีกทั้งยังได้จัดทำ Web site ในนาม http://hiddensiam.comเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในมิติต่างๆเป็นสื่อทางเลือกในการเข้าถึงองค์ความรู้ของชุมชนมอญบางกระดี่ ที่สามารถเข้าถึงง่ายสะดวกรวดเร็วมีความทันสมัยทำให้คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจและร่วมสืบสานวัฒนธรรมมอญจากนั้นจะได้ส่งต่อความมุ่งมั่น ความหวงแหนและองค์ความรู้ที่ถูกจัดระบบอย่างชัดเจนให้กับสมาชิกในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่เช่นนักเรียนชั้นม.3 โรงเรียนวัดบางกระดี่ รับช่วงไปดูแล สืบสานและธำรงรักษาวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของตน และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป รุ่นสู่รุ่นไม่รู้จบ ซึ่งกรณีของชุมชนบางกระดี่ เป็นเพียงต้นแบบที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอด และขยายผลการถอดรหัสวัฒนธรรมในชุมชนอื่น ๆ เพื่อร่วมสืบสานความเป็นอัตลักษณ์ทาง    ชาติพันธุ์ในความหลากหลายที่เป็นเหมือนมนต์เสน่ห์ในความงดงามของวิถีชีวิตความเป็นชนชาติที่อยู่ร่วมกันอย่าง    เป็นสุข อย่างรู้รักสามัคคี ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของบรมราชจักรีวงศ์บนผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก "แผ่นดินไทย"


นักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ ๖ (ปนป.๖) กับโครงการเพื่อสังคม

logoline