svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

วันนี้ในอดีต 16 ก.ย. 2500 ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ก่อรัฐประหาร

15 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้ในอดีต 16 ก.ย. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพล ป. พิบูลสงครามสาเหตุเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ที่มีการกล่าวขานว่า เป็นการเลือกตั้งสกปรก

วันนี้ในอดีต 16  ก.ย. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม สาเหตุการรัฐประหาร เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ปี 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก ซึ่งผล คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก และได้ตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนักจากการเดินประท้วงของประชาชนจำนวนมาก ที่เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เมื่อสถานการณ์ลุกลาม จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบรัฐบาล ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที   จากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อจอมพลสฤษดิ์ เห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. ขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ จึงประกาศลาออกจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม ในรัฐบาลของ จอมพล ป. คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว

            

วันที่ 13  ก.ย. ปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ และคณะทหาร ยื่นคำขาดต่อ จอมพล ป. ให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจาก จอมพล ป. ว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์   ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยค"พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"

            

วันที่ 15 ก.ย. ปี 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. ก็กำลังเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ในข้อหากบฏ แต่ไม่ทัน 

             

ในคืนวันที่ 16  ก.ย. ปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ นำกำลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.  ส่วน  จอมพล ป. ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ

             

หลังยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. แล้ว จอมพลสฤษดิ์ เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งนายพจน์ สารสิน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลพจน์ สารสิน จัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พล.ท. ถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ปี 2501 แต่เวลาต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาล พล.ท. ถนอม และ พล.ท.ถนอม ก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพลสฤษดิ์ จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม นายกรัฐมนตรียึดอำนาจรัฐบาลตนเองเมื่อ 20 ต.ค. ปี 2501

            

ต่อมาวันที่ 9 ก.พ. ปี2502 จอมพลสฤษดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี  ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกฯ จอมพลสฤษดิ์  ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่นพรรคการเมือง โดยกล่าวว่า"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" นโยบาย ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่น,กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล ,กฎหมายปรามการค้าประเวณี ตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 25042509) มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ เช่น ไฟฟ้า,ประปา, ถนนให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า"น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก" 

           

จอมพลสฤษดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค อายุ 55 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

logoline