svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"สวนดุสิตโพล"เผย ปชช.เกือบ 30 %อยากให้จัดการเลือกตั้ง

18 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สวนดุสิตโพล"เผยผลสำรวจปชช.เกือบ 30 %อยากให้จัดการเลือกตั้ง ยกเหตุประเทศจะได้เดินไปข้างหน้าต่อไป แถม 88.20 %ปชช.อยากเห็นปชช.รักษาสิทธิตัวเองด้วยการไปเลือกตั้ง

 
          18 มิ.ย. 60 - ข่าวการเลือกตั้งยังคงเป็นประเด็นร้อน และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองออกมาเป็นระยะๆ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาแล้วก็ตาม ก็ใช่ว่าการเลือกตั้งทั่วไป และการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้ง "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,237 คน ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้
          1.ประชาชนต้องการให้มีเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วงใด?  อันดับ 1 โดยเร็ว 28.29 % เพราะอยากเห็นบ้านเมืองก้าวหน้า ปัญหาต่างๆคลี่คลาย การเลือกตั้งมีผลต่อการพัฒนาประเทศ ฯลฯ อันดับ 2 ตามโรดแมปของนายกฯ ที่ยังไม่ได้กำหนดเวลา 26.19 % เพราะจะได้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ ควรมีความพร้อมทุกๆด้าน อยากให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ฯลฯ อันดับ 3 ภายในปี พ.ศ.2561 21.75 % เพราะมีความเป็นไปได้มากที่สุด เป็นเวลาที่เหมาะสม ทุกฝ่ายมีเวลาเตรียมความพร้อมได้มากขึ้น ฯลฯ อันดับ 4 ภายในปี พ.ศ.2560 นี้ 15.52 % เพราะนายกฯเคยประกาศไว้ว่าจะเลือกตั้งในปี 2560  หลังจากประกาศใช้ รธน. ฉบับใหม่ก็ควรจะมีการเลือกตั้งได้แล้ว ฯลฯ  อันดับ 5 ไม่แน่ใจ 8.25 %
     2. สิ่งที่ประชาชนตั้งใจสำหรับการเลือกตั้งในครั้งที่จะถึงนี้ คือ อันดับ 1 ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รักษาสิทธิของตนเอง 88.20 % อันดับ 2 เลือกคนดี คนที่เหมาะสมเข้ามาทำงาน 76.96 % อันดับ 3 อยากเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เศรษฐกิจฟื้นตัว 66.21 % อันดับ 4 ไม่ขายเสียง ไม่ชี้นำ /การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม 65.72 % อันดับ 5 ติดตามข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ 46.81 %
     3. ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งในครั้งที่จะถึงนี้น่าจะได้ ส.ส.เข้าสภาฯ แบบใด? อันดับ 1 ดีขึ้นกว่าทุกครั้ง 47.62 % เพราะเชื่อว่ารธน.ฉบับใหม่จะทำให้ได้นักการเมืองที่ดีเข้ามาทำงาน คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและมีความตื่นตัวกับการเลือกตั้งในครั้งที่จะถึงนี้ ฯลฯ อันดับ 2 เหมือนเดิม 46.80% เพราะพฤติกรรมนักการเมืองเปลี่ยนแปลงยาก ยังคงมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก น่าจะเป็นคนกลุ่มเดิม หน้าเดิม ที่เข้ามา ฯลฯ อันดับ 3 แย่กว่าทุกครั้ง 5.58 % เพราะการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ อาจเกิดความขัดแย้งมากขึ้น กฎหมายเลือกตั้งบางข้อ ยังเป็นประเด็น และไม่ได้รับการยอมรับ ฯลฯ

logoline