svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปัญหาใหญ่คอร์รัปชั่น ยุค "ประยุทธ์" อยู่ที่พวกพ้อง

26 เมษายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การคอร์รับชั่นเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย และกลายเป็นเหตุผลหลักของการรัฐประหาร ซึ่งการเข้าสู่อำนาจการปกครองของ คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็อาศัยเหตุผผลนี้เช่นเดียวกัน

  แต่ดูเหมือนว่าเวลาล่วงเลยไปเกือบสามปี ปัญฆาเหล่านี้ยังไม่คลี่คลาย และมีคำถามทบกลับไปว่าสถานการณ์คอร์รับชั่นในขณะนี้เป็นเช่นไร  มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ (ทีดีอาร์ไอ) และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)(ACT)  จึงได้จัดเวทีเสวนา ทีดีอาร์ไอ-ACT "ติดตามนโยบาย ต่อต้านคอร์รัปชัน ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์"            โดยก่อนการเริ่มการเสวนานายณัชพล ประดิษฐเพชรา นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ได้นำเสนอผลงาวิจัย เรื่อง สถานการณ์และทิศทางคอร์รัปชันไทย ว่า ในสายตาคนไทย มองว่า สถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันรุนแรงน้อยลงแต่ยังไม่ได้ดีมาก มีความตื่นตัวต่อปัญหาเพิ่มมากขึ้น ความทนทานต่อการคอร์รัปชันลดลงมาก แต่ประชาชนยังไม่ค่อยเชื่อมั่นในกลไกต่อต้านคอร์รัปชันต่างๆมากนัก                 ส่วนในสายตาต่างประเทศ มองว่า สถานการณ์คอร์รัปชันยังไม่ถือว่าดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้แย่ลงตั้งแต่รัฐบาลมา คะแนนที่ตกลงมาคือคะแนนที่เกี่ยวกับการให้น้ำหนักเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตยมากขึ้น ถ้าไม่มีเรื่องประชาธิปไตย สถานการณ์คอร์รัปชันไม่ได้เลวลงหรือดีขึ้น     ภายหลังการนำเสนองานวิจัย  ก็มีการเสวนาโดยมีวิทยากรประกอบด้วย  ดร.มานะ นิมิตรงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ดร.กิตติเดช ฉันทังกูล สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย นายอธึกกิต แสวงสุข ผู้ดำเนินรายการ voice tv และคอลัมนิสต์ข่าวสด ดำเนินรายการโดย นายธิปไตร แสละวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ที่ดีอาร์ไอ                ดร.มานะ กล่าวว่า การติดตามนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันของรัฐบาล จากท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประการที่ 1 คือ การให้ความสำคัญจัดซื้อจัดจ้างอย่างชัดเจน เช่น การใช้ข้อตกลงคุณธรรม การโยกย้ายข้าราชการนักการเมือง นักการเมืองท้องถิ่น  และสิ่งที่นายกฯ ทำมาในช่วง 3 ปี คือการผลักดันให้มีการเปิดเผยงบประมาณต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ  และที่สำคัญมีมาตรการบังคับให้การจัดซื้อจัดจ้างต้องเปิดเผย                 แต่ยังมีข้อกังขาเกิดขึ้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดเรื่องเกี่ยวของกับคนใกล้ตัวของนายกฯ เช่น อุทยานราชภักดิ์ การไปดูงานฮาวายของรองนายกฯ การบรรจุเครือญาติ เข้ารับราชการ หรือการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่  อย่างล่าสุด การไม่ให้ข้อมูล และพยายามปิดเป็นความลับในการสั่งซื้อเรือดำน้ำ จึงถูกวิจารณ์ว่าเปิดเผยทุกเรื่องกเว้นเรื่องคนใกล้ตัว ทั้งถูกมองว่าเป็นระบบการทำงานแบบพวกพ้องและอำนาจนิยม                ดร. มานะ กล่าวว่า ประการที่ 2. การมีส่วนร่วม ถือรัฐบาลนี้รับฟังเสียงจากองค์กรต่างๆ อยู่บ้าง แต่ไม่ทั่วถึง เป็นเพราะว่าเสียงองค์กรเหล่านั้นมีพลังไม่มากพอ แต่ภาพที่ได้เห็นมีนักวิชาการ ภาคประชาชนส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมทำงานกับภาครัฐตอนที่มีการตั้งสปช. แต่พอเปลี่ยนมาเป็นสปท. กลับไม่มีซึ่งเป็นการจำกัดกลุ่มคน  เป็นประเด็นให้พูดถึงเรื่องของพวกพ้อง ส่วนกลุ่มประชารัฐ ก็ถูกตั้งคำถามว่าภาคธุรกิจเข้าจำนวนมาก ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เชื่อได้อย่างไรว่าจะไม่มีคอร์รัปชันเชิงนโยบายแฝงอยู่ ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้หน่วยงานต่างๆ ที่ขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้ทำงานได้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง    ส่วนของกฎหมายและการบังคับใช้ พบว่าปัญหาหลักของรัฐบาลนี้คือ กลไกของราชการยังไม่ตอบสนองนโยบายที่ออกมา เช่น พ.ร.บ. อำนวยวามสะดวก ที่ผ่าน มา 2 ปียังไม่มีการพัฒนาการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ประชาชนกว่า 95 เปอร์เซ็นไม่รู้จักกฏหมายฉบับนี้  ประการที่ 3. การแก้ปัญหาเชิงระบบ การปฎิรูปที่ประชาชนอยากเห็นทั้งการปฎิรูปตำรวจ การศึกษา กระบวนการยุติธรรม แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังมองไม่เห็น แต่ก็มีกฏหมายออกมาบ้างแล้ว คือ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก และพ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง โดย องค์กรระหว่างประเทศให้การยอมรับว่าเป็นการออกกฏหมายอย่างฉลาด โดยรวมในการแก้กฏหมายยังเหลืออีกกว่า 22 ฉบับ ที่รัฐธรรม ที่ต้องมีการปฎิรูปหรืออกใหม่ โดยเฉพาะมาตรา 63 รัฐต้องการสนับสนุนส่งเสริมประชาชนในการรวมตัวต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงได้รับการปกป้องตามมาตรา 41 และมาตรา 51 ดร.มานะ กล่าวต่อว่า ประการที่   4. เรื่องการรณรงค์การสื่อสาร ซึ่งป็นเรื่องที่ถูกจำกัดอย่างมาก แต่โชคดีที่กลุ่มนักวิชาการและภาคประชาสังคมผลักดันในเรื่องนี้ จากความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับคอร์รัปชันจึง ได้เห็นความตื่นตัวของข้าราชการจำนวนมากในหลายกระทรวง รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่น ภาคประชาชนอย่างชัดเจน และคำชมต่อตัวนายกฯ จากโพลต่างๆ ต่างก็เชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาคอรัปชัน แม้จะเกิดภาพการไม่จัดการคนใกล้ตัวก็ตาม  และยังมองมองว่ารัฐบาล ขับเคื่อนตามกระแสสังคม หรือโซเชียวมีเดียมาก 3 ปีที่ผ่านนมา รัฐบาลทำไปหลายเรื่องแต่ยังไม่ได้ผลเต็มร้อยและขาดความต่อเนื่อง                 ดร.กิตติเดช ฉันทังกูล สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวว่า ข้อตกลงคุณธรรม ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเพียงการเซ็นสัญญา แต่จริงๆสัญญาคุณธรรมนี้มีการระบุว่า หน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการต้องเปิดเผยข้อมูล ให้เอกชนหรือผู้สังเกตการณ์อิสระที่เข้ามาดูในโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์อิสระไม่ได้เข้าแทรกแซง แต่เป็นกระบวนการเข้าไปนั่งดู นั่งฟัง และหากสงสัยจะถามเป็นรายลักษณ์อักษร ซึ่งหน่วยงานรัฐต้องชี้แจงรายละเอียดได้ ซึ่งหากไม่ทำจะรายงานไปยังหน่วยงานกลางของรัฐ ซึ่งคือกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผลโดยตรงกับหัวหน้าที่ดูแลโครงการ มีความรวดเร็วกว่าคำสั่งทางการปกครอง ที่จะมาสั่งสอบสวน ดังนั้นกระบวนการนี้จึงมีประสิทธิภาพมากกว่า                 ส่วนการวัดผลเบื้องต้น คืองบประมาณที่สามารถประหยัดได้จากโครงการต่างๆ  ทั้งนี้การจะประหยัดงบประมาณไม่ได้หมายความว่าทุกโครงการจะไม่มีการทุจริตแต่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐจะดีขึ้นและโปรงใสขึ้น ส่งผลต่อการเปิดโอกาสให้เอกชนผู้ประมูลเข้ามามากขึ้น เกิดการแข่งขันด้านราคา การเสนอสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น หน่วยงานรัฐก็ได้ซื้อของในราคาที่ถูกลงแต่ได้ของที่มีคุณภาพ จากเดิมที่มักไปซื้อของแพงแต่มีคุณภาพไม่ดีเป็นกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่การเข้ามาจับผิด แต่เเข้ามาช่วยให้การทำงานโปร่งใสมากขึ้น หากไม่มีคนให้ก็ไม่มีคนรับ และจะไม่เกิดการคอร์รัปชัน โดยกล่าวได้ว่าเป็นการช่วยสะกัดการซื้อความได้เปรียบทางการแข่งขัน  การซื้อความสะดวกรวดเร็ว และการซื้อความผิด                 ดร.กิตตเดช กล่าวต่อว่า  ขณะนี้มีบริษัทที่สนใจ เข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรมกว่า  833 บริษัท ครึ่งนึงเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ผ่านการรับรอง 227 บริษัท  อย่างไรก็ตามตนขอให้ 5 คะแนนจาด10 คะแนน  การตรวจสอบมีหลายมิตติ ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลเป็นรัฐบาลพิเศษ สิ่งที่เอื้อคือการออกกฎหมายออกระเบียบ ในเรื่องการป้องกันทุจริต จัดซื้อจัดจ้าง ที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลรัฐประหาร เพราะหากเป็นรัฐบาลมาจากเลือกตั้งจะไม่ตอบเสนอเร็วแบบนี้  "ส่วนเรื่องที่จะเอื้อประโยชน์กับคนรอบข้าง ญาติ พี่น้อง สังคมไทย เป็นระบบอุปถัมภ์ ผมว่ารัฐบาลเผด็จการอาจจะไม่สามารถตรวจได้ แต่ได้สร้างระบบขึ้นมาใหม่"                 ขณะที่ อธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง  กล่าวว่า คอรปชัน มีทุกยุคทุกสมัย แต่10 ปีที่ผ่านมา หลังปฎิวัติปี 49 ทุจริตแรงขึ้น เพราะการต่อสู้ทางการเมืองสูง ต่างตอบแทบต้องสูงตามไปด้วย การทุจริตรัฐบาลเพื่อไทยหนักกว่ารัฐบาลทักษิณ เพราะรัฐบาลทักษิณไม่ต้องแคร์ใคร เป็นศูนย์รวมอำนาจ  ทั้งนี้รัฐบาลคสช.ประสบความสำเร็จเรื่องการสร้งภาพลักษณ์ ในการต่อต้านคอรัปชัน ด้วยบุคคลิคในการไม่แคร์ใครของนายกฯ และอำนาจในม.44 ในการโยกย้าข้าราชการท้องถิ่น เพราะไม่ได้เลือกข้าง มีทุกสี ทุกฝ่าย ทำให้คนเชื่อว่านายกฯ ไม่แคร์ใครไม่เข้าข้างใคร "แต่พอมีอำนาจก็มีปัญหา เพราะอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องแคร์คนใกล้ชิด คนข้างๆ เป็นระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทย"  ส่วนเรื่องพ.ร.บอำนวยความสะดวก  ชาวบ้านเขาไม่สนใจ สมัยนี้ถ่ายคลิปโพสโซเชียล วันเดียวจบ แต่ก็ต้องยอมรับว่า รัฐบาลเอาจิงหลายเรื่อง ทั้งพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง พ.ร.บ.ข้อตกลงคุณธรรม  แต่ทั้งหมด มีเรื่องสิ่งที่ตกไป คือ เรื่องเสรีในการตรวจสอบ ถ้านับในการแต่งตั้งโยกย้าย น่าจะมีการขจัดระบบอุปถัม เพราะเป็นต้นทางของการคอรัปชัน จะแก้ระบบต้องกระจายอำนาจ มีเสรีภาพ การตรวจสอบ  การกระจายอำนาจไม่ค่อยเดิน                ทั้งนี้ที่ผ่านมาในการจับคอรัปชัน คือ มีคนร้อง มีคนมาแฉ แต่ถ้าตกลงกันได้ ก็ไม่มีข้อมูลออกมา ภาพรวมของการรัฐประหารอันดับหนึ่งไม่ใช่ปราบปรามคอรัปชัน แต่อันดับหนึ่งคือให้บ้านเมืองสงบ สิ่งที่จะสร้างอำนาจรัฐที่เข้มแข็ง รัฐราชการที่เป็นใหญ่ แต่พยายามปรับปรุงข้าราชการเป็นใหญ่ ทำให้อำนาจตรวจสอบลดลง หากให้คะแนนความตั้งใจตนให้ 6-7  ในบางเรื่องได้ แต่เรื่องโครงสร้างตนให้คะแนน 0                 ดูเหมือนจากข้อสรุปของวงสัมมนาจะเข้าใจได้ไม่ยาก ว่าปัญหาใหญ่ของการจัดการคอร์รับชั่นของรัฐบาล "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"  จะอยู่ที่คนใกล้ตัวและพวกพ้อง เพราะจากการกระทำที่ผ่านมายังทำให้คนเชื่อไม่ได้ว่า "การปราบคอร์รับชั่น" ทำกับทุกคนจริงๆ

logoline