svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

แถลงปิดคดีสอย"สุรพงษ์" ปมออกพาสปอร์ตให้ "แม้ว" ป่วน

29 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แถลงปิดคดีสอย"สุรพงษ์"ปมออกพาสปอร์ตให้ "แม้ว"ป่วน "ปิ้ง"เห็น"สนช."โหรงเหรง ฟังแถลงปิดสำนวนถอดถอน งัดรธน.ขอนับองค์ประชุม สมาชิกโต้วุ่น นัดลงมติเชือด 30 มี.ค.นี

          29 มี.ค.60 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2  เป็นประธาน ได้พิจารณาดำเนินการกระบวนการถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมว.ต่างประเทศกรณีออกหนังสือเดินทางให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯโดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงปิดคดีของคู่กรณีระหว่างป.ป.ช.ผู้กล่าวหา และนายสุรพงษ์ ผู้ถูกกล่าวหา โดยน.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. เป็นตัวแทนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการแถลงปิดคดี ขณะที่นายสุรพงษ์ ได้ขออนุญาตนำนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้าร่วมประชุมด้วย โดยน.ส.สุภา ได้นำเอกสารจำนวน 11 หน้า ซึ่งเป็นเนื้อหารายละเอียดของการไต่สวน และการชี้มูลคดีของนายสุรพงษ์ พร้อมได้ลำดับถึงขั้นตอนการไต่สวนคดีของกรรมการป.ป.ช.ว่า นายสุรพงษ์ได้ทำผิดระเบียบกระทรวงการต่างประเทศในการออกหนังสือเดินทางให้กับนายทักษิณ ทั้งที่เป็นผู้ที่มีคดีก่อการร้าย และอยู่ในบัญชีรายชื่อห้ามออกหนังสือเดินทาง แต่กลับมีการออกหนังสือเดินทางให้ ใช้เวลาเพียงแค่ 1 วัน โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) และศาลว่า เป็นผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อห้ามออกหนังสือเดินทางหรือไม่
           น.ส.สุภา กล่าวว่า โดยสรุปแล้วนายสุรพงษ์กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157  กระทำผิดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2504 มาตรา 123/1 และปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามระเบียบสำนักรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมืองพ.ศ. 2551  ข้อ 9,10,14 และ 27 ข้อที่ร้ายแรงคือข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาลโดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยม ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี  การเคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด ต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัว หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งของข้าราชการการเมืองไปแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ และต้องไม่ประพฤติตนก่อให้เกิดความเสียหาย เสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของชาติ การฝ่าฝืนจริยธรรมของนายสุรพงษ์ถือเป็นเรื่องร้ายแรงเพราะเป็นเรื่องสาธารณะ แต่ทำตัวอย่างขัดต่อจริยธรรม สมควรจะถูกถอดถอน
           จากนั้นนายสุรพงษ์ ได้แถลงปิดคดี ซึ่ง นายสุรงพษ์แถลงปิดคดีไม่ถึง 10 นาที ก็ได้ร้องขอให้ตรวจสอบองค์ประชุม โดยอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 13 ที่ระบุว่า การประชุมต้องมีสมาชิกมีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แต่เท่าที่ดูเห็นสมาชิกสนช.เข้ามาร่วมประชุมฟังการแถลงปิดคดีแค่ประมาณ 50 คน ทั้งๆที่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัดสินลงมติตนในวันพรุ่งนี้ จนนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานต้องกดออดเพื่อนับองค์ประชุม ทำให้สมาชิกสนช.ต่างทยอยเข้ามาในห้องประชุม พร้อมทั้งได้ลุกขึ้นอภิปรายทักท้วงคัดค้านการทำหน้าที่ของประธาน ที่ปล่อยให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีสิทธิเสนอนับองค์ประชุม อีกทั้งยังปล่อยให้พูดจากล่าวร้ายเสียดสี ทำให้รัฐสภาอันทรงเกียรติเสื่อมเสียเหมือนสภาในอดีต แถมผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งยังนำบุคคลภายนอก คือ นายเรืองไกร ที่เป็นบุคคลที่เคยแถลงข่าวข่มขู่ ใส่ร้าย ตีปลาหน้าไซ และจะแจ้งความเอาผิดประธาน รองประธานและสมาชิก สนช. อย่างไรก็ตามสมาชิกอภิปรายคัดค้านพฤติกรรมของนายสุรพงษ์อย่างดุเดือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 149 เสียง ไม่ให้ตรวจนับองค์ประชุม จากนั้นนายสุรชัยเชิญคู่กรณีกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยให้นายสุรพงษ์ แถลงปิดคดีต่อจนจบในเวลา 16.35 น ซึ่งประธานได้นัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนในวันที่ 30 มี.ค. เวลา 10.00 น. .
           รายงานข่าวจากสมาชิกสนช.ระบุว่า ในการประชุมสนช.เพื่อลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนายสุรพงษ์ในวันที่ 30 มี.ค. นี้ ซึ่งถือเป็นคดีถอดถอนสุดท้ายที่สนช.จะดำเนินกระบวนการถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ2557 โดยคะแนนในการถอดถอนได้ จะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกสนช.ทั้งหมด ( สนช. 250 คน)หรือไม่น้อยกว่า 150 เสียงขึ้นไป โดยคาดว่าการลงคะแนนให้ถอดถอนจะสูงกว่า 200 คะแนนขึ้นไป เนื่องจากเหตุการณ์วุ่นวายที่นายสุรพงษ์ขอให้ตรวจสอบองค์ประชุมสนช.ในวันนี้ สร้างความไม่พอใจแก่สมาชิก สนช.เพิ่มมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ ดังนั้นจึงเชื่อคะแนนถอดถอน

logoline