svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ย้อนศึกษาปัจจัยปรองดองล้มเหลว

24 มกราคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

10 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามสร้างความปรองดองเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง และมักจบลงด้วยความล้มเหลวแทบทุกครั้ง อะไรคือสาเหตุและบทเรียนที่สังคมควรกลับไปศึกษา ติดตามจากรายงาน คุณ ธัญวัฒน์ อิพภูดม

แม้จะตั้งชื่อว่างานพบปะสื่อมวลชน แต่นี่คือโอกาสสำคัญ ที่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รวมทั้งผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ ได้ชี้แจงถึงกระบวนการปรองดองต่อสังคม
กระบวนการที่กำลังเกิดขึ้น ถือเป็นความครั้งใหม่ของรัฐบาลไทย หลังจากเคยล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง รายงานปรองดอง ชุด คอป.ที่มีนาย คณิต ณ นคร เป็นประธาน ตั้งขึ้นสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หลังเหตุการณ์เมษาเลือด 2553 ข้อเสนอมีทั้งแก้ความขัดแย้งในระยะสั้น กลาง และยาว แต่สถานะการทำงานของ คอป. ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลาง และไม่ได้รับความร่วมมือจากคู่ขัดแย้งมากนัก

แนวทางสร้างความปรองดองของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชุดที่มีนาย เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน สาระสำคัญอยู่ที่การนิรโทษกรรมผู้ติดคดีทางการเมือง โดยตั้งเงื่อนไขว่า จะไม่รวมในคดีทุจริต หรือคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง รายงานฉบับนี้ สปช.ได้ส่งถึงมือนายกฯแล้ว แต่ยังคงเป็นเอกสารฝุ่นจับในทำเนียบรัฐบาล

ในช่วงรัฐบาลพลเรือน ยังมีการตั้งคณะกรรมการปรองดองขึ้นมาหลายชุด แต่ที่กลายเป็นปัญหามากที่สุด คือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง ในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านอย่างหนัก จนบานปลายกลายเป็นการชุมนุมของ กปปส. ก่อนนำไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
มาถึงวันนี้ที่การปรองดองได้วนกลับมาอีกครั้ง โดยมีรัฐบาลและกองทัพเป็นเจ้าภาพ โดยมีคำยืนยันว่า จะไม่หยิบการนิรโทษกรรมขึ้นมาพูดคุย เพื่อเลี่ยงความขัดแย้งอย่างไรก็ตาม บทเรียนในอดีตได้พิสูจน์แล้วว่า การปรองดองที่ล้มเหลว ยังอาจมาจากสถานะตัวกลาง ที่ไม่ได้การยอมรับจากคู่ขัดแย้งเช่นกัน

logoline