svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต

05 สิงหาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

" อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดี 1 ชม. โครงการจำนำข้าวร่ายยาวไม่เพิกเฉย สมยอม ทุจริตจำนำข้าว ยกวิจัยไทย-เทศ อ้างโครงการคุ้มค่า ลดความเหลื่อมล้ำชาวนายากจน ระบุถ้าปัญหาเกิดจากฝ่ายปฏิบัติต้องแก้การปฏิบัติ ไม่ใช่ยกเลิกนโยบาย ซัด ป.ป.ช.เร่งรีบสรุปสำนวนแค่ 2 เดือนจากเอกสารไม่กี่ร้อยแผ่น แต่โครงการอื่นใช้เวลา 5 ปีเสร็จ

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ วันที่ 5 ส.ค.59 เวลา 09.30 น. นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ได้ไต่สวนพยานจำเลยปากแรก คดีโครงการรับจำนำข้าว หมายเลขดำ อม.22/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157 และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
โดยก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเริ่มเบิกความเป็นพยานปากแรก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ขออนุญาตศาลใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการแถลงเปิดคดี ซึ่งจำเลยได้กล่าวแถลงเปิดคดี ตามเอกสารเพาเวอร์พ้อยท์ ที่จัดเตรียมมาซึ่งมีการสรุปประเด็นสำคัญ 6 ข้อ ให้องค์คณะฯ ทั้งเก้าพิจารณา

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต


น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาตามฟ้องโจทก์ และสำนวนของ ป.ป.ช.ใน 6 ประเด็น สรุปว่า โครงการจำนำข้าวเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่มุ่งคุ้มครองรักษาประโยชน์ และแก้ปัญหาหนี้ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย และเมื่อแถลงนโยบายต่อสภาฯ แล้ว ก็ย่อมมีผลผูกพัน ที่ ครม.ต้องปฏิบัติตาม และทำแผนบริหาราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียกว่า โครงการนี้เป็นโครงการสาธารณะให้ความคุ้มค่า คำนึงถึงผลประโยชน์สภาพเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ได้มุ่งแสวงหาผลกำไร หากจะคิดเพียงกำไร-ขาดทุน ทุกโครงการก็มีผลขาดทุนหมด แต่ก็ต้องทำเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
โดยโครงการจำนำข้าวทำมาแล้ว 30 ปี มีปัญหาการทุจริต แต่รัฐบาลจัดสินใจทำโครงการ เพื่อยกระดับข้าวไทยและส่งเสริมเศรษฐกิจไทยผ่านการบริโภคของประเทศ ส่วนที่มีการกล่าวหากำหนดราคาข้าวไม่เหมาะสม หรือราคาสูงเกินไป ก็เรียนว่า รัฐบาล จำเป็นต้องกำหนดราคารับจำนำข้าว 15,000 20,000 /ตัน เพื่อแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง และมีการคำนวณเพื่อหวังให้เกษตรกรมีรายได้เทียบเท่ารายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท จึงไม่มากเกินและมีความเหมาะสม กรณีที่ให้รับจำนำข้าวทุกเมล็ดเพื่อให้สิทธิ์ชาวนาทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลทั้งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและไม่ได้ร่วมโครงการ เพราะจะขายข้าวได้ในราคาที่เท่ากัน

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต


ส่วนที่กล่าวหาบิดเบียนกลไกตลาดนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะปีแรกมีเกษตรกรนำเข้าสู่โครงการ 58 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีถัดมาก็ยังมีถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจำนวนข้าวอีกครึ่งหนึ่ง พ่อค้าคนกลางสามารถซื้อจากเกษตรกรได้ตามปกติ และการระบายข้าวของรัฐบาล ก็อ้างอิงจากราคาตลาดโลกในการส่งออก และตามรายงานศึกษาของหน่วยงานทั้งไทย-ต่างประเทศ ระบุว่า โครงการมีความคุ้มค่า ซึ่งจากการสำรวจความเป็นอยู่ของชาวนาพบว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและหนี้ลดลง โดยสามารถชำนะหนี้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ลดหนี้เสียของธนาคารได้ ดังนั้น การที่ ป.ป.ช. นำรายงานของอนุกรรมการปิดบัญชีมาระบุว่าโครงการได้รับความเสียหายจึงไม่ถูกต้อง ซึ่งอนุกรรมการปิดบัญชี ไม่ได้มีหน้าที่ประเมินความคุ้มค่า แต่เป็นหน้าที่ของสภาพัฒน์ฯ ยิ่งไปกว่านั้น ป.ป.ช.กล่าวหาตนทราบเรื่องปิดบัญชีแล้วแต่ไม่ยกเลิกโครงการนั้น ก็ไม่สมเหตุสมผล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง ได้ยืนยันกับตนว่า โครงการไม่มีความเสียหายยังอยู่ในกรอบการเงินการคลัง และยังมีประโยชน์โดยรวม

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต


น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า โครงการจำนำข้าวมีมาตรการป้องกันการทุจริตที่ดำเนินการอย่างจริงจังโดยมีการตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ขึ้นมาตรวจสอบและปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่บกพร่องของโครงการในอดีต ส่วนที่ ป.ป.ช.กล่าวหาตนนั้นยังไม่มีพบยานชัดเจนว่า มีความเสียหายในพื้นที่ไหน และมีใครเป็นผู้กระทำผิดนอกจากนี้ยังมีการป้องกันความเสียหายด้านการคลัง และงบประมาณ โดยมีหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความั่นคงทางการเงิน และมีมติ ครม. กำหนดวงเงินหมุนเวียนไม่เกิน 500,000 ล้านบาท และเงินกู้ไม่เกิน 20 เ้ปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถทำได้ตามที่กำหนด รวมทั้งยังมีมาตรการข้าวเน่า ข้าวเสื่อมด้วยการทไประกันภัยข้าวและมีเจ้าของโกดังรับผิดชอบความเสียหายตามสัญญา
"ตนจึงไม่ได้ละเว้น เพิกเฉย เพื่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งการระบายข้าวมีการตั้งคณะกรรมการระบายข้าว โดย ครม.มีเจตจำนงค์ชัดเจนในการแบ่งอำนาจฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายนโยบาย ขอเรียนว่าตนไม่เคยละเลยการตรวจสอบจำนวนข้าว แต่การทำหน้าที่ตนก็มีกรอบ"
อดีตนายกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ช่วงการอภิปรายพูดถึงการระบายข้าวแบบจีทูจี แต่ข้อมูลยังไม่เป็นที่ยุติ ตนก็ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการมาไต่สวนและมีการปรับครม. ซึ่งแทนที่ ป.ป.ช.จะเร่งรีบไต่สวนของนายบุญทรงในฐานะผู้ปฏิบัติงาน กลับกล่าวหาตน ก่อนในฐานะผู้ให้นโยบาย ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรม ซึ่งการแจ้งข้อกล่าวหากับการไต่สวนของ ป.ป.ช. มีเอกสารเพียง 49 แผ่น โดยไม่มีหลักฐานว่าตนกระทำการไม่ชอบหรือทุจริต แล้วใช้เวลาสรุปสำนวน 2 เดือนเศษ แต่โครงการอื่นใช้เวลา 5 ปี ขณะที่คดีนายบุญทรง 8 เดือนเศษหลังจากสรุปสำนวนตน ถือเป็นการเร่งรัดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับคดีมาก่อน อีกทั้งสำนวนของอัยการก็เพิ่มข้อกล่าวสมยอมให้เกิดการทุจริต รวมทั้งนำเอกสารที่มีเพิ่มอีก 60,000 แผ่น ที่ไม่ได้ไต่สวนชั้น ป.ป.ช. มาปรักปรำ กับที่จะมีการส่งเอกสารละเมิดคดีแพ่งทั้งที่คดีอาญายังไม่มีข้อยุติ และตั้งข้อสังเกตว่า พยานโจทก์ และ ป.ป.ช.มีแต่ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโครงการจำนำข้าว และโจทก์ยังนำหลักคิดกำไร-ขาดทุน มาประเมินกับโครงการรัฐที่ช่วยเหลือโดยไม่ยึดความคุ้มค่า อีกทั้งพยานโจทก์ยังให้การแตกต่าง และขัดแย้งกันเองกับเอกาสารด้วย

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต


ส่วนปัญหาข้าวสารถุง ภายหลังการอภิปรายได้มอบหมายนายนิวัติธำรง บุญทรงไพศาล รมว.พาณิชย์ ตรวจสอบ แล้วในที่สุดก็ได้ยกเลิกข้าวถุง ทั้งนี้ ตนยืนยันไม่ได้เพิกเฉยหรือยินยอมให้มีการทุจริต โดยตนทำหน้าที่ครบตามรัฐธรรมนูญกำหนด ส่วนที่ สตง. และป.ป.ช.ส่งหนังสือข้อแนะนำ มาก็ได้พิจารณาแต่เมื่อได้แถลงนโยบายแล้ว ไม่สามารถยกเลิกโครงการได้ เพราะไม่ได้ขัดต่อมติ ครม. แต่ได้ส่งให้ฝ่ายปฏิบัติการ ดำเนินการ และปรับหลักเกณฑ์อย่างรัดกุม โดยตนในฐานะนายกรัฐมนตรีและ ประธาน กขช. โดยลำพังไม่มีอำนาจยกเลิกมติครม. ซึ่งโครงการทำโดยคณะบุคคล ขณะที่การยกเลิกโครงการใหญ่จะมีผลกระทบหลายด้าน หากจะยกเลิกต้องตรวจสอบข้อดี ข้อเสีย และปัญหาก่อน หากฝ่ายปฏิบัติเกิดปัญหาก็ต้องแก้ที่ฝ่ายปฏิบัติ ไม่ใช่ยกเลิกนโยบาย
"การที่ตนเข้ารับตำแหน่งสูงสุด และได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ถือเป็นเกียรติสูงสุดที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติงาน ยึดมั่นกฎหมายทุกประการไม่คิดให้เกิดการคดโกง การใช้จ่ายในโครงการจำนำข้าวไม่เป็นปัญหาหน้าธารณะ จึงเกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม เป็นความหวังของชาวนาอย่างแท้จริง จึงขออย่ามองว่า รัฐบาลทำโครงการจำนำข้าวช่วยเหลือชาวนาแล้วขาดทุน และเมื่อไรชาวนาจะยืนเองได้"
นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังตั้งข้อสังเกตกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องนี้ว่า ได้พบเอกสารของ นบข.ฉบับหนึ่ง จึงขอตั้งข้อสงสัยว่า การที่กล่าวถึงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดที่ระบุว่า "ประธาน นบข. ให้ข้อสังเกตว่า หน้าที่ของคณะกรรมการ คือ ประเมินความเสียหาย และนำส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังตั้งเรื่อง โดยไม่ต้องพิจารณาประเด็นความยุติธรรม แต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาให้ทันการส่งฟ้อง มิฉะนั้นจะถือเป็นความบกพร่องของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์" ดังนั้นตนจึงหวังให้ศาลเป็นที่พึ่งให้ความเป็นธรรมด้วย

"ยิ่งลักษณ์" แถลงเปิดคดีจำนำข้าว ปัดสมยอมทุจริต


ภายหลังอดีตนายกฯ ใช้เวลาแถลงเปิดคดีจนกระทั่งเวลา 10.30 น.แล้ว องค์คณะมีคำสั่งให้พักกระบวนพิจารณา 15 นาที ก่อนจะเริ่มไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นพยานปากแรก ตอบการซักค้านของนายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักการสอบสวน ฐานะคณะทำงานคดีจำนำข้าว ยืนยันว่า มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อเกิดปัญหา และเข้าใจหลักการเรื่องการใช้อำนาจในการยับยั้งโครงการว่า ถ้ามีการดำเนินโครงการแล้วขัดต่อมติครม. แล้วขัดนโยบายที่แถลงต่อสภา ก็สามารถยกเลิกได้เพราะถือเป็นเหตุจำเป็น แต่โครงการนี้ไม่ปรากฏว่า ขัดมติ ครม. โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ซึ่งวงเงินหมุนเวียนไม่เกินกรอบ 500,000 ล้านบาทที่ ครม.กำหนด
เมื่ออัยการถามว่า เหตุใดจึงมีการยุติโครงการบริหารจัดการน้ำ และปรับปรุงเปลี่ยนหลักเกณฑ์เงินที่ส่งเข้ากองทุนน้ำมันได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า กรณีที่โครงการบริหารจัดการน้ำต้องยุติไป เพราะทำตามคำสั่งของศาลปกครอง ส่วนการจัดการกองทุนน้ำมัน เป็นคนละภารกิจที่ไม่อาจนำมาเทียบเคียงได้

-
เมื่อถามว่า จำเลย ได้อบรมหลักสูตรวิทยาลัยตลาดทุน รุ่นเดียวกับนายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ อดีตรองอัยการสูงสุด ( ประธานคณะทำงานร่วมอัยการและ ป.ป.ช.) และจำเลยได้รับเลือกเป็นประธานรุ่นด้วย หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบยอมรับว่า ได้เข้าอบรมจริง แต่บุคคลที่ร่วมอบรมก็มีหลากหลายและ ป.ป.ช.ด้วย แต่ไม่สนิทกับใครเป็นพิเศษ และเมื่อได้รับเลือกเป็นนายกฯ ก็ได้ลาออกจากประธานรุ่น
ขณะที่อัยการพยายามซักถามถึงประเด็นการระบายข้าวที่ภาครัฐขาย แล้วราคาขายได้น้อยกว่า ภาคเอกชนขายถึง 6 บาทว่า ทราบหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบเพียงว่า เปรียบเทียบกันไม่ได้ อยู่ที่รายละเอียดของฝ่ายปฏิบัติที่ต้องถามอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อถามย้ำว่า ได้มีการรายงานส่วนต่างราคาดังกล่าวให้จำเลยทราบหรือไม่ อดีตนายกฯ กล่าวว่า มติ ครม.ระบุว่ามีความละเอียดอ่อนไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เพราะจะกระทบต่อภาพรวมและการต่อรองราคาข้าว แต่ ครม.ยังได้ติดตามภาพรวมไม่ให้เกินกรอบวงเงิน 500,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อไต่สวนมาถึงเวลา 11.45 น. ศาลจึงพักการพิจารณาไว้ โดยเริ่มไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้งในเวลา 13.0 0 น

logoline