svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ศาลฎีกาฯนัด 4 ก.ย. ชี้ชะตา"นพดล" ปมเขาพระวิหาร

04 กันยายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษา คดีนพดล ลงนามในแถลงการณ์ร่วมยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก



ศาลฎีกาฯนัด 4 ก.ย. ชี้ชะตา"นพดล" ปมเขาพระวิหาร


วันนี้ (4 ก.ย. 58) เวลา 13.00 น. ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษา คดีที่คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. เป็นโจกท์ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยินยอมให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 

ศาลฎีกาฯนัด 4 ก.ย. ชี้ชะตา"นพดล" ปมเขาพระวิหาร




หลังการลงนามในแถลงการร่วม นายนพดลได้เปิดแถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล ยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสีย แต่เป็นความสำเร็จทางการทูตมากกว่า เพราะเมื่อกัมพูชาส่งแผนที่ใหม่มาพบว่า ได้ตัดส่วนพื้นที่ทับซ้อนออกไป ส่วนที่มีการมองว่าอาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา190 นั้น นายนพดล ระบุว่าแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ไม่มีสถานะเป็นสนธิสัญญา เป็นเพียงคำแถลงทางการเมืองและไม่ได้เปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย

ศาลฎีกาฯนัด 4 ก.ย. ชี้ชะตา"นพดล" ปมเขาพระวิหาร


ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2551 พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องให้วุฒิสภายื่นเรื่องให้ป.ป.ช.ดำเนินคดีอาญากับนายนพดล พร้อมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ แถลงการณ์ร่วมขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ จากนั้นไม่นานศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ทำให้นายนพดล ประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เพื่อแสดงความรับผิดชอบ

29 กันยายน 2552 ป.ป.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 ส่งเรื่องให้อัยการอัยการสูงสุด ฟ้องนพดล ปัทมะ และนายสมัครสุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับนายนพดล ปัทมะ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ประเด็นสำคัญที่นำมาสู่การเอาผิดนายนพดล ก็คือ เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เข้าข่ายเป็นหนังสือสนธิสัญญา ที่จะต้องนำเข้าขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวขออนุมัติต่อรัฐสภา จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

30 กันยายน 2552 นพดล ปัทมะ แถลงข่าว ยืนยันว่า ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ปกป้อง แผ่นดินไทย และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นผลสำเร็จ แต่ได้รับสิ่งนี้ตอบแทนในการทำงานเพื่อชาติ ซึ่งจะเป็นตำนานของการทำคุณบูชาโทษไปอีกนาน การชี้มูลความผิดว่าเหมือนจะจงใจเอาผิดกับตัวเอง ทั้งที่ระเบียบกำหนดว่า เมื่อ มีมติ ครม.ทั้งหมดต้องรับผิดชอบร่วมกัน

9 พฤศจิกายน 2552 สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือ ด่วนที่สุดที่ อส 0022/1452 แจ้งข้อไม่สมบูรณ์และขอให้แต่งตั้งคณะทำงานผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ช.

27 กันยายน 2554 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้แต่งตั้งทนายความฟ้องคดีเอง
ปี 2556 ป.ป.ช. ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ

26 เมษานยน 2556 ศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดี และมีการนัดพิจารณาคดีครั้งแรก เพื่อสอบคำให้การจำเลยไปเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556

4 กันยายน 2558 ศาลฎีกา นัดฟังคำพิพากษา

logoline