svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

นักวิชาการฝรั่งเศส ถอดบทเรียน รธน.ชี้รัฐบาลผสมทำชาติวุ่นวาย

27 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงการต่างประเทศ สถาบันพระปกเกล้าฯ ได้จัดการบรรยายพิเศษ เรื่องถอดบทเรียนการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมือง สู่การปฏิรูปประเทศในระบอบประชาธิปไตย กรณีศึกษาการร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส โดยศาสตราจารย์ มิเชล ทรอปเปอร์ จากมหาวิทยาลัยปารีสที่ 10 นองแทร์




ศาสตราจารย์ ทรอปเปอร์ กล่าวว่า กรณีรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสมีหลายข้อที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย เช่น ทั้งสองประเทศต่างมีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ ขณะที่สหรัฐอเมริกามีรัฐธรรมนูญใช้บังคับเพียงฉบับเดียว แต่มีแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อย



ดังนั้น การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการทำให้เห็นว่ามีการเปลี่นแปลงทางการเมือง เช่น ฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ข้อที่คล้ายคลึงอีกข้อหนึ่ง คือ การที่สองประเทศมีการทำรัฐประหารด้วยกันทั้งคู่



อย่างไรก็ตาม การเกิดรัฐประหารฉับพลันทันทีในบางครั้ง ไม่ได้หมายความว่าใช้อำนาจหรือใช้กำลังข่มขืน และโดยปกติการทำรัฐประหารจะนึกถึงทหาร แต่บางครั้งก็ไม่ได้เกิดจากทหาร เช่นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852 แม้รัฐประหารอาจนำไปสู่เผด็จการ แต่บางครั้งสิ่งอาจไม่ได้นำไปสู่เผด็จการ แต่ปูทางไปสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตย และทำให้ประชาธิปไตยเกิดความสมบูรณ์ยั่งยืนขึ้น


ทั้งนี้ ไม่มีทางประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญชัดแค่ไหน แต่ก็มีปัญหาในทางตีความอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ก่อนปี 1920 ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถูกสร้างขึ้นมาในปี 1920 ในการยกร่างรัฐธรรมนูญของประเทศออสเตรียที่กำหนดจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ


สำหรับแนวคิดกลไก มองว่าสังคมจะดี ถ้าคนในสังคมดี คนเคารพกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ผิดกับแนวคิดกฎเกณฑ์ที่มองว่าหวังว่าคนจะเป็นคนดี แต่นายเมดิสัน ซึ่งเป็นนักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งอัจจริยะ ตั้งขอสังเกตว่า ถ้าเราคาดหวังถึงความดีงามจะเป็นปัญหา เพราะเป็นของหายากในโลกนี้ ถ้าคนเป็นคนดี เราก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญทำขึ้นเพื่อคนธรรมดา ที่ไม่ได้เป็นคนดีเกินไป หรือเป็นเทวดา


ศาสตราจารย์ ทรอปเปอร์ ยังกล่าวถึงเหตุการณ์ของประเทศฝรั่งเศส ช่วงสาธารณรัฐที่ 4 ว่า ขณะนั้นประเทศจำเป็นต้องหารัฐบาลผสม ซึ่งเราได้รัฐบาลที่ไม่มีความมั่นคง เพราะมีพรรคเล็กพรรคน้อยเป็นรัฐบาลอยู่ด้วย และพรรคเล็กในขณะนั้นก็ขู่ว่าจะออกจากรัฐบาลได้เพราะไม่พอใจในนโยบายของรัฐบาล และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤตหลายครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลล่มสลาย ไม่มีรัฐบาลต่อเนื่องหลายสัปาดาห์ ประชาชนและกองทัพกลัวที่รัฐบาลจะให้อิสระภาพแก่แอลจีเรีย จึงขู่ทำสงครามกลางเมืองและทำรัฐประการ และขอให้นายพล ชาร์ล เดอโก อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส รวมทั้งมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติ



ทั้งนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญในปี 1975 สั้นมาก ไม่ได้พูดถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่สภาสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่วางใจได้ ถ้าเสียงข้างมากไม่ไว้วางใจ รัฐบาลจะต้องลาออก นี่คือประเพณีตามรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันถ้ารัฐบาลขอความไว้วางใจจากสภา ถ้าร่างกฎหมายถูกปฏิเสธ รัฐบาลก็ต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกเช่นกัน เพราะถือว่าไม่มีเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน


นอกจากนี้ ในช่วงสาธารณรัฐที่ 4 มีพรรคเล็กพรรคน้อยเป็นรัฐบาลเกิดเป็นรัฐบาลผสม พรรคการเมืองขนาดกลางๆต้องรวมกัน พรรคเล็กต้องการท้าทายและต่อรอง ซึ่งขณะนั้นมองกันว่าเป็นระบบรัฐสภาที่ดูเหมือนจะมีความสมดุลระหว่างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรก็จะมีเครื่องมือในการกดดัน สภาสามารถคว่ำรัฐบาลได้


ขณะที่รัฐบาลเสนอให้ประธานาธิบดีคว่ำสภาได้เช่นกัน แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ และถ้าสภาคว่ำประชาชนก็จะเลือกส.ส.หน้าเดิมเข้าสภาอีก ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ กลไกยุบสภาจึงไม่ใช่กลไกที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประโยชน์


จนกระทั่งถึงช่วงสาธารณรัฐที่ 5 มีแนวคิดใหม่ๆ กลไกใหม่ นายพลเดอโกคิดว่าการมีพรรคเล็กพรรคน้อย การเมืองจะเดินต่อไป แต่คิดผิด และนายพลเดอโกได้พัฒนามาตรา 49 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญปี 1958 นายกฯสามารถขอความไว้วางใจต่อนโยบายที่แถลงต่อสภาได้ และเพิ่มหลักเกณฑใหม่ขึ้น คือ กำหนดให้ส.ส.ร่วมลงชื่อ 1 ใน 10 ของสมาชิก ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ



ซึ่งต้องได้รับเสียงข้างมากจึงจะคว่ำรัฐบาลได้ ที่สำคัญนับเฉพาะผู้ที่ลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งส่วนใหญ่เสียงไม่พอที่จะคว่ำรัฐบาลได้ ขณะที่ถ้านายกฯขอความไว้วางใจจากสภา เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องการผ่านกฎหมายสำคัญ รัฐบาลผ่านกฎมหายได้เลยโดยไม่มีการอภิปราย เว้นแต่มีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งการลงมติตรงนี้มิได้เป็นการลงมติในร่างกฎหมาย



ดังนั้น การใช้หลักเกณฑ์นับเสียงที่เห็นด้วยกับการญัตติไม่ไว้วางใจ ถือว่าสำคัญยิ่ง เช่น ส.ส.มี 500 คน หากรัฐบาลขอความไว้วางใจ ผ่านร่างกฎหมาย เสียงเห็นด้วย 200 เสียง ไม่เห็นด้วย 220 เสียง และงดออกเสียง 80 เสียง หมายความรัฐบาลไม่ต้องลาออก เพราะเสียงโหวตยังไม่ถึงเสียงข้างมาก ซึ่งอยู่ที่ 251 แต่ส.ส.โหวตไม่เห็นด้วยเพียง 220 เสียง นี่คือประสิทธิภาพของรัฐธรรมนูญในสาธารณะรัฐที่ 5



ตรงนี้คือชัยชนะของการมองรัฐธรรมนูญแบบกลไก เป็นกลไกที่มีรัฐบาลผสม มีพรรคการเมืองหลายพรรคเป็นรัฐบาล มีหลายพรรคก็จริงแต่มีพรรคแกนนำในรัฐบาล ดังนั้นในวรรคสามจึงไม่จำเปน ใช้เพื่อดัดหลังพรรคร่วมรัฐบาลที่อาจต่อต้านกฎหมายของรัฐบาล หากรัฐบาลไม่ต้องการให้อภิปรายยืดยาว ก็ใช้ดัดหลังพรรคสังคมนิยมที่งอแงไม่ต้องการโหวตร่างกฎหมายที่สำคัญ


จากนั้นเรามองว่าวรรคสามให้อำนาจรัฐบาลมากเกินไป จึงได้กำหนดให้ใช้กับเพียงร่างกฎหมายงบประมาณณ ร่างกฎหมายทุนประกันสังคม ภายในสมัยประชุมหนึ่งเท่านั้น นี่คือกลไกของวรรคสาม ซึ่งตนมองว่ามีประสิทธิภาพ


ศาสตราจารย์ ทรอปเปอร์ กล่าวสรุปว่า กลไกของสาธารณรัฐที่ 5 หรือทุกช่วงสาธารณณัฐ ไม่อาจเป็นต้นแบบของทุกประเทศได้ แต่นำมาเป็นบทเรียนได้ บทเรียนแรกคือ การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง ฉับพลันทันที อาจนำไปสู่ระบอบเผด็จการก็ได้ อาจนำไปสู่การปรับปรุงประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ก็ได้



บทเรียนที่สอง เป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดวิธีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญไว้ล่าวงหน้า ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญไว้ดีอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถกกำหนดได้ จึงไม่จำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญให้ยาวเกินไป เขียนรัฐธรรมนูญให้สั้นๆอาจดี แล้วปล่อยให้ผู้ใช้รัฐธรรมนุญตีความเอง เช่นรัฐธรรมนูญของสหรัฐที่สั้นกระชับ มีความทนทานแม้จะเปลี่ยนขั้วทางการเมืองก็ตาม และบทเรียนที่สาม คือ แนวคิดในเชิงกลไก มีข้อดีกว่าแนวคิดเชิงกฎเกณฑ์

logoline