svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

มาตรา 181-182 ของร้อนใน รธน.

01 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ อธิบายว่า เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่ ในการรักษาและเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาล และเป็นการเตือน สส.ที่สังกัดพรรคร่วมรัฐบาลว่าหากไม่ให้ความไว้วางใจรัฐบาล อาจมีการยุบสภา และจะมีผลให้รัฐบาลและสภาสิ้นสภาพลงได้

มาตรา 181"นายกฯ สามารถยื่นเรื่องให้ ส.ส.ลงมติว่าจะไว้วางใจ ให้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินต่อไปหรือไม่ หากสภาลงมติไว้วางใจไม่ถึงกึ่งหนึ่ง  นายกฯ ไม่จำเป็นต้องออกจากตำแหน่ง แต่ใช้วิธีการยุบสภาแทนได้" 
มาตรา 182 "ให้อำนาจนายกฯ เสนอร่างพรบ.ต่อสภา จากความจำเป็นของการบริหารราชการแผ่นดินได้ และหาก สส.ไม่ได้ยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ภายใน 48 ชั่วโมง จะเท่ากับว่าสภาได้ให้ความเห็นชอบกับร่างพรบ."
เบื้องลึก เบื้องหลังกว่าจะได้สองมาตรานี้ ปรากฏว่าเกิดการถกเถียงกันในชั้นคณะ กมธ.ยกร่างฯ  ถึงสองครั้งใหญ่ ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านที่พัทยา จ.ชลบุรี ส่วนครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือน มี.ค.ก่อนส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้ สปช.
กมธ.ยกร่างฯ จำนวนไม่น้อยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการให้มีมาตรานี้ ซึ่งไปตรงกับเหตุผลและท่าทีของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ อ.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธาน กมธ.ปฏิรูปการเมือง เพราะเห็นว่าเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับนายกฯ มากเกินไป และยังไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมการเมืองไทย
ขณะที่กมธ.ยกร่างฯ ที่เห็นด้วยกับ 2 มาตรานี้  ชี้ แจงว่าไม่ได้เป็นการเพิ่มอำนาจ แต่เป็นการเพิ่มเสถียรภาพให้กับนายกฯ มีเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อจัดการความขัดแย้งในสภาและยืนยันในหลักการ ให้มีมาตรา 181 และ 182 ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก
แต่ท่าทีล่าสุดของฝ่ายการเมือง และ สปช.หรือแม้แต่รัฐบาลอย่างรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย อ.วิษณุ เครืองาม ก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วย และเริ่มมีความเข้มข้น เป็นแรงกฏดันให้มีการแก้ไขในชั้นของการแปรญัตติ ในช่วง 60 วันหลังจากนี้ 

logoline