svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

บัญญัติปฏิรูปแรงงาน ในร่าง รธน.

01 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากที่เครือข่ายแรงงาน ได้พยายามเรียกร้องให้รัฐบาล รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิการรวมตัว หวังให้สร้างกติกาที่เป็นธรรม ล่าสุด ก็ประสบความสำเร็จแล้ว เมื่อมีการบัญญัติเรื่องการรวมตัวและเจรจาต่อรองในร่าง รธน.ใหม่

อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 จะมีเนื้อหาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง เช่น เรื่องการได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม ไม่ถูกละเมิดสิทธิ การมีความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งของ ILO ซึ่งประเทศไทย เป็น 1 ในสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งองค์กรนี้ แต่ล่าสุดไทยยังไม่ได้รับรองอนุสัญญานี้
ที่ผ่านมาเครือข่ายแรงงาน ได้พยายามที่จะเคลื่อนไหวผลักดันเรื่องนี้มาตลอด เพราะหากรัฐให้การรับรองและสร้างกติกาที่เป็นธรรม ย่อมส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานสามารถต่อรองกับนายจ้างได้ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ
ล่าสุดมีสัญญานที่ดีครับ เมื่อ ร่างแรกของรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างฯ ทำเสร็จ มีการบัญญัติเรื่องนี้ไว้ ในภาคที่ 4 เรื่อง การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง ในมาตรา 289 ซึ่งกำหนดให้มีการปฏิรูปด้านแรงงานใน 2 เรื่องหลัก คือ
(1) ให้ตรากฏหมายและกำหนดกลไกเพื่อรองรับเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานในการสมาคม การรวมตัวกัน และการร่วมเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
และ (2) สนับสนุนการจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อเป็นกองทุนการเงิน ของผู้ใช้แรงงานในการส่งเสริมการออม และพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แต่ถึงแม้กลไกรองรับเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานในการสมาคม การรวมตัวกัน และการร่วมเจรจาต่อรองจะถูกบัญญัติในร่างรธน.ร่างแรกแล้ว แต่หากเกิดปัญหาเป็นคดีความขึ้น ความรวดเร็วในคดีแรงงานก็ยังเป็นปัญหา โดยรองประธานกรรมการปฏิรูปกฏหมาย สุนีย ไชยรส บอกว่า คปก.เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรมีบทบัญญัติ ว่าด้วยการปฏิรูปศาลแรงงาน ด้วยการแยกออกมาจากศาลยุติธรรมทั่วไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานมากกกว่า ไปฟังเสียงกันครับ
คปก.ยังมีข้อเสนอให้ประมวลกฏหมายด้านแรงงาน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาผู้ใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ
----------------ภาค 4 การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง
มาตรา 289 ให้มีการปฏิรูปด้านแรงงานตามแนวทางดังนี้
(1) ตรากฏหมายและกำหนดกลไกรองรับเสรีภาพผู้ใช้แรงงานในการสมาคม การรวมตัวกัน และการร่วมเจรจาต่อรอง ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
-------------------ภาค 4 การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง
มาตรา 289 ให้มีการปฏิรูปด้านแรงงานตามแนวทางดังนี้
(2) สนับสนุนการจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อเป็นกองทุนการเงิน ผู้ใช้แรงงานในการส่งเสริมการออม และพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

logoline