svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

งัดม.44 เด้งขรก.เอี่ยวทุจริต ระบุ 100 ชื่อเป็นรุ่นแรก มีตั้งแต่ซี3-ซี11

21 เมษายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มติคตช.งัดม.44เด้งขรก.เอี่ยวทุจริต วิษณุ ระบุ100ชื่อถือเป็นรุ่นแรกมีตั้งแต่ซี3-ซี11 ใช้อำนาจหัวหน้าคสช.เปิดตำแหน่งใหม่ให้อยู่ชั่วคราว ให้จับตาโยกย้ายนอกฤดูจะมีมากขึ้น พร้อมเพิ่มอีก3โครงการใช้ข้อตกลงคุณธรรม เตรียมชงครม.ให้ไทยสมัครสมาชิกโครงการต้านโกงของนอร์เวย์

ที่ศูนย์แถลงข่าวตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 12.30น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นำแถลงผลการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(คตช.) โดยมีคณะกรรมการ และอนุกรรมการชุดต่างๆของคตช. ร่วมแถลงด้วย  นายวิษณุ กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการประชุมคตช.ครั้งที่ 3/2558 โดยวาระสำคัญวันนี้แบ่งเป็น3เรื่อง เรื่องที่1 เป็นการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการงานของอนุกรรมการชุดต่างๆของคตช. 2.เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่สืบเนื่องมาจากการประชุมสองครั้งแรก ในเรื่องของ ข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งหมายถึงข้อตกลงที่หน่วยของรัฐทำกับเอกชนโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเป็นกลางเข้ามาช่วยตรวจสอบการทำสัญญาของรัฐ และ3. เรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอว่าการที่เราจะแสดงความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐที่นอกจากอาศัยความร่วมมือในประเทศแล้วต้องอาศัยกติกาที่เป็นสากลเพื่อเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์กรหรือเข้าร่วมโครงการระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงด้านความโปร่งใส  นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีข้าราชการ 100 รายชื่อ ที่ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)ระบุว่าเข้าข่ายการทุจริตว่า พลเอกประยุทธ์ในฐานะประธานที่ประชุมแจ้งในที่ประชุมถึงเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมคตช.รับทราบ ซึ่งมีการรายงานมาที่นายกฯเป็นที่เรียบร้อยแล้วในขั้นตอนขณะนี้ ซึ่งถือว่า100รายชื่อนี้เป็นรุ่นที่หนึ่ง ส่วนรุ่นต่อไปก็มีการตรวจสอบไปเรื่อยๆ ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ไม่ได้มาจากรัฐบาล แต่มาจากองค์กรตรวจสอบ ได้แก่ คณะกรรมการป.ป.ช., คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง), ป.ป.ท,  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่มีหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว  ซึ่งมีการตรวจสอบก่อนที่คสช.จะเข้ามา แต่บางครั้งเรื่องเรื่องเงียบหรือไม่มีความคืบหน้า แต่รัฐบาลนี้ก็เข้ามาดำเนินการ โดยไม่ได้เป็นการแก้แค้น ไม่ต้องการปิดประตู ใครไม่ผิดก็ปล่อยออกไป ใครผิดก็ต้องดำเนินการไม่ต้องลูบหน้าปะจมูก ไม่ต้องหนีเสือปะจรเข้ มีการส่งชื่อ ส่งประวัติ ส่งพฤติกรรมมาที่คณะทำงานเพื่อประมวล ก็พบว่ามีชื่อซ้ำ พฤติกรรมซ้ำ จึงมีคนที่เกี่ยวข้องในข่ายด้วยข้อหาที่ต่างกันมาก ที่ยังไม่อาจปักใจได้ว่าคนนับร้อยนั้นทุจริต เพราะถ้าตราหน้าเขาทุจริตก็ต้องถึงมีการฟ้องร้องนายวิษณุ กล่าว  นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ที่จริงเรื่องพวกนี้ตนรายงานในที่ประชุมแม่น้ำห้าสายแล้วว่าที่รัฐบาลจับตาดูอยู่ ซึ่งมี 30 คดี ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐสามารถตอบได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อหาของประชาชน แต่ชื่อข้าราชการที่ส่งมาวันนี้อยู่ในข่ายที่คิดว่าเมื่อคิดว่าเป็นคนของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ข้าราชการ ก็ต้องคิดว่าจะจัดการยังไง บางคนปล่อยเขาไปเพราะไม่ถึงจับให้มั่นคั้นให้ตายเพราะหลักฐานไม่ชัดเจน แต่บางพวกถ้าปล่อยให้อยู่ต่ออาจจะเป็นปัญหาในการไปหยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนอาจทำให้เสียรูปคดีหรือเป็นปัญหาในทางปกครอง จึงทำให้คิดว่าจะจัดการอย่างไรในเชิงบริหาร จึงไม่มีอะไรมากกว่าการโยกย้ายสลับสับเปลี่ยน การเอามาแขวนให้พ้นจากตำแหน่งเดิม เพื่อแสดงว่าเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหา  จากนี้จะเห็นการแต่งตั้งโยกย้ายนอกฤดูกาลเกือบครึ่ง ที่โดยปกติจะโยกย้ายช่วงเดือนตุลาคม ส่วนการโยกย้ายช่วงเม.ย. จะมีแค่ตำรวจ ทหาร แต่ก็จะเห็นมากขึ้นเพื่อจัดการกับคนบางประเภท แต่ต้องย้ำว่ายังไม่ถึงกับการทุจริตนายวิษณุ กล่าว  รองนายกฯ กล่าวอีกว่า การโยกย้ายจะมี3ประเภทกับคน3ประเภท คือ หนึ่ง เป็นการแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ไม่เกี่ยวกับร้อยกว่าชื่อที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี สอง เรื่องของการสลับสับเปลี่ยนเพื่อประสิทธฺิภาพของงาน ที่คนเดิมที่อยู่อาจจะไม่ถนัดงานนั้น ก็ไม่ได้ผิดไม่ได้มัวหมอง แต่ต้องจำเป็นต้องสลับจากกรมนี้ไปกรมโน้น และ สาม นับร้อยคนที่มีการส่งชื่อมา ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่าร้อยกว่าคนที่ว่าอยู่ในขั้นจะต้องจัดการทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีตั้งแต่ซี 3ถึงซี11 เรียกว่ามีตั้งแต่ผู้น้อยถึงผู้ใหญ่ ที่ขณะนี้นายกฯให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบว่าใครอาจจะไม่ต้องไปกระทบกระเทือนอะไรเพราะอยู่ไปก็ไม่ยุ่งเหยิงหรือไม่ทำให้เสียรูปคดีได้ หรือไม่ไ่ด้เป็นผู้ใหญ่มากนัก แต่อย่างน้อยก็ต้องให้รู้ว่ามีข้อหาที่ต้องสอบสวนต่อไป   แต่ในเรือนร้อยมีไม่มากนักที่อาจทำให้ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนเสียรูปคดี ที่อยู่แล้วอาจจะไม่ได้รับความเคารพจากผู้ใต้บังคับบัญชา ที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่กล้าให้ข้อมูล ก็อาจจะมีการแต่งตั้งโยกย้าย ที่อาจจะทำแบบปกติทั้งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)และบางกรณีที่เป็นข้าราชการระดับสูงอาจจะหาตำแหน่งรองรับ ที่ในระบบปกติหาตำแหน่งได้ยากเพราะตำแหน่งเต็มหมดแล้ว ซึ่งอาจจะใช้มาตรการชั่วคราว ดังที่เคยใช้มาแล้วที่หัวหน้าคสช.ใช้อำนาจตามมาตรา44 ที่อาจจะสร้างตำแหน่งใหม่ขึ้นมา โดยให้หลักประกันว่าเป็นมาตรการชั่วคราว ถ้าไม่ผิดก็กลับมาตำแหน่งเดิม ถ้าผิดก็เลี้ยวขวาไปอีกทางหนึ่งนายวิษณุ กล่าว  นายวิษณุ กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการเนื่องจากหากใช้กระบวนการตามปกติ จะเกิดความล่าช้า เพราะกว่าคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)จะอนุมัติ อาจใช้เวลาหลายเดือน ส่วนตำแหน่งที่จะให้บุคคลที่โดนโยกย้ายออกเข้ามาทำหน้าที่ รัฐบาลกำลังตัดสินใจแต่ไม่ให้อยู่กระทรวงเดิมแน่นอนทุกคนจะมาประจำที่สำนักนายกรัฐมนตรี อาจเป็นที่ปรึกษานายกฯ อย่างไรก็ตามตนไม่อยากใช้คำว่าสุสานคนโกงเพราะหลายคนสุดท้ายเขาก็ไม่ได้ผิดอะไร  เมื่อถามว่าจะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า หากบุคคลใดไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่จะถูกดำเนินการอย่างเด็ดขาด นายวิษณุ อาจไม่ถึงกับเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญโดยละเอียด แต่จะเขียนในภาพกว้างเพราะสภาต่างๆที่ถูกแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หากทำได้จริงก็จะเข้ามาช่วยตรวจสอบข้าราชการอยู่แล้ว  วันนี้ปัญหาของการทุจริตคือคนไทยเห็นแก่หน้ากัน ไม่กล้าทำอะไรกันมาก ความจริงผมได้เรียนกับนายกฯไปว่าไม่ต้องไปดูรายชื่อว่าเป็นใครบ้างเพราะหากไปดูจะเกิดความรู้สึก สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องยอมรับคือทุกหน่วยงานรายงานมาให้รัฐบาลทราบ เรามีหน้าที่จัดประเภทและสอบถามไปยังต้นสังกัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใดแล้ว หากอยู่ในขั้นสอบสวนก็ขอให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด แต่รายไหนที่นั่งทับตำแหน่งตัวเองอยู่โดยไม่ทำอะไร รัฐบาลมีหน้าที่เข้ามาดำเนินการ ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือทำให้การตรวจสอบการทุจริตมีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการปฏิรูปรองนายกฯ กล่าว  นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ตนไม่ห่วงข้าราชการระดับล่างเท่าข้าราชการระดับบนรวมถึงนักการเมืองด้วย อย่างไรก็ตามนายกฯ ได้มอบคำสั่งว่าหากนายกฯ กลับจากการปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศแล้ว หน่วยงานต่างๆ สามารถส่งรายชื่อข้าราชการที่ส่อว่าทุจริตเข้ามาได้อีก ส่วนนักการเมืองหรือข้าราชการใครทุจริตมากกว่ากันนั้น มองว่านักการเมืองไม่มีโทษทางวินัย หากจะจัดการต้องมีการฟ้องร้องเพียงอย่างเดียว ส่วนข้าราชการสามารถโยกย้ายได้  นายวิษณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกฯได้เน้นมาตรการ 4 ขั้นตอน จากเบาสุดไปหาหนักสุดในการทำงานตรวจสอบการทุจริต หนึ่ง มาตรการเบาสุดคือทำให้ผู้กระทำผิดหรือผู้ที่มีแนวโน้มกระทำผิดต้องยั้งคิด คือหยุดนึกว่าถ้าทำต่อจะเสียหาย โดยให้กลับไปปฏิบัติตามกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร และพ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่ต้องพูดจาปราศัยกับประชาชนอย่างไร ใช้เวลาในการทำงานเท่าไร ถ้าทำงานตามนี้ก็หมดเรื่อง ขั้นที่สอง จะถูกตรวจสอบ ถ้ายังทำผิดต่อไปก็ต้องตรวจสอบ ว่าที่ฝ่าฝืนนั้นผิดหรือประมาทหรือจงใจหรือไม่ องค์กรต่างๆก็จะเข้ามาตรวจสอบ อาทิ ป.ป.ง ป.ป.ท สตง. และคตร.เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งพบว่ามีการรายงานลับมาถึงนายกเป็นจำนวนมาก สาม จัดการในทางบริหาร โดยยังไม่ฟ้องร้อง ยังไม่ไปถึงศาล จะเป็นการย้ายออกจากจุดที่ล่อแหลม หรือหาหลักฐานดำเนินคดี ซึ่งบางคนปล่อยได้ แต่บางคนปล่อยแล้วในภาษากฎหมายขืนอยู่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนเสียรูปคดี แบบนี้ต้องเอาออก และ สี่ ฟ้องร้องดำเนินคดี ฐานทุจริต หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา157 ก็จะต้องดำเนินคดี  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้น ประธานอนุกรรมการชุดต่างๆของคตช.ได้แถลงรายงานความคืบหน้าในการทำงานของตัวเอง โดยนางจุรี วิจิตรวาทการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างการรับรู้ คตช. กล่าวว่า จะมีการดำเนินโครงการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันการคอรัปชั่น โดยจะเป็นการทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ในการบรรจุหลักสูตร โตมาไม่โกงเป็นหลักสูตรปีละ 40ชั่วโมง โดยจะมีเพลง มีนิทาน ให้เรียนอย่างสนุก รวมถึงมีหลักสูตร บัณฑิตไม่โกงให้ระดับอุดมศึกษา และจะมีหลักสูตรให้กับข้าราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีการรณรงค์ทางสื่อ ที่เร็วๆนี้จะได้เผยแพร่สื่อสั้นๆเกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสำนึกให้คนทั้งประเทศให้เห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ คุณค่าของความมีคุณธรรมที่ทำให้คนใส่ใจและไม่โกง  ด้าน นายต่อตระกูล ยมนาค ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการป้องกันการทุจริต กล่าวว่า ในส่วนของมาตรการป้องกัน อนุกรรมการฯเลือกจากสิ่งที่ฝ่ายต่างๆมานำเสนอ โดยมีข้อสรุปว่า ถ้าจะป้องกันการทุจริตจะต้องทำเรื่องความโปร่งใส โดย ต้องมีข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนหรือเครือข่ายรับรู้กับรัฐบาล หรือหน่วยงานด้วย ดังนั้นวันนี้อนุกรรมการฯจึงนำเสนอเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยตัวพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารมีการใช้มากแล้ว แต่ไม่มีผู้ติดตามว่าทำตามกฎหมายหรือไม่ และจากงานวิจัยพบว่ามีหลายสิบหน่วยที่ไม่เคยเปิดเผยข้อมูลเลย ดังนั้นวันนี้นายกฯรับทราบและบอกว่าได้ทำอยู่แล้ว แต่ที่อนุกรรมการเสนอนั้นระบุว่าต้องเปิดเผยเป็นข้อมูลแบบดิจิตัลเพื่อให้วิเคราะห์-สังเคราะห์เพื่อสรุป ไม่ใช่การถ่ายรูปมาจากกระดาษ  นายต่อตระกูล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่ระบุว่าต้องเปิดเผยการทำงานภายใน 180วัน ซึ่งขณะนี้หน่วยงานภาครัฐ21หน่วยงานพร้อมที่จะนำข้อมูล ขั้นตอน มาเปิดเผยให้เร็วกว่ากำหนดคือภายใน30วัน หลังจากนายกฯสั่งการ  ส่วน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะอนุกรรมการด้านมาตรการในการปราบปราม คตช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการปราบปรามมีความล่าช้าคนจึงไม่กลัว นายกฯจึงให้นำมาตรการทางปกครองและทางวินัยมาใช้ เพราะถ้านำมาตรการทางปกครองและวินัยมาดำเนินการจะทำให้การทุจริตน้อยลง เพราะหากรอการดำเนินการทางอาญาก็จะทำให้ผิดทางปกครองและทางวินัยมากมาย นายกฯจึงให้นำคำสั่งคสช.ฉบับที่ 69 มาบังคับใช้เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะถ้าผู้บังคับบัญชาไม่ดำเนินการตัวผู้บังคับบัญชาก็จะถูกดำเนินการเสียเอง  เลขา ป.ป.ท. กล่าวว่า เร็วๆนี้จะได้ใช้ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ในการขอใบอนุญาตจากหน่วยใด  ถ้าหน่วยงานนั้นไม่อนุมัติตามกำหนดเวลาขอให้มาร้องเรียนที่ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) แล้วจะเข้าตรวจสอบที่อาจจะโดนทั้งข้อหาละเลยและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็จะทำให้กระบวนการทำงานดีขึ้น  ด้านนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ คตช. กล่าวว่าหลักคิดของการทำประชาสัมพันธ์การต่อต้านทุจริตที่ดีที่สุดคือ นายกรัฐมนตรีต้องลงมือทำให้เห็นจริง เป็นการประชาสัมพันธ์ที่ราคาถูกที่สุดและสังคมพอใจมากที่สุด ดังนั้นการรวบรวมรายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการลงโทษมาถึงมือนายกฯ หรือการเร่งรัดคดีที่สังคมสนใจมากเพื่อให้เห็นผลทันตาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล  สิ่งที่รัฐบาลทำเรื่องการต่อต้านการทุจริตต่างจากรัฐบาลที่ผ่านมา เพราะไม่เพียงแต่ใช้มาตการทางกฎหมายหรือใช้มาตรา44 เพื่อเร่งคดีเท่านั้น แต่ยังดึงองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น และเครือข่ายที่ทำงานด้านนี้มาอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีนายสังศิต กล่าว  นายสังศิต กล่าวอีกว่า งานที่รัฐบาลพยายามผลักดันนอกจากการให้ความรู้คือการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้สังคม เช่น พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกเป็นการลดต้นทุนให้นักธุรกิจ ที่เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐต้องทำคู่มือให้ประชาชนเพื่อให้เขารู้ว่าต้องใช้เวลาและขั้นตอนเท่าไรดังนั้นทุกหน่วยงานต้องทำคู่มือทั้งหมด โดยต้องทำให้เสร็จก่อนถึงเดือนก.ค. ส่วนการแก้ปัญหาใหญ่ คือการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ซึ่งมีการแก้ไข พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างที่รับผิดชอบโดยกรมบััญชีกลาง ร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ใกล้แล้วเสร็จ ที่คาดว่าจะส่งมาที่ครม.ภายในสัปดาห์หน้า  ดังนั้นพ.ร.บ.ดังกล่าวน่าจะแล้วเสร็จและทำให้การประมูลงานของภาครัฐโปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลยังผลักดันเรื่องพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ที่เปิดเผยข้อมูลของรัฐซึ่งสปช.กำลังมีการแก้ไขเช่นกันทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกว้างขวางขึ้น เพราะเราชื่อมั่นว่า ข่าวสารข้อมูลคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการควบคุมการทุจริตนายสังศิต กล่าวและว่าสิ่งที่ต่างจากรัฐบาลชุดผ่านๆมา คือรัฐบาลก่อนหน้านี้ใช้องค์กรรัฐในการเคลื่อนการต่อต้านการทุจริต แต่รัฐบาลนี้จะร่วมกับองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. ป.ป.ท. สตง. กกต. ดีเอสไอ ในการตรวจสอบและมานั่งทำงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลเพื่อให้นายกฯดำเนินการกับบุคลที่ทำความผิด  นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือข้อตกลงคุณธรรม คตช. กล่าวถึง ข้อตกลงคุณธรรม ว่า ตนเรียนให้นายกฯ ทราบว่าจากที่คตช.มอบหมายให้ทำคือสัญญาคุณธรรมในการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีของขสมก. ได้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมไปแล้ว แต่การจัดซื้อจัดจ้างยังไม่เรียบร้อยจึงอยู่ระหว่างการเตรียม ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนั้น ในส่วนของผู้สังเกตการณ์เข้าไปดูโครงการแล้ว  อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการฯ เสนอที่ประชุมว่าควรมีโครงการเข้ามาทำข้อตกลงคุณธรรมอีก 3โครงการคือ โครงการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากอะนาล็อคเป็นดิจิตัลของกรมประชาสัมพันธ์มูลค่า 1,000ล้านบาท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของกรมศุลกากรในการซื้อเครื่องเอ็กซเรย์ และโครงการจัดซื้อเครื่องจักรของโรงงานยาสูบ รวมแล้วจะมี5โครงการที่จะได้ใช้ข้อตกลงคุณธรรม  นายมนัส กล่าวถึงการสรรหาผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมว่า เห็นว่าจะต้องสรรหาโดยการให้ภาคเอกชน คณะกรรมการร่วมเอกชน3สถาบัน องค์การต่อต้านการคอรัปชั่น ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามา และผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาคัดเลือก และมีข้อเสนอด้วยว่าให้ส่วนราชการเจ้าของโครงการเลือกผู้สังเกตการณ์ที่เหมาะสม แต่ก็มีข้อท้วงติงที่จะต้องหารือรายละเอียดต่อไป และตัวผู้สังเกตการณ์เองจะต้องมีความรู้ความสามารถ โดยจะมีการอบรมให้ผู้ทรงคุณวุฒิในความรู้ด้านต่างๆด้วย รวมทั้งจะต้องมีหน่วยงานที่ดูแลและเป็นฝ่ายเลขาของคณะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งกรมบัญชีกลางเสนอตัวว่าจะเข้ามาทำงานเป็นฝ่ายธุรการประสานงานประเมินผลให้ รวมถึงหลักสูตรการอบรมด้วย และเสนอว่าคณะกรรมการจะพิจารณาโครงการนำร่องเพิ่มเติมอีกมากกว่านี้ ซึ่งนายกฯมีดำริว่าน่าจะมีโครงการเพิ่มขึ้นอีก แต่ละกระทรวงให้เสนอเข้ามา ก็จะมีโครงการมากขึ้น  ด้านพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)กล่าวถึงการที่ประเทศไทยจะสมัครเป็นสมาชิก "โครงการเพื่อความโปร่งใสในภาคอุตสาหกรรมการสกัดทรัพยากร (อีไอทีไอ) หรือ TheExtractive IndustriesTransparencyInitiative (EITI)ของประเทศนอร์เวย์ว่า เรื่องนี้เสนอโดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานเครือข่ายองค์กรต่อต้านการคอรัปชัน เพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่สากลในเรื่องความโปร่งใส ทั้งเรื่องการจัดการทรัพยากร น้ำมัน ป่าไม้ เหมืองแร่ ซึ่งการสมัครไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ต้องจัดทำข้อมูลการจัดทำความโปร่งใสตามที่เขากำหนดและกรอกข้อมูลให้ภาคีสมาชิกพิจารณา และดูว่าเรามีความพร้อมเข้าสู่ภาคีหรือไม่ ถ้าเราได้เข้าจะได้มีความโปร่งใสมากขึ้น  "ถ้าไทยใช้มาตรฐานเดียวกับภาคีได้จะทำให้การใช้ทรัพยากรได้สูงสุดและสบายใจ โดยจะนำเสนอให้ครม.พิจารณา โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาถึงจุุดเด่น จุดด้อยในการสมัครเป็นสมาชิก แล้วส่งให้ครม.พิจารณาว่าจะสมัครหรือไม่เพื่อดำเนินการโดยเร็ว โดยที่ประชุมคตช.มอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพในการนำเรื่องเสนอครม.ต่

logoline