svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กมธ.ยกร่างฯ เคาะสัดส่วนผู้หญิงวันนี้

31 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข้อเสนอให้บัญญัติเรื่องสัดส่วนผู้หญิงในทางการเมือง เป็นประเด็นที่อภิปราย และถกเถียงกันอย่างหนักในการพิจารณาร่างรธน.ครั้งนี้ คุยกันมาแล้ว 3 รอบ แต่สุดท้ายก็ต้องแขวนไว้ ประเด็นนี้ ถึงขั้นทำให้คุณ ทิชา ณ นคร 1 ในกรรมาธิการหญิง ตัดสินใจลาออกจากการเป็นกมธ.ซึ่งวันนี้ กมธ.เตรียมจะสรุปเรื่องนี้แล้วครับ

สำหรับ 2 มาตรา ที่ยังแขวน รอการพิจารณาวันนี้ก็คือมาตรา 76 ในหมวดสถาบันการเมืองและผู้นำการเมืองที่ดี ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า การส่งผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ถ้ามีรายชื่อผู้สมัครเพศใดมากกว่าอีกเพศ ในบัญชีรายชื่อนั้น ต้องมีรายชื่อผู้สมัครเพศตรงข้ามไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
และมาตรา 212 หมวดการกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น ที่กำหนดเงื่อนไขว่า ต้องมีสัดส่วนสตรีไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสภาท้องถิ่น
หลังจากที่ต้องแขวนเรื่องนี้ไว้ถึง 3 รอบ กรรมาธิการยกร่างฯ จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูล เรื่องการกำหนดสัดส่วนผู้หญิงในทางการเมือง ที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเปรียบเทียบ และศึกษาอย่างละเอียด โดยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ บอกว่า เรื่องโควตาผู้หญิงทางการเมือง ที่ใช้กันอยู่ขณะนี้ มีด้วยกัน 3 แบบ แบบไหนบ้าง ไปฟังกันครับ
คุณบัณฑูร บอกว่า กรรมาธิการยอมรับตรงกันว่า การให้ผู้หญิง หรือ สตรี เข้ามาสู่เวทีการเมือง มีข้อดี เพราะจะทำให้การกำหนดนโยบายสาธารณะต่าง ๆ มีความหลากหลายมากขึ้น เพราะผู้หญิง จะมีมุมมองเรื่องสังคมมากกว่า ซึ่งจะสะท้อนผ่านเรื่อง เด็ก เรื่องการศึกษา และเรื่องสาธารณสุข แต่ในอีกมุม ก็อาจทำให้เกิดผลจากข้อจำกัดนี้ จะมีอะไรบ้าง ลองไปฟังคุณบัณฑูร อธิบายอีกครั้ง
เรามาดูสถิติกันบ้างครับ สำหรับประเทศที่มีการกำหนดสัดส่วนเรื่องเพศโดยใช้โควตาแบบต่าง ๆ ในโลกนี้ มีอยู่ด้วยกัน 82 ประเทศ โดยในจำนวนนี้
มีประเทศที่กำหนดสัดส่วนเพศเฉพาะในรธน.รวม 35 ประเทศ โดยแบ่งเป็น โควตาแบบสงวน หรือ สำรองที่นั่งเป็นการเฉพาะสำหรับผู้หญิง เช่น ในอินเดีย รวันดา อูกันดา และอัฟกานิสถาน 19 ประเทศและแบบกำหนดโควตาให้ผู้สมัครผู้หญิงตามที่กฏหมายบังคับ เช่น ในอาร์เจนตินา ฝรั่งเศส อิตาลี และกรีซ จำนวน 16 ประเทศ
ส่วนประเทศที่กำหนดสัดส่วนเพศทั้งในรธน.และในกม.เลือกตั้ง มี 27 ประเทศแบ่งเป็นประเทศที่กำหนดสัดส่วนแบบสงวน หรือ สำรองที่นั่งเป็นการเฉพาะสำหรับผู้หญิง รวม 12 ประเทศและแบบกำหนดโควตาแบบสมัครใจโดยพรรคการเมือง ซึ่งแบบนี้ เราเองก็เคยกำหนดในรธน.ปี 40 และ 50 ขณะที่หลายประเทศที่ใช้โควตาแบบนี้ ก็เช่น สวีเดน และนอร์เว ซึ่งมีอยู่จำนวน 15 ประเทศ
และประเทศที่กำหนดสัดส่วนเพศเฉพาะในกม.เลือกตั้ง มีทั้งหมด 55 ประเทศ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนแบบสงวน หรือ สำรองที่นั่งเป็นการเฉพาะสำหรับผู้หญิง 15 ประเทศ และแบบโควตาสมัครใจโดยพรรคการเมือง 40 ประเทศ

logoline