svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ยกเลิกอัยการศึก แต่คงขึ้นศาลทหาร

31 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้ว่ารัฐบาจะเตรียมประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก และนำมาตรา 44 มาบังคับใช้ แต่ยังอำนาจการขึ้นศาลทหารไว้ และเปิดโอกาสให้ต่อสู้ 3 ศาล เหมือนกับกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอนปกติ

ที่ปรึกษารองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ปณิธาน วัฒนายากร บอกว่า การใช้มาตรา 44 อยู่ระหว่างซักซ้อมข้อกำหนด ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ เพราะภาพรวมมาตรา 44 กว้าง โดยเป็นการนำข้อดี 3 กฎหมาย คือ กฎอัยการศึก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาพิจารณา
อ.ปณิธาน บอกว่า อะไรที่เป็นอุปสรรคในช่วงใช้ จะมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่น ยึดหลักการควบคุมกลุ่มขบวนการต่างๆ ที่เคลื่อนไหวสร้างเงื่อนไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อเปิดพื้นที่ให้กลุ่มที่หวังดีแสดงความคิดเห็นตรงไปตรงมา เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทำบรรยากาศการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปดีขึ้น ซึ่งตามหลักการที่นายกฯ ให้ไว้ มาตรา 44 จะออกเป็นคำสั่งหรือประกาศ คสช. และหากยกเลิกกฎอัยการศึกแล้ว หากบางประเทศบอกว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตย จะขอสงวนท่าทีก็ไม่ว่ากัน เพราะเข้าใจได้ เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจ การลงทุน
มีรายงานถึง ความคืบหน้าในการยกเลิกกฎอัยการศึก และหาเครื่องมืออื่นมาทดแทนก่อนหน้านี้มีฝ่ายความมันคงได้หารอืกับ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช. รองนายกฯ วิษณุ และทีมกฎหมายของพล.อ.ประยุทธ์เห็นว่า จะใช้แนวทางการออกคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช.ในการออกคำสั่งเอาไว้ ซึ่งนายกฯ ต้องการให้กฎหมายนี้ยังคงเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย หลังจากที่มีการทูลเกล้าฯ ถวายขอยกเลิกกฎอัยการศึกแล้ว
คำสั่งของนายกฯ ที่เตรียมประกาศ ให้ได้แนวทางว่า จะต้องให้ทำภาพของเจ้าหน้าที่ทหารในการใช้อำนาจมีความแข็งกร้าวน้อยลง / แต่ยังคงอำนาจในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย 7 วัน ตามที่มีการกำหนดเอาไว้ในกฎอัยการศึก ผู้ที่ขัดคำสั่ง คสช.ที่ 37 ซึ่งมีความผิด 3 ลักษณะ คือ ขัด ม.112 คดีหมิ่นสถาบัน ผู้ที่กระทำความปิดบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ และฝ่าฝืนคำสั่งอื่นของ คสช. รวมไปถึงทหารที่กระทำความผิดต้องขึ้นศาลทหาร ซึ่งการตัดสินจะสิ้นสุดที่คำพิพากษาของศาลเดียว แต่เมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึก และมีคำสั่ง คสช.ใหม่ออกมา ผู้ต้องหาจะสามารถอุทธรณ์ ที่ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วตามกฎหมายศาลทหารในยามปกติ
ฝ่ายความมั่นคงประเมินว่า แนวทางนี้ จะทำให้กระบวนการพิจารณาคดีความเหมือนกับศาลพลเรือนที่มี 3 ศาล ในการอำนวยความยุติธรรม โดยผู้กระทำความผิดในกรณีที่คดียังไม่ยุติ หรือยังไม่ได้ฟ้อง ศาลทหาร ยังคงมีอำนาจพิพากษาคดี โดยมีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ หรือ รมว.กลาโหม มีอำนาจสั่งโอนคดีหรือผู้ต้องหาให้ดำเนินคดียังศาลทหารแห่งอื่นได้

logoline