svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ขอขยายอภิปราย รธน. 10 วัน

30 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วาระทบทวนรายมาตราเหลือ 14 ประเด็น ที่หยิบมาหารืออีกครั้งโดยเฉพาะที่มานายกฯ -และที่มา สว. ขณะที่ประธานสปช. นัดประชุมกับสมาชิกหลังจากมีข้อเสนอเพิ่มวันอภิปรายรัฐธรรมนูญร่างแรก เป็น 10 วัน คุณอนุพรรณ จันทนะ รายงานสดจากรัฐสภา

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง ร่างสุดท้ายของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องรอการประชุมในสัปดาห์หน้าว่าจะมีการทบทวนประเด็นใดบ้าง ซึ่งในเบื้องต้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะทบทวนประเด็นหลัก ๆ ที่มีการโต้แย้งมาก เช่น กรณีที่มานายกเพราะในชั้นที่มีการอนุมัติหลักการชั้นแรกเคยมีข้อเสนอสองข้อคือมีเงื่อนไขในกรณีที่นายกไม่ได้มาจากส.ส.ให้มีวาระสั้นกว่าปกติคือ 2 ปี หรือ ให้ใช้เสียงข้างมากเด็ดขาดสองในสามของสภา หากทบทวนคงนำเรื่องเหล่านี้มาพิจารณาอีกครั้งส่วนที่มา ส.ว.ประเด็นที่มีข้อเสนอมากคือ อยากให้มีส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด เป็นระบบผสมผสานกับส.ว.สรรหา ก็อาจเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มาการหารือกัน รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ด้วย
นายคำนูณ กล่าวว่า โดยหลักการเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านการพิจารณาครั้งใหญ่หลังจากฟังความคิดเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)และได้รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถ้าหากประเด็นใดที่ไม่ใช่เรื่องที่ควรแก้ไขทันทีก็อาจจะมาดำเนินการในช่วง 60 วันสุดท้าย ยกเว้นประเด็นที่ตกผลึกและพร้อมจะปรับแก้ไข ส่วนกรณีที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯออกมาแสดงความเห็นว่าอาจจะมีการปรับแก้ไขประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีและที่มาของวุฒิสภา(ส.ว.)นั้นก็มองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการพูดคุยกัน โดยประเด็นนายกรัฐมนตรีเรากำหนดไว้โดยไม่บังคับว่าต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งสมาชิกกมธ.ยกร่างฯทุกคนก็เห็นพร้องต้องกัน แต่ก็มีความเห็นว่าแทนที่จะเขียนเปิดกว้างไว้เฉยๆ ก็ควรจะมีการเขียนเงื่อนไขกำกับไว้ด้วยหรือไม่ ยกตัวอย่าง หากนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากส.ส.ก็ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งสั้นกว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากส.ส. อาจจะเป็น 1-2 ปีนายคำนูณ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีสปช.ออกมาเสนอให้สมาชิกสปช.ใช้มาตรการแซงก์ชั่นหากกมธ.ยกร่างฯไม่มีการปรับแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ยืนยันว่าไม่กดดัน เพราะเราทำตามหน้าที่ ขณะนี้กระบวนการยกร่างฯเดินมาครึ่งทางแล้ว โดยครึ่งทางหลังที่เหลือนั้นมีความสำคัญมากเพราะต้องนำความเห็นและคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจากส่วนต่างๆ มาพิจารณา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ หากกมธ.ยกร่างฯพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสปช.ว่าจะเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่

logoline