svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กมธ.ปฏิรูปการเมือง ชำแหละ รธน.

30 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก่อนที่จะมีการเปิดอภิปรายรัฐธรรมนูญร่างแรก คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เตรียมตั้งทัมชำแหละกลางสภาในหลายมาตรา โดยเฉพาะประเด็นที่มาของนายกฯ คนนอก กับที่มาของ ส.ว. ที่หลายฝ่ายต้องการให้มีการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนให้ได้ 77 จังหวัดเพื่อยึดโยงกับประชาชน ติดตามรายงานคุณกลกร เวียงดอนก่อ

ไม่เพียงถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักจากสังคมภายนอก แต่คนในอย่างกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเองก็มองว่า การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก เป็นการไม่ยึดโยงกับประชาชน และจำเป็นต้องปรับอีกหลายจุด
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ ปิดห้องถกลับเตรียมความพร้อมอภิปรายรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20-26 เม.ย. นี้ ประเด็นร้อนที่สุด คงหนีไม่พ้น นายกรัฐมนตรีคนนอก ซึ่งกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ไม่ได้เห็นแย้งในหลักการ แม้จะไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่ได้เสนอให้บัญญัติไว้ 2 ทาง คือ นายกฯต้องมาจาก ส.ส. แต่กรณีที่มีความจำเป็นเกิดวิกฤตไม่สามารถหาบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกฯได้ จึงจะให้สรรหาจากบุคคลภายนอก โดยต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และควรกำหนดระยะให้อยู่ในตำแหน่งระยะเวลา เพื่อแก้วิกฤตใน 1 ปี เว้นแต่ไม่สามารถแก้วิกฤตได้ ให้ขอมติจากที่ประชุมรัฐสภาขอเพิ่มระยะเวลาทำหน้าที่ออกไป 1-2 ปี
ซึ่งขอเสนอ ที่ให้มีเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 นั้น ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ บอกว่า เป็นข้อเสนอที่พอรับได้ แต่ไม่เห็นด้วย หากจะให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 1 ปี เพราะอาจทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่อง
อีกหนึ่งประเด็นที่เรียกร้องให้มีการทบทวน คือ เรื่องที่มา ส.ว. ซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม หรือการสรรหาทั้งหมด 200 คนแต่กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เห็นว่า ควรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน จังหวัดละ 1 คน เป็น 77 คน ที่เหลืออีก 123 คน ให้มาจากการคัดเลือกของกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อให้มีจุดยึดโยงกับประชาชน
กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ยังตั้งข้อสังเกตุ ถึงการกำหนดให้กลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ว่าจะเป็นการย้อนกลับไปสู่อดีต อีกทั้งจะมีกลุ่มการเมืองและสมาคมในระดับจังหวัดมากขึ้น ทำให้ประชาชนสับสน พรรคการเมืองอ่อนแอ

ขณะที่ ข้อกำหนดเรื่อง การส่งผู้สมัคร ในนามพรรค ที่ต้องมีการหยั่งเสียงประชาชนก่อน แต่กลุ่มการเมืองไม่มีการบังคับ ถูกมองเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน และไม่มีมาตรการ ที่จะทำให้พรรคปลอดอิทธิพลของนายทุน และอีกหนึ่งข้อกังวลของการหยั่งเสียง คือ กรณีการกำหนดเรื่องเพศตรงข้าม เพราะเป็นหลักการที่ขัดแย้งในตัวเอง จึงควรเปิดกว้างในหลักการนี้
นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่งของกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ที่สะท้อนออกมาก่อนถึงวันอภิปราย ซึ่งประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ยืนยันว่าพร้อมจะนำข้อเสนอต่างๆมาทบทวน และยังสามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้จนกว่าจะถึงวันที่ 23 ก.ค.

logoline