svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

นายกฯเผย ครม.ถกวันเลือกตั้ง

29 พฤศจิกายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

28 พ.ย. 57 - นายกฯเผยถก ครม.สัปดาห์นี้ใช้เวลานานเหตุมีหลายวาระ ระบุคุยเรื่องเลือกตั้งในเวลาอันใกล้ ชี้ขรก.ทุกฝ่ายต้องทำงานสมดุลกันอย่าทับซ้อน แจงรัฐบาลทำแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบช่วยพื้นที่แล้ง-ท่วม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ว่า สำหรับเรื่องประชุมครม.นั้น ได้เริ่มตั้งแต่ 09:00 น. แล้วเสร็จประมาณบ่ายโมง ทานอาหารนิดหนึ่งแล้วประชุมต่อ คือการประชุม BOI ซึ่งที่ผ่านมา มีหลายเรื่องที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ตามยุทธศาสตร์ระยะยาว 7 ปี ซึ่งได้บอกแล้วว่าประเทศเราต้องเดินหน้า อย่างน้อย 5 ปี 10 ปี วันนี้เรามีตามแผนเก่าอยู่แล้วซึ่งก็เข้าปีที่ 2  และเหลืออีก 2 ปี และอีก 10 ปีข้างหน้าก็มีอีก 2 แผนพัฒนา ทำอย่างไรจะให้สอดคลอ้ง แต่ก็เป็นเรื่องของรัฐบาลต่อไปจะดำเนินการเมื่อถึงเวลานั้นหากเราไม่วางแผนวันนี้ไว้ วันหน้าก็ไปไม่ได้ 
การประชุมครม.ที่ใช้เวลายาวนั้นเพราะประชุมถึงวาระปกติ 28 วาระด้วยกัน มีทั้งกลุ่มงานความมั่นคง เรื่องสังคมจิตวิทยา กระบวนการยุติธรรม  การปฏิรูป เหล่านี้ต้องเข้าสู้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีวาระเร่งด่วนอีก 11 วาระ รวมสามสิบกว่าวาระ  ประเด็นสำคัญก็คือการหารือกันในเรื่องการปฏิรูปว่าจะทำอย่างไรจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและทันเวลา อะไรที่สำคัญก่อน สำคัญหลัง ซึ่งตกลงกันว่าถ้าจะมีการเลือกตั้งกันในระยะเวลาอันใกล้ จะต้องทำอะไรบ้าง คือการสร้างกระบวนการในการเข้ามาสู่การบริหารราชการแผ่นดิน และในการบริหารราชการจะทำกันอย่างไร  ให้ข้าราชการฝ่ายบริหาร มีความสมดุลกันกับข้าราชการ ที่ต้องทำงานตามกรอบระเบียบของกฎหมายที่กำหนดไว้แล้วเดิม ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน คือถ้าเราบอกว่าข้าราชการทำได้ ไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งฝ่ายบริหารก็ไม่ถูก มันต้องสมดุลกันทั้งคู่ รับฟังซึ่งกันและกันมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาว่ามีความขัดแย้ง และมีการก้าวล่วงซึ่งกันและกัน ตลอดจนกระบวนการบริหาร และนิติบัญญัติ จะทำอย่างไร ไม่ให้มีการทับซ้อน อีกเรื่องคือเรื่องของกระบวนการตุลาการทำอย่างไร ที่อย่าใช้เครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเป็นอำนาจ 3 อำนาจมาพันกันไปพันทำให้เกิดปัญหาในอนาคตด้วยส่วนเรื่องบริหารจัดการน้ำได้เรียนหลายครั้งแล้วว่า ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมีแผนงานบริหารจัดการน้ำมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ต่อเป็นภาพที่ครบวงจร วันนี้ตนให้แนวทางไปแล้วให้ไปคิดมา ตั้งแต่สมัยที่เรามีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำใหม่แห่งชาติทั้งระบบ  โดยคสช.วันนี้ตนไห้เขานำมาเสนอซึ่งมีพลเอกฉัตรชัย เป็นหัวหน้า เขาทำมาตั้งแต่คสช. วันนี้ทำมาให้ครม. รับทราบ ซึ่งจะพูดถึงต้นทุนน้ำมาจากไหน อย่างไร และจะเก็บไว้ให้มากที่สุด  ซึ่งต้องสร้างอ่างเก็บน้ำหรืออะไรก็ตามแต่ต้องมีความชัดเจน ตั้งแต่พื้นที่ตอนเหนือ ตอนกลาง พื้นที่ท้ายน้ำจะขยายกันอย่างไร ทั้งเก็บน้ำ ระบายน้ำให้ได้ พร่องน้ำให้เร็ว เราเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง  ต้องวางแผนให้มันทีเดียว ทั้งป้องกันภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วมด้วย  เพราะปัญหาบ้านเรานั้นยังมีพื้นที่อีกมากมายที่มีปัญหาเรื่องการใช้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้เรามีพื้นที่การเกษตร ที่เราสามารถจัดส่งน้ำไปได้จำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง อีกจำนวนมากซึ่งเราส่งไม่ได้ ถ้าส่งไม่ได้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชให้เหมาะกับสภาพดิน สภาพน้ำ หรือปริมาณน้ำที่มีอยู่ สภาพอากาศ ก็ต้องกำหนด โซนนิ่ง ในวันข้างหน้าด้วย 
ทั้งนี้ถ้าเราแก้ทั้งระบบน้ำ เรื่องการโซนนิ่ง ไปด้วยกัน จะแก้ได้ แต่วันนี้ตนบอกว่าไปกำหนดความเร่งด่วนมาว่า เราจะทำอันไหนก่อน อันไหนหลัง ตั้งแต่ต้นน้ำ เก็บกักน้ำ เส้นทางที่จะลำเลียงน้ำมาทำยังไง แล้วจะพร่องน้ำเหล่านี้ยังไง แล้วเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง อันนี้เป็นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่แล้ว ท่านทรงสั่งไว้นานแล้วเรื่องแก้มลิงบ้าง เรื่องอ่างเก็บน้ำ อ่างพวง เขื่อนต่าง ๆ ยังไม่เคยมีใครพูดถึง ที่ไปถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่มีใครคิดจะสร้างกันทั้งสิ้น เป็นโครงการเก่าๆ ก็อย่าไปล้วงแคะแกะเกากันออกมาอีก ถ้าทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำอย่างอื่น วันนี้อาจจะทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป ถ้าต้องไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนเขาคงไม่ยอมตรงนี้ แต่ทำอย่างไรเขาจะได้มีน้ำไว้ใช้ ประชาชนก็ต้องเข้าใจเราเหมือนกันว่าต้องหาทางออกว่าจะทำอย่างไรทำเขื่อนไม่ได้ จะทำอ่างเก็บน้ำได้หรือไม่จะช่วยกันดูแลยังไง ในอนาคตระยะยาว 
ในส่วนของน้ำนี้เคยมีโครงการบริหารจัดการน้ำแล้ว ตัวเลขเดิมๆ ทราบอยู่แล้วไม่อยากจะเอ่ยจำนวนตัวเลข วันนี้เราไม่พูดถึงตัวเลขกัน จริงๆ แล้วก็ประมาณการไว้คร่าว ๆ ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร อาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึง10 ปีหากทำครบซึ่งใช้งบประมาณสูงมาก แต่เราก็พยายามจะใช้งบประมาณประจำปี บางส่วนเราบรรจุ ใช้งบประมาณปี 58 ดำเนินการ เริ่มดำเนินการได้เลยเป็นเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นถือว่าน้อยมาก ในแผนงานจัดการภาพใหญ่ แต่อย่างน้อย ก็จะบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนไปได้ในระดับหนึ่ง ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาน้ำแล้ง การใช้อุปโภค บริโภค แหล่งน้ำประปา หรือไม่ก็เปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในระยะเวลาสั้น ถ้าทำนาปรังไม่ได้ วันนี้เราก็ทำนาปรังไม่ได้ในหลายพื้นที่ ในส่วนนี้ก็คงต้องใช้งบประมาณประจำปี ถ้าจะต้องไปหางบประมาณอื่น ๆ มา ร่วมทุน หรือกู้เงินต่างๆ ไปว่ากันอีกที ก็ต้องพิจารณากันให้ละเอียดอีกครั้ง ว่าเราพร้อมจะรับสถานการณ์ในการกู้ต่าง ๆ หรือไม่ในอนาคต เรื่องหนี้สาธารณะด้วยในเรื่องของการแก้ปัญหาการขาดน้ำหรือน้ำท่วมนี้ ปี 58 ตนบอกไปแล้วว่าถ้าเราทำแผนใหญ่ออกมาแล้ว ทั้งประเทศ ทุกระบบแล้วปี 58 ต้องเกิดผล ในปี 58ตรงไหนไม่ควรจะท่วมอีกแล้วก็ต้องไม่ท่วม ตรงไหนที่จะไม่แล้งอีกแล้ว ก็ต้องไม่แล้ง คงเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เป็นบางพื้นที่เท่านั้น คงทั้งประเทศไม่ได้ ตนเรียนไปแล้วว่าถ้าทั้งประเทศใช้เวลาในการทำหลายปี เป็นสิบ ๆ ปีใช้งบประมาณสูงมาก เราก็ค่อย ๆ ทำในช่วงที่มีความเดือดร้อนมากก่อน ตรงไหนที่พอประคัยประคองไปได้ก็ค่อย ๆ ทำไปแต่ทั้งหมด ต้องบูรณาการงบประมาณทั้งหมดที่รัฐบาลได้ให้ไปแล้วกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ในการดูแลพ่อแม่พี่น้อง ต้องเฉลี่ยให้เข้าถึง มากน้อยก็ว่ากันมา อะไรที่เติมได้ก็เติม งบเหลือจ่าย งบกลางปีอะไรต่าง ๆ ก็ไปว่ามา งบเงินกู้ก็ไม่มีปัญหา ทั้งกู้ในประเทศ กู้ต่างประเทศด้วย ฉะนั้นก็เป็นเรื่องการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนหลายเรื่องที่มีปัญหาก็มีเรื่องเงินทุน เรื่องคุณภาพของการทำงาน คือบริษัทต่าง ๆ ที่มารับไปแล้วบางทีคุณภาพไม่ได้ แล้วก็เรื่องการผ่านการทำประชาพิจารณ์เหล่านี้จะเป็นปัญหาหมด ถ้าไม่ยอมกันเลยก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น 
"วันนี้เรามีปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค  แหล่งน้ำประปา การส่งน้ำประปาให้ทั่วถึง ยังมีปัญหานะครับ ก็รับว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุด เท่าที่สามารถดำเนินการได้ ก็โชคดีที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ขอบคุณในส่วนของกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนะครับ ในการที่จะดูแลประชาชน "

logoline