svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปชช.ตั้งคำถาม เหตุเปิดสัมปทานรอบใหม่

25 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภาคประชาชนยังตั้งคำถาม ถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ระหว่างการจัดสัมมนา ทิศทางพลังงานของประเทศที่ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ไปติดตามรายละเอียดกับคุณ ทินณภพ พันธะนาม รายงานสด จากวัดอ้อน้อย

การเปิดรับสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในเวทีสัมนาชี้ทิศทางพลังงานของประเทศ ซึ่งภาคประชาชนเกรงว่าการเร่งเปิดรับสัมปทานครั้งนี้ จะเกิดผลกระทบภายในประเทศ มากกว่าประโยชน์ ที่จะได้รับ
การสัมนาสัมมนาชี้ทิศทางพลังงานของประเทศไทยในวันนี้ คณะทำงานภาคประชาชน อย่างเช่นสภาปฎิรูปแห่งชาติ ด้านสังคม สิระ เจนจาคะ ได้เป็นผู้ถามปัญหาที่สงสัยและอยากรู้ถึงความเป็นจริงที่ถูกต้องด้านกฎหมายของพลังงานต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย กับ ตัวแทนจากภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ หน.ส่วนราชการ สถานประกอบการภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพลังงาน, กฟผ. ปตท. เป็นผู้ตอบคำถาม เช่น รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ทวารัฐ สูตะบุตร ประธานคณะกรรมการ ปตท.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังาน ชวลิต พิชาลัยนาย รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม สหรัฐ บุญโพธิภักดี และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจร่วมถามปัญหาพลังงาน โดยมีพระพุทธอิสระ เป็นผู้ดำเนินการสัมนา
ซึ่งผู้ร่วมเข้าสัมมนาในครั้งนี้ ต่างตั้งคำถามถึงภาครัฐในทิศทางและนโยบายการพัฒนาพลังงาน เช่น การเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ต่างเกรงว่าบริษัทต่างชาติ จะเข้ามามีผลประโยชน์มากกว่าผู้อุปโภคน้ำมันภายในประเทศ เพราะสังเกตได้จากราคาน้ำมัน และก๊าซเชื้อเพลิงในครัวเรือนที่มีอัตราสูงกว่าหลายประเทศที่ไม่มีแหล่งขุดเจาะน้ำมันเช่นเดียวกับประเทศไทย และต่างต้องการให้การขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งนี้เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะใช้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว เพื่อลดรายจ่ายให้ภาคประชาชน
ในบางช่วงของการสัมมนา หลวงปู่พุทธะอิสระกล่าวว่าต้องการให้มีแบ่งค่าภาคหลวงภาษีเงินได้จากภาครัฐ เดิม 50% ให้เป็น70%
ซึ่งประธานคณะกรรมการ ปตท. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ยืนยันว่าเรื่องรายได้นั้น ต้องดูภาษีเงินได้และการลงทุนโดยต้องมีการศึกษาหลักกฎหมายให้แน่ชัด จากที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจด้านพลังงานทำผลประโยชน์ให้ประเทศ มาตั้งแต่ปี 21 รวมทั้งหมดกว่า 6 แสนล้านบาท และนายปิยสวัสดิ์ย้ำอีกว่า ไม่มีเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชนผู้ประกอบการอย่างแน่นอน
สำหรับกรณีที่มีการเรียกร้องให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 รัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของกระทรวงพลังงาน ที่ต้องเป็นผู้จัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ ที่กำลังจะหมดลงในปีพ.ศ. 2561 รวมทั้งหมด 29 แปลง เพราะเป็นสัมปทานเดิมที่จะหมดภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่หากเลื่อนออกไปงบในการลงทุนจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้รัฐบาลอนุมัติขั้นตอนการสำรวจหาแหล่งพลังงานเท่านั้น ซึ่งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แบ่งปันให้รัฐที่เหมาะสม
ภาคประชาชนจึงตั้งข้อสังเกตว่าก๊าซLPG และ NGV ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ทั้งที่รู้ว่าพลังงานฟอซซิลภายในประเทศจะหมดลงอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำไมรัฐบาลไม่บังคับให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีศึกษาวิจัยค้นหาพลังงานทดแทนเพื่อที่จะได้มีพลังงานที่ยั่งยืนไว้ทดแทนกับพลังงานที่ใช้ไป
ซึ่งปัญหาเรื่องพลังงาน ก่อนหน้านี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รสนา โตสิตระกูล ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหว ให้รัฐบาลทบทวนด้านนโยบายพลังงาน ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ควรหาแนวทางปฎิรูปพลังงานให้โครงสร้างพลังงานมีความเหมาะสม และการขึ้นราคาก๊าซLPG ที่ผ่านมารัฐบาลได้นำงบประมาณช่วยอุดหนุนราคาเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเดือดร้อน ทำให้ราคาเกิดการบิดเบือน ซึ่งประชาชนจะต้องทำความเข้าใจถึงการปรับขึ้นราคาตามความเป็นจริง แต่การปรับขึ้นดังกล่าวจะต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และตลาดโลกเพราะรัฐบาลจะต้องทำการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ทั้งหมดนี้เป็นความคืบหน้าล่าสุด ของการสัมนา ชี้ทิศทางพลังงานของประเทศ จากวัดอ้อน้อยจังหวัดนครปฐม หลังการสัมนาเสร็จสิ้น จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงาน... ซึ่งในวันนี้ก็จะเป็นครั้งสุดท้ายในการพูดคุยในประเด็น ด้านพลังงาน ก่อนที่จะมีการนำข้อสรุปเสนอต่อคณะรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

logoline